Donate

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หรีดรีเลย์ ( Reed Relay )

image001

image003ผมจั่วหัวเรื่อง ไว้ว่า " หรีดรีเลย์ " ซึ่งก็เป็นของแน่ว่า จะต้องเป็นรีเลย์แบบหนึ่ง ที่อาจจะแตกต่างไป จากอาร์เมเจอร์รีเลย์ที่คุณ ได้พบเห็น หรือ ใช้กันอยู่บ่อยๆ . ผู้ที่เคยรู้เรื่องราวเกี่ยวกับอา ร์เมเจอร์รีเลย์มาก่อนแล้ว คงไม่มีปัญหา อะไร. สำหรับผู้ที่ไม่เคยรู้เรื่องเกี่ยวกับรีเลย์มาก่อนเลยนั้น การ ศึกษาเรื่องพื้นฐานของรีเลย์เป็นสิ่งที่ จำเป็นอย่างยิ่ง

image003[1]หรีดรีเลย์ ( Reed Relay ) เป็นรีเลย์ประเภทหนึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วน ที่เป็นโลหะที่มีความไวต่อสนามแม่เหล็ก เรียกว่า หรีด ( Reed ) โดยปกติหรีดจะมี 2 อัน หรีด ทั้งสองจะอยู่ในหลอดแก้วซึ่งมีก๊าซเฉื่อยบรรจุอยู่ . หลอดแก้วที่บรรจุหรีด จะถูกนำไปใส่ไว้ในขดลวดอีกทีหนึ่ง เมื่อจ่ายกระแสผ่านขอลวดจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก มี ผลทำให้หรีดในหลอดแก้วต่อกัน หรือ แยกออกจากกันได้.

image004ถ้ากล่าวคำว่า หรีดรีเลย์ ขึ้นมาเฉยๆ จะมีความหมายคลุมไปถึงรีเลย์ 3 ชนิด ด้วย กัน คือ

  1. Dry Reed Relay
  2. Ferreed Relay
  3. Mercury - wetted contact relay

image004[1]นอกจากหรีดรีเล ย์ทั้ง 3 แบบ ที่กล่าวถึงแล้ว ยังมีรีเลย์อีกประเภทหนึ่ง คือ Resonant Reed Relay รีเลย์แบบนี้ แม้จะมีคำว่าหรีด ( reed ) อยู่ ด้วยก็ตาม. จะไม่จัดให้อยู่รวมกับรีเลย์ทั้ง 3 แบบ รีเลย์ประเภทนี้เป็นรีเลย์ที่ ไวต่อความถี่.

image005บทความของผมใน ที่นี้จะไม่กล่าวถึงรายละเอียดของรีเลย์ทุกประเภท แต่จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องของ Dry Reed Relay ซึ่งมีการใช้ งานกว้างขวาง และ มีบทความต่างๆ กล่าวถึงอยู่เสมอ.

image005[1]ย้อนหลังไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2479 ระยะ นั้นบริษัท เบลลาบอราตอรีส์ ได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับ การปรับปรุงการทำงานของหน้าสัมผัส ( contact ) ของ รีเลย์ เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง และ มีการทำงานรวด เร็วยิ่งขึ้น ผลที่ ตามมาจากการศึกษาดังกล่าว คือ การนำหลักการ เบื้องต้นเกี่ยวกับแม่เหล็กมาใช้งาน อันเป็นที่มาของ หรีดรีเลย์.

image005[2]จากรูปที่ 1 จะ เห็นว่า หรีดรีเลย์ ประกอบด้วยหลอดแก้ว ลิ้นโลหะ หรือ หรีด และ ขดลวด เมื่อเอาหลอดแก้วบรรจุหรีด ไป สวมเข้ากับขดลวดก็จะกลายเป็นหรีดรีเลย์ขึ้นมา ปลายของหรีดทั้งสอง ที่อยู่นอกหลอดแก้ว เป็นส่วนที่ต่อออกไปใช้งาน.

image006

รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างของหรีดเลย์

image005[3]หลอดแก้ว ใช้บรรจุหรีด ปลายทั้งสองข้างของหลอดแก้วเป็นตัวยึดหรีด ไว้ อย่างมั่นคง ภายในหลอดแก้ว จะใส่ก๊าซเฉื่อย ไว้ ใน 100 ส่วนของก๊าซ เฉื่อยประกอบด้วยก๊าซไนโตรเจนประมาณ 97 ส่วน ที่เหลืออีก 3 ส่วน เป็นก๊าซไฮโดรเจน. ผู้ผลิตรีเลย์หลายแห่ง อาจจะบรรจุส่วนผสมของก๊าซเฉื่อยไว้ด้วยก๊าซฮีเลี่ยม เป็นส่วนใหญ่. ก๊าซที่ใส่ไว้ในหลอดแก้วมีจุดมุ่งหมาย เพื่อควบคุมแรงดันเบรคดาวน์ ( breadown potential ) พร้อมกันนั้นอาร์กที่เกิดขึ้นจะถูก ขจัดไป.

image005[4]หรีด ( reed ) หรีด ทำด้วยสารแม่เหล็กอย่างอ่อน โดยจะใช้โลหะผสม ระหว่างเหล็กกับนิเกิล ปกติในหลอดแก้ว 1 หลอด จะมีหรีด อยู่ 2 อัน ( แต่ไม่เสมอไป ) เมื่อมีสนามแม่เหล็กที่เกิดจากการ จ่ายกระแสผ่านขดลวดที่อยู่รอบหลอดแก้ว มากระทำต่อหรีด หรีดทั้งสองก็จะกลายเป็นแม่เหล็ก ด้วยเหตุว่า หรีด มี 2 อัน ขั้ว แม่เหล็กที่เกิดขึ้นจะต่างกัน หรีด จะดึงดูดเข้าหากัน หรีด ทำหน้าที่หลายๆ อย่าง ภายในตัวเอง คือ เป็น หน้าสัมผัส ( contact ) เป็นสปริง และ เป็น อาร์เมเจอร์แม่เหล็ก ( magnetic armature ) ตอนหลายของหรีดทั้งสองที่อยู่ภายในหลอดแก้ว และ ทำหน้าที่เป็นหน้าสัมผัสนั้นจะชุบไว้ด้วย โลหะประเภททอง เงิน หรือ โรเดียม . โลหะแต่ละชนิดที่ใช้ทำเป็นหน้าสัมผัสจะ เหมาะสมกับโหลดขนาดต่างๆ กัน.

image007

รูปที่ 2 ส่วนขยายของหรีด

image005[5]เพื่อให้ท่านผู้ อ่านมองเห็นส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสได้ชัดขึ้น ขอให้ดูรูปที่ 2 ซึ่งเป็นส่วนของหรีด

image005[6]a = ส่วนที่หรีดทั้ง สองซ้อนกัน

image005[7]b = ความกว้างของ หรีด

image005[8]h = ความหนาของหรีด

image005[9]x = ระยะห่างระหว่าง หรีด

image005[10]Qg = เส้นแรงเม่เหล็ก ที่พื้น

image005[11]แรงดึงดูดที่ทำ ให้หรีดที่ขนานกันดึงดูดเข้าหากันได้นั้น เป็นไปตามกฏแมกซ์เวล คือ

image005[12]image008

เมื่อimage005[13] F = แรงดึงดูด

image009image010= ค่าคงที่

image005[14]a , b และ เส้นผ่านศูนย์กลางg เป็นค่าที่กล่าว ถึงแล้วในรูป

image005[15]ขณะที่หรีดทั้ง สองยังไม่ต่อกัน ถ้าเราจ่ายกระแสผ่านขดลวด. เมื่อถึงจุดที่มี เส้นแรงแม่เหล็กมากพอ พื้นที่ ส่วนที่เป็นหน้าสัมผัสของหรีดจะต่อกัน พอเราลดกระแสของขดลวดลง สนามแม่เหล็กก็จะลดลงด้วย ทำให้ แรงดึงดูดระหว่างหรีดลดลง เมื่อถึงจุดหนึ่ง ที่แรงดึงดูดไม่สามารถจะเอาชนะแรงสปริงของหรีดได้ หรีดก็จะแยกออกจากกันด้วยแรงสปริงภายในตัวเอง หน้าสัมผัสก็จะเปิด.

image005[16]. การนำหรีดใส่ไว้ ในหลอดแก้ว และ ยังมีก๊าซเฉื่อยบรรจุอยู่อีกทำให้หรีด กับอากาศภายนอก ถูกแยกจากกันโดยสิ้นเชิง. ดังนั้นสิ่งสกปรก ต่างๆ จากภายนอกจึงไม่มี ผลกระทบกระเทือนต่อการทำงานของหรีด รีเลยเลย ซึ่งถ้าเป็นหรีดรีเลย์แบบอาร์เมเจอร์ แม้ว่าเวลาใช้งานจะมีฝาพลาสติกครอบอยู่ สิ่งสกปรกจำพวกฝุ่นละอองจากภายนอก ก็ยังมีโอกาสเข้า ไปเกาะตามหน้าสัมผัสต่างๆ อันจะเกิดผลเสียต่อการใช้งานได้.

image005[17]ระยะห่างระหว่าง หรีด ทั้งสองซึ่งอยู่ในรูปที่ 2 กำหนดให้ เท่ากับ X นั้น จะเป็นฉนวนระหว่างหรีดทั้งสอง ได้อย่างดีในกรณี ที่หรีดยังไม่ต่อกัน. ฉนวนนี้มีค่าถึงประมาณ 5 x 105 เมกะโอห์ม ซึ่งนับว่ามีค่าสูงมาก. ขนากของหลอดแก้วที่บรรจุหรีดมีขนาดเล็กมากเมื่อใช้ร่วมกับขดลวด แก้ว ก็จะมีขนาดโตขึ้นอีกไม่มากนัก. ดังนั้น หรีด รีเลย์ จึงมีขนากเล็กมากเมื่อเทียบกับรีเล ย์ แบบอื่น. อุปกรณ์ที่ออกแบบโดยใช้หรีดรีเลย์จำนวน มากๆ จึงมีขนากเล็กลง.

image005[18]สำหรับขดลวดที่ ใช้ร่วมกับหรีดนั้น ก็เป็นขดลวดอาบน้ำยาธรรมดานี่เอง พันไว้บนแกนที่ทำด้วยวัสดุประเภทพลาสติก เพื่อไม่ให้เกิด ปฏิกิริยาต่อสนามแม่เหล็ก ที่แกนของขดลวดจะ มีช่องไว้สำหรับใส่หลอดแก้วที่บรรจุหรีด ดังในรูปที่ 3.

image011

รูปที่ 3 แสดงลักษณะของแกนขดลวด

แบบของหน้าสัมผัส

image003[2]image012ในสเปกของรีเลย์ บริษัทผู้ผลิตจะบอกสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ใช้เอาไว้ เช่น ค่า แรงดันใช้งาน ค่ากำลังไฟฟ้าที่ต้องการ ค่ากระแส และ ค่าความต้านทาน เป็นต้น. นอกจากนี้ สิ่งที่จะลืมเสียไม่ได้ ก็คือ แบบของหน้าสัมผัส หรือ คอนแทค . ผู้ ผลิตรีเลย์เขาจะบอกมาว่า หน้าสัมผัสของรีเลย์ตัวนี้เป็นแบบใด และ มีจำนวนกี่ชุด. ถ้าเขาบอกมา โดยการเขียนเป็นตัวเต็มมาก็คงไม่มีปัญหาแต่ถ้าหากเขาบอก มาเป็นตัวย่อ เราจะมีวิธีสังเกตอย่าง ไร.

image003[3]การที่จะทราบว่า หน้าสัมผัสของรีเลย์เป็นแบบใดนั้น ทางสมาคมผู้ผลิตรีเลย์ หรือ National Association of relay Manufacturers ( NARM ) ได้นำแบบของหน้าสัมผัสมารวมไว้เป็น ตาราง พร้อมทั้งให้ชื่อไว้ด้วยว่า ชื่อของตัวอักษรตัวใดจะตรงกับหน้า สัมผัสแบบใด. ในที่นี้จะไม่นำตารางนั้นมาลงละครับ. ผมเพียงอยากยกตัวอย่างของหน้าสัมผัสแบบ ที่ใช้กันบ่อยๆ สัก 2 - 3 แบบ เพื่อมาประกอบ คำอธิบายการทำงานของหรีดรีเลย์ ซึ่งจะกล่าวภายหลัง.

image003[4]สมมติว่าผู้ผลิตเขียนมาในสเปกว่ารีเลย์ตัวนั้นเป็นแบบ A ( Form A ) ก็หมายถึงหน้าสัมผัส ของรีเลย์ตัวนั้น ในสภาพปกติจะเปิดอยู่ ( Normally open ) และ หน้าสัมผัส เป็นแบบ SPST ถ้าจะ เขียนเป็นสัญลักษณ์ ก็คือ

image013

image003[5]เมื่อเวลาทำงานหน้าสัมผัสถึงจะต่อกัน หน้าสัมผัสในแบบ A นี้ เราจะเรียกว่า " Make " ก็ได้

image003[6]ถ้าเป็นหน้าสัมผัสแบบ B ( Form B ) หมายถึง หน้าสัมผัสของ รีเลย์ในสภาพปกติจะปิด ( Normally closed ) และเป็นแบบ SPST เขียนเป็นสัญลักษณ์ได้ คือ

image014

image003[7]หน้าสัมผัสแบบนี้ เวลาทำงานหน้า สัมผัสจะแยกออกจากกัน หน้าสัมผัสแบบ B นี้ เรียกว่า " bread " ก็ได้

image003[8]หน้าสัมผัสแบบ C ( Form C ) แบบนี้เรียกว่า " break , make หรือ transfer เป็นหน้าสัมผัสแบบ SPDT เขียน สัญลักษณ์ได้ ดังนี้

image015

image003[9]หน้าสัมผัสในแบบ C จะมีอยู่ ด้วยกัน 3 อัน. ในขณะที่ รีเลย์ยังไม่ทำงาน หน้าสัมผัส 1 และ 2 จะต่อกันอยู่ เมื่อรีเลย์ทำงานหน้าสัมผัส 1 และ หน้าสัมผัส 2 จะแยกกัน. เมื่อแยกกันแล้ว หน้าสัมผัส 1 จะมาต่อกับหน้าสัมผัส 3 แทน. พอรีเลย์หยุดทำงานหน้าสัมผัส 1 กับ 2 ก็จะต่อกันตามเดิม.

image003[10]สำหรับจำนวนชุดของหน้าสัมผัสนั้นจะบอก เป็นตัวเลข และ เขียนไว้หน้าตัวอักษรที่แสดงแบบของหน้าสัมผัส เช่น 1A , 1B , 2B , 2A.

image003[11]1A หมายถึง หน้าสัมผัสเป็นแบบ A และ มีจำนวนหน้าสัมผัส 1 ชุด

image016

image003[12]1B หมายถึง หน้าสัมผัส เป็นแบบ B และ มีจำนวนหน้าสัมผัส 1 ชุด

image017

image003[13]2A หมายถึง หน้า สัมผัสเป็นแบบ A มีจำนวนหน้าสัมผัส 2 ชุด เมื่อรีเลย์ทำงานหน้าสัมผัสทั้งสอง ก็จะทำงานพร้อมกัน.

image018

image003[14]หน้าสัมผัสของรีเลย์ตัวเดียวอาจจะมี จำนวนเป็นสิบๆ ชุด. เท่าที่ยกตัวอย่างให้เห็นนั้น เป็นเพียงตัวอย่าง ที่ต้องการให้ผู้อ่านได้ เข้าใจถึงวิธีสังเกตุแบบของหน้าสัมผัส และ จำนวนของหน้า สัมผัสซึ่งมักใช้กันบ่อยๆ.

การทำงานของหรีดรีเลย์

image003[15]image012[1]เรื่องราวเกี่ยวกับลักษณะ และ ส่วนประกอบที่ จะทำให้เป็นรูปเป็นร่างของหรีดรีเลย์ขึ้นมาได้นั้น. คุณผู้อ่านก็ คงพอจะทราบแล้วนะครับ พอมาถึงตอนนี้ เราจะเริ่มการทำงานของ หรีดรีเลย์กันเลย ขอให้ดู รูปที่ 4 พร้อมทั้งคำอธิบายประกอบ

image019

รูปที่ 4 แสดงการ ทำงานของหรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบ A

image003[16]จากรูปที่ 4 เป็นหรีดรีเลย์แบบ A คือ ขณะยังไม่ทำ งานหน้าสัมผัสยังไม่ต่อกัน ในรูป 4 ก. เป็นรีเลย์ในสภาพปกติ ยังไม่มีกระแส ผ่านขอลวดซึ่งอยู่รอบๆ หลอดแก้ว ( ในที่นี้ไม่แสดงขอลวดให้เห็น ) หรีดทั้งสอง ที่อยู่ในหลอดแก้ว มีความยาวเท่ากัน และ จะเคลื่อนตัวได้เมื่อเกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้น. พอจ่ายกระแส ผ่านขดลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก และ มี ขั้วต่างกัน ดังในรูปที่ 4 ข. สนามแม่เหล็กเมื่อมีค่ามากพอหรีดทั้ง สองก็จะต่อกัน. ดังรูปที่ 4 ค. เมื่อหยุดจ่ายกระแสให้ขดลวดสนามแม่ เหล็ก ก็ จะลดลงจนถึงจุดที่ไม่สามารถจะเอาชนะแรงสปริงของหรีดได้. หรีดก็จะแยก ออกจากกันกลับสู่สภาพเดิม ดังในรูปที่ 4 ก. อีกครั้ง.

image003[17]ในรูปที่ 5 เป็นหรีดรีเลย์ซึ่งมีหน้าสัมผัสเป็น แบบ B หรือ Break หน้าสัมผัสในสภาพปกติจะ ต่อกันอยู่จะสังเกตุ ได้ว่า หรีดรีเลย์ใน รูปนี้มีความยาวของหรีดไม่เท่ากัน. หรีดที่อยู่ส่วนบนจะสั้นกว่า หรีด อันล่าง ขณะที่รีเลย์ทำงาน จะมีหรีดเพียงอันเดียวเท่านั้นที่เคลื่อนที่ คือ หรีด อันล่างส่วน หรีดอันบนนั้น จะถูกตรึงอยู่กับที่.

image020

รูปที่ 5 หรีดรี เลย์หน้าสัมผัสแบบ B

image003[18]หรีดทั้งสองต่อกันได้ด้วยแรงบังคับทาง กลไก ดังนั้น จึงอาจจะเรียกรีเลย์แบบ นี้ว่า " machanically biased " หลักการทำงานของ หรีดรีเลย์แบบนี้ก็เช่นเดียวกับหรีดรีเลย์หน้าสัมผัสแบบ A ต่างกัน ก็ตรงที่ว่า หรีด รีเลย์ แบบ B นี้ เมื่อจ่ายกระแสผ่านขดลวดจะทำให้หน้า สัมผัสอันล่างแยกออกจากหน้าสัมผัสอันบน. พอหยุดจ่ายกระแสหน้าสัมผัสก็จะกลับมา ต่อกันอีก.

image003[19]รูปที่ 6 เป็นหรีดรีเลย์แบบ C เป็นแบบ Bread make หรือ transfer. หรีดรีเลย์แบบ C มีหน้า สัมผัสอยู่ 3 อัน. สองอันบนมีความยาวเท่ากัน อันล่างยาวที สุด และ จะ เป็นตัวเคลื่อนที่ระหว่างหรีดสองอันข้างบนอยู่กับที่.

image021

รูปที่ 6 หรีดรี เลย์หน้าสัมผัสแบบ C

image003[20]รูปที่ 6 ก. รีเลย์ยังไม่ทำงาน หน้าสัมผัส 1 และ 2 จะต่อกันอยู่โดยการบังคับ ทางกลไก. เมื่อจ่ายกระแสผ่านขดลวด ทำให้หรีดทั้ง 3 อัน กลายเป็นแม่เหล็ก. หรีดอันบนทั้งสองจะมีขั้วเหมือนกัน ส่วนหรีดอันล่างจะมีขั้วต่างกับสองอัน ข้างบน ( ดูรูป 6 ข. ) เมื่อสนามแม่เหล็กมีค่ามากพอ หรีด 1 จะไปต่อ กับหรีด 3.

image003[21]คุณอาจจะสงสัยว่า หรีด 2 กับหรีด 3 นั้น. ต่างก็มีความ ยาวเท่ากัน มีขั้วแม่เหล็กเหมือนกัน มิหนำซ้ำ หรีด 2 กับหรีด 1 ก็ต่อกันอยู่แล้วขณะที่ เกิดอำนาจแม่เหล็กขึ้น หรีด 1 กับหรีด 2 น่าจะต่อกันได้แน่นยิ่งขึ้นแต่เหตุไฉน หรีด 1 จึง เคลื่อนไปต่อกับหรีด 3 ได้. การที่หรีด 1 ไปต่อกับ หรีด 3 ได้ เนื่องจากโครงสร้างของหรีด 2 และ หรีด 3 ไม่ เหมือนกัน กล่าวคือ หรีด 2 นั้น เฉพาะที่ผิวของหรีดจะติดไว้ด้วยสารที่ ไม่เป็นแม่เหล็ก ดังนั้น หรีด 3 จึงมีผลตอบสนองต่อสนามแม่ เหล็กได้ดีกว่าหรีด 2 แม้ว่า หรีด 2 กับหรีด 1 จะมีแรงบังคับให้ต่อกัน อยู่ก็ตาม พอหยุดจ่ายกระแสผ่านขอลวดหรีด 1 ก็จะกลับไปต่อหรีด 2 ตามเดิม.

image003[22]รูปที่ 7 เป็นหรีดรีเลย์ที่มีหน้าสัมผัสเป็นแบบ C เช่น เดียวกับในรูปที่ 6 แต่หรีด 1 กับ หรีด 2 ถูกบังคับให้ต่อกัน โดยอาศัยอำนาจ ของแม่เหล็กถาวรซึ่งติดอยู่ตอนกลางของหรีด 2 . หรีดรี เลย์แบบนี้เป็นแบบ " magnetically biased " คือ อาศัยอำนาจแม่ เหล็กถาวรบังคับให้หรีดต่อกันขณะที่รีเลย์ยังไม่ทำงาน หรีดจะอยู่ใน สภาพดังรูปที่ 7 ก. สนามแม่เหล็ก อันเกิดจากการจ่ายกระแสผ่านขอลวดจะทำให้หรีด 1 ไปต่อกับ หรีด 3 ดังในรูป ที่ 7 ข.

image022

รูปที่ 7 หรีดรี เลย์หน้าสัมผัสแบบบ C ใช้แม่ เหล็กถาวร

image003[23]การทำงานให้หรีดต่อกันโดยใช้แม่เหล็ก ถาวรช่วย หรือ ที่ เรียกว่า magnetically bias นอกจากจะใช้กับหรีดรีเลย์ที่มีหน้า สัมผัสแบบ C แล้ว ยังใช้ได้กับ หน้าสัมผัสแบบ B ด้วย ดังในรูปที่ 8.

image003[24]แม่เหล็กถาวรซึ่งวางแนบอยู่ทางด้าน ข้างของหลอดแก้ว ต่อกันดังรูปที่ 8 ก. เมื่อมีสนามแม่เหล็กของหรีดเปลี่ยนไป ในทิศทางตรงกันข้าม. สนามแม่เหล็กจากขดลวดจะทำให้หรีดที่ต่อ กันอยู่แยกออกดังรูปที่ 8 ข. พอหยุด จ่ายกระแสให้ขดลวดแม่เหล็กถาวร ก็จะมีอำนาจดึงดูดทำให้หรีดต่อกันอีก.

image023

รูปที่ 8 หรีดรี เลย์หน้าสัมผัสแบบ B ใช้แม่เหล็กถาวร

หรีดรีเลย์แบบอื่น ๆ

image003[25]image012[2]หรีดรีเลย์นั้นคุณได้ทราบมาแล้วว่า ประกอบด้วยหลอดแก้วบรรจุหรีด และขดลวด หลอดจะสวมอยู่ในขดลวดอีกที่หนึ่ง ขดลวด 1 ชุด ไม่จำเป็นต้อง มีหลอดแก้วบรรจุหรีดเพียงหลอดเดียว. อาจจะมีจำนวนหลายๆ หลอดก็ได้.

image003[26]จากรูปที่ 9 จะเห็นว่าภายในขดลวด 1 ชุด ประกอบด้วยหลอดแก้วบรรจุหรีดถึง 4 หลอดด้วยกัน. หรีดรีเลย์ในรูปนี้มีหน้าสัมผัสอยู่ 2 แบบ คือ แบบ A และ แบบ B . หรีด 3 ชุดบนเป็นหน้าสัมผัสแบบ A อันล่างสุดเป็นหน้าสัมผัสแบบ B . หรีดรีเลย์ตัวนี้จึงเขียนสัญลักษณ์เป็น 3A - 1B . หน้าสัมผัสแบบ B ที่อยู่ ล่างสุดนั้นต่อกันได้โดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กถาวรที่วางไว้ใต้หลอดแก้ว แม่เหล็กถาวร ดังกล่าว ผู้ออกแบบจะพยายามไม่ ให้มีผลกระทบต่อการทำงานของหรีดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ เคียง. หรีดที่อยู่ล่างสุดจึงได้รับอิทธิพลจากสนามแม่เหล็กของเม่เหล็กถาวรเพียงอันเดียว.

image024

รูปที่ 9 หรีดรีเล ย์ หน้า สัมผัสแบบ 3A-1B

image003[27]รูปที่ 10 เป็นหรีดรีเลย์อีกแบบหนึ่ง ประกอบด้วย หรีด 2 ชุด มีหน้าสัมผัสแบบ A และ แบบ B ต่อกัน ได้ด้วยแม่เหล็กถาวร ที่วางไว้ส่วนบน หน้าสัมผัสแบบ A อยู่ข้างล่าง เมื่อรีเลย์ทำงานหน้าสัมผัสแบบ B จะ " เปิด " และ หน้าสัมผัสแบบ A จะ " ปิด " ทั้งแบบ A และ แบบ B ต่างก็มี หน้าสัมผัส 1 ชุด จึงเขียนสัญลักษณ์เป็น 1A - 1B.

image025

รูปที่ 10 หรีดรี เลย์ หน้า สัมผัสแบบ 1A-1B

image003[28]ภายในขดลวด 1 ชุด จะสามารถใส่ " Pole " ไว้ได้หลายๆ อันดังได้ กล่าวมาแล้ว ( คำว่า " Pole " ในที่นี้ หมายถึง แต่ละคู่ของหน้าสัมผัสที่อยู่ในหลอด แก้วของตัวเอง ) การที่ใส่ " Pole " หลายๆ อันไว้ในขดลวด เพียงชุดเดียว อาจจะเกิดปัญหาขึ้นได้ กล่าวคือ เนื่องจาก Pole มีหลายอันจึงเป็นการยาก ที่จะทำให้หรีดทุกอันภายในขดลวดนั้นทำงานพร้อมกันได้ เพราะสนามแม่ เหล็กที่เกิดจากขดลวดจะไม่เท่ากัน โดยตลอด. สนามแม่ เหล็กจะแรงที่ สุดที่ขอบนอกสุดของขดลวด. ผลของสนามแม่เหล็กจะทำให้หรีดที่อยู่ริม ทำงานก่อนหรีดที่อยู่ตรงกลาง ผู้ผลิตรี เลย์พยายามหลีกเลี่ยงปัญหาข้อนี้ โดยจะเอาหรีด ที่มีความไวกว่าใส่ไว้ตรงกลาง ( สนามแม่เหล็กอ่อนที่สุด ) และเอาหรีดที่มีความไวน้อยกว่าไว้ริม ( สนามแม่เหล็กแรงที่สุด ) ซึ่งก็พอจะแก้ไขปัญหาได้ .

image004[2]แม้ว่าหรีดรีเลย์จะถูกสร้างขึ้นมานาน แต่การใช้งานของมันยังคงเป็นไปอย่างกว้างขวาง และ ได้รับการพัฒนาอยู่ เสมอ . วงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วๆ ไป เป็นจำนวนไม่น้อยที่มีหรีดรีเลย์เข้าไป เกี่ยวข้อง วงจรบางวงจรในเครื่องชุมสายโทรศัพท์ที่ต้องการความรวดเร็วในการทำ งานก็ใช้หรีดรีเลย์ช่วย ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ระบบครอสบาร์ ( crossbar ) หรือ โทรศัพท์ระบบ อิเล็กทรอนิกส์ก็ตาม จะประกอบด้วยหรีดรีเลย์เป็นจำนวนมากนอกเหนือไปจากรีเล ย์แบบธรรมดา และ อุปกรณ์ ประเภทโซลิดสเตทอื่นๆ.

image004[3]หรีด รีเลย์มีข้อได้เปรียบอยู่อย่างหนึ่ง คือ ความ เล็ก . ด้วยเหตุนี้บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาข้อมือ ประเภทที่แสดงเวลาเป็นตัวเลข หรือ รู้กันโดยทั่ว ไปว่า นาฬิกาคอมพิวเตอร์ . บางบริษัท จึงนำอาหรีดเข้าไปใส่ไว้ ในตัวเรือนนาฬิกา เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ช่วยแสดงเวลา ( display ) การใช้งานของหรีดใน นาฬิกาประเภทนี้ ไม่ใช้สนามแม่เหล็กจากขดลวดไปทำงานแต่จะใช้แม่เหล็กถาวร แท่งเล็ก ๆ ช่วย เช่น ถ้าจะให้หรีดต่อกันก็ เลื่อนแท่งแม่เหล็กออกให้ห่าง จะเห็นว่าการทำงานของหรีดขึ้นอยู่ กับการเคลื่อนที่ของแท่งแม่เหล็ก ดังนั้นหรีดประเภทนี้จึงเรียกว่า หรีดสวิตซ์ ( Reed Switch )

image004[4]นอกจากนี้หรีดรีเลย์ ถูกนำไปใช้เป็นสเต็ปปิ้งสวิตซ์ ( Stepping Switch ) หรือ แซมปลิ้งสวิตซ์ ( Sampling Switch ) ของระบบคอนเวอร์เตอร์ ที่เปลี่ยนระบบจาก อะนาล็อก ให้เป็นดิจิตอล ( analog to digital converter system ) อีกด้วย. การใช้งานของหรีดรีเลย์ที่ไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้ยังมีอีกมากมายนัก เชื่อแน่ว่าใน อนาคตหากยังไม่มีอุปกรณ์อันใดที่มีคุณสมบัติ และ ความ สามารถเท่าเทียมกับหรีดรีเลย์ หรือ เหนือกว่าหรีดรีเลย์ แล้ว. หรีดรีเลย์จะยังคงเป็นอุปกรณ์ที่มีความ หมายต่อการใช้งานไปอีกนานทีเดียว.

...