Donate

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

วงจรพัลซ์และสวิชชิ่ง

วงจรพัลซ์และสวิชชิ่ง

ฟังก์ชั่นและรูปคลื่น หมายถึง ความสัมพันธ์ของ 2 ปริมาณที่เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่นปริมาณของกระแสหรือแรงดันที่เปรียบเทียบกับเวลา
- ฟังก์ชั่นขั้นบันได (step function)

image002

- ฟังก์ชั่นลาดเอียง (ramp fuction) เป็นฟังก์ชั่นเพิ่มหรือลด แบบเชิงเส้นเมื่อเทียบกับเวลา

image003

- ฟังก์ชั่นเอ็กโพเนนเชียล (exponential fuction) เป็นฟังก์ชั่นเพิ่มหรือลดในฟัง ก์ชั่นของรูปเอ็กโพเนนเชียล

image004

รูปฟังก์ชั่นต่าางๆหากนำมารวมหรือต่อเนื่องกันจะได้รูป คลื่นทางไฟฟ้าดังนี้
1. รูปคลื่นสี่เหลี่ยม (rectangula waveform) เกิดจากการรวมตัวของฟังก์ชั่นขั้น บันไดขึ้นและขั้นบันไดลง ถ้าช่วงเวลา t1 และ t2 เท่ากัน จะเรียกว่ารูปคลื่น สี่เหลี่ยมจตุ รัส (square wave) แต่หาก t1 ไม่เท่ากับ t2 เรียกว่า (pulse wave)

image005

ค่าเฉลี่ย ของคลื่นสี่เหลี่ยม square wave Vav = (Vp*t1)/T
ค่าประสิทธิผล Vrms = Vp*squareroot (t1 / T)

Vav = แรง ดันเฉลี่ยรูปคลื่นสี่เหลี่ยม
Vrms = แรงดันประสิทธิผล
Vp = แรงดัน พีค ทู พีค
t1 = คาบเวลาที่ปรากฏรูปคลื่น
T = คาบเวลาของรูปคลื่น

2. รูปคลื่นสามเหลี่ยม (Triangula waveform) เป็นรูปคลื่นที่เกิดจากการรวม ตัวของฟังก์ชั่นลาดเอียงแบบบวกกับแบบลบ

image006

ค่าเฉลี่ย ของคลื่นสามเหลี่ยม Vav = (Vp*t1)/T
ค่าประสิทธิผล Vrms = Vp*squareroot (4t1 / 3T)

Vav = แรง ดันเฉลี่ยรูปคลื่นสามเหลี่ยม
Vrms = แรงดันประสิทธิผล
Vp = แรงดัน พีค ทู พีค
t1 = คาบเวลาที่ปรากฏรูปคลื่น
T = คาบเวลาของรูปคลื่น

3. รูปคลื่นฟันเลื่อย (sawtooth waveform) เป็นรูปคลื่นที่เกิดจากการรวม ตัวของฟังก์ชั่นลาดเอียงกับฟังก์ชั่นขั้นบันได

image007

ค่าเฉลี่ย ของคลื่นฟันเลื่อย Vav = Vp/2
ค่าประสิทธิผล Vrms = Vp*squareroot 3

Vav = แรง ดันเฉลี่ยรูปคลื่นฟันเลื่อย
Vrms = แรงดันประสิทธิผล
Vp = แรงดัน พีค ทู พีค
T = คาบเวลาของรูปคลื่น

4. รูปคลื่นเอ็กโพเนนเชียล (exponntial waveform) เป็นรูปคลื่นที่เกิดจากการรวมตัวของฟังก์ชั่น เอ็กโพเนนเชียลแบบบวกกับแบบลบ

image008

Vav = แรง ดันเฉลี่ยรูปคลื่นโพเนนเชียล
Vrms = แรงดันประสิทธิผล
Vp = แรงดัน พีค ทู พีค
T = คาบเวลาของรูปคลื่น

ลักษณะ และคุณสมบติของรูปคลื่นพัล ส์

image009

1. แอมปลิจูดของพัลส์ (pulse amplitude) หมายถึง ขนาดความสูงของรูปคลื่นเมื่อวัดเทียบกับกราวด์
2. ขอบนำหน้าพัลส์ (leading edge) หมายถึง ขอบแรกที่ปรากฏ
3. ขอบตามหลังพัลส์ (trailing edge) หมายถึง ขอบที่สองที่ปรากฏ
4. ความกว้างของพัลส์ (pulse width) หมายถึง ระยะเวลาตั้งแต่ขอบนำหน้าถึงขอบตามหลังของพัลส์ลูกเดียวกัน tp หรือ pw หน่วยเป็นวินาที
5. ช่วงไม่ปรากฏพัลส์ (space width) หมายถึง ช่วงเวลาที่ค่าของพัลส์เป็น ศูนย์ trp หรือ sw
6. ความถี่การซ้ำของพัลส์ (pulse repetition frequency) หมายถึงจำนวนของพัลส์ที่ ปรากฏในเวลา 1 วินาที PRF หน่วยเป็นพัลส์/วินาที
                    PRF = 1/T
7. คาบเวลาของพัลส์ (time period) หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่ขอบนำหน้าของพัลส์ลูกหนึ่งถึงของนำหน้าของพัลส์อีกลูกหนึ่ง T
                     PRT = tp + trp = T
8. ค่าเฉลี่ยของพัลส์ หมายถึง อัตราส่วนผลรวมของพื้นที่ของพัลส์ /คาบ เวลาของพัลส์
                     Vav = [(V1 t1) + (V2 t2)] / T
9.ดิวตี่ ไซเคิล (duty cycle) หมายถึงอัตราส่วนระหว่างความกว้างของช่วงที่มีพัลส์ / คาบเวลาของพัลส์
                      duty cycle = ( tp / T) * 100%

รูปคลื่นพัลส์ทาง ปฏิบัติ

image010

1. ช่วงเวลาขึ้น (rise time) เป็นช่วงเวลาที่แรงดันเพิ่มจาก 10% - 90% ของค่าแรงดันสูงสุด tr
2. ช่วงเวลาลง (ดฟสส time) เป็นช่วงเวลาที่แรงดันลดจาก 90% - 10% ของค่าแรงดันสูงสุด tf
3. ความกว้างของพัลส์ (pulse width) คือช่วงที่เวลาที่พัลส์มีแรง ดัน 50% ของค่าแรงดันสูงสุด tp
4. แอมปลิจูดเฉลี่ย (average pulse amplitude) = (ค่าแรงดันสูงสุด + ค่า แรงดันต่ำสุด) / 2
5. ความลาดเอียงของพัลส์ (tilt) ค่าแอมปลิจูดของพัลส์ลดลงจากค่า แรงดัน V1 เป็น V2 ทำให้มีลักษณะลาดเอียง =(ค่าแรงดัน สูงสุด - ค่าแรงดันต่ำสุด) / Vav

วงจรกรอง ความถี่ต่ำผ่านแบบ RC (RC low pass filter)

image012

Vc = V - (V-V0)e -t/RC
Vc = แรงดันตกตร่อม C ที่ t ใดๆ

วงจร RC อินทิเกรเตอร์(RC integrator)

image014

Vo = (1/RC) ƒ Vi dt
Vo = แรงดัน o / p

วงจรกรอง ความถี่สูงผ่านแบบ RC (RC high pass filter)

image015

Vo = V e -t/RC
V1 = V0 e -t/RC
V3 = V 2 e-t/RC

วงจร RC ดิฟเฟอรนเชียล (RC differential)

image016

Vo = RC (d vi / dt)
Vo = แรงดัน o/ p

วงจรไดโอดสวิตช์

image017

จาก คุณสมบัติของสวิทช์เมื่ออยู่ในสภาวะปิด (on) แรงดันตกคร่อมสวิทช์มีค่า เป็น 0 แต่จากคุณสมบัติของวงจรไดโอดแบบ forward ทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมไดโอดที่0.7v(silicon) และ 0.3v (germanniam)

จาก คุณสมบัติของสวิทช์เมื่ออยู่ในสภาวะเปิด (off) แรงดันตกคร่อมสวิทช์มีค่าเป็น Vcc แต่จากคุณสมบัติของวงจรไดโอดแบบ revers ทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมไดโอดมีกระแสรั่วไหลเล็กน้อย

วงจร ขลิบ

image018

วงจรขริบ แบบอนุกรม ใช้หลัการไดโอดสวิทช์พิจจารณาว่า เป็นการไปอัสแบบใดและตรวจสอบ o/p
                               Vo = Vi - Vd
                               Vd = แรงดันตกค่อมไดโอดเมื่อไบอัสตรง

วงจรขริบแบบขนาน ใช้หลัการไดโอดสวิทช์พิจจารณาว่า เป็นการไปอัสแบบใดและตรวจสอบ o/p
                               Vo =Vd     ; เมื่อไบอัสตรง
                               Vd = แรงดันตกค่อมไดโอดเมื่อไบอัสตรง

                               Vo = Vi    ; เมื่อไบอัสกลับ

วงจรแค ลมป์

image019

วงจรแคลมป์แรงดันบวก ใช้หลัการเก็บและสะสมประจุของคาปาซิสเตอร์ และไดโอดสวิทช์พิจจารณาว่า เป็นการไปอัสแบบใดและตรวจสอบ o/p
                               Vo = Vc - Vi

วงจรแคลมป์แรงดันลบ ใช้หลัการเก็บและสะสมประจุของคาปาซิสเตอร์ และไดโอดสวิทช์พิจจารณาว่า เป็นการไปอัสแบบใดและตรวจสอบ o/p

วงจรสวิทช์ทรานซิสเตอรเป็นการนำเอา ทรานซิสเตอร์มาทำหน้าที่เป็นสวิทช์ ปิด-เปิดวงจร เพื่อสร้างสัญญาณรูปคลื่นต่างๆ

image020

Vo = Vcc - VRC
Ic = hFe * Ib

เวลาสวิทช์ของสวิทช์ทรานซิ สเตอร
- ช่วงเวลาทำงาน (On time) ใน การไบอัสตรงให้ทรานซิสเตอร์ทำงานนั้นจะต้องใช้เวลาเพื่อให้เกิดการสะสมประจุ เนื่องจากความจุที่รอยต่อ PN BE และ BC ของทรานซิสเตอร์ จึงทำให้เกิดการประวิงเวลาขึ้นในวงจร ช่วงนี้เรียกว่าช่วงทำงาน ton
1. ช่วงประวิงเวลา (delay time) คือ เวลานับจากแรงดัน i/p เริ่มต้นไปจนถึง แรงดัน o/p เปลี่ยนแปลงไปได้ 10% ของแรงดัน o/p เดิม td
2. ช่วงเวลาขึ้น (Rise time) คือ เวลาตั้งแต่แรงดัน o/p เปลี่ยแปลงจาก 10 % ถึง 90 % ของแรงดัน o/p เดิม tr
3. ช่วงเวลาทำงาน (On time) คือ เวลาที่นับจากแรงดัน i/p เริ่มต้นปรากฏ ไปจนถึงเวลาที่ o/p เปลี่ยนแปลงไปได้ 90% ของแรงดัน o/p เดิม ton
ton = td + tr
- ช่วงเวลา ตัดกระแส (Turn off time) ในการไบอัสกลับเพื่อให้ทรานซิสเตอร์หยุดทำงาน ในทางปฏิบัติทรานซิสเตอร์จะยังไม่หยุดทำงานในทันทีเนื่องจากค่าความจุรอยต่อ PN BE และ BC ของ ทรานซิสเตอร์ ทำให้มีแรงดันค้างช่วงระยะเวลาหนึ่งจนกว่าจะคายประจุหมด
1. เวลาสะสม (storage time) คือ เวลาที่นับจากค่าแรงดัน i/p เริ่มทำให้ทรานซิสเตอร์อยู่ในสภาวะ off ไปจนถึง เวลาที่แรงดัน o/p เพิ่มขึ้น เป็น 10% ของแรงดัน Vcc      ts
2.
เวลาตก (Fall time) คือเวลานับจากค่าแรง ดัน o/p เปลี่ยนแปลงจาก 10% ถึง 90% ของแรงดัน Vcc         tf
3. เวลาตัดกระแส (Turn off time) คือ เริ่มนับจากเวลาที่ i/p เริ่มเป็นค่าลบ ไปจนถึงเวลาที่ o/p ค่าเพิ่มขึ้นเป็น 90% ของแรงดัน Vcc
                                   toff = ts + tf

สปีดอัพคาปาซิเตอร์ (speed up capacitor)
เป็นการนำเอาคาปาซิเตอร์ค่าที่เหมาะสมมาต่อขนานกับ RB เพื่อจุดประสงค์ลดเวลา ton และ  toff โดยอาศัย หลักการตอบสนองแรงดันของคาปาซิเตอร์ในช่วงเริ่มต้นทำงานจะเสมือนคาปาซิเตอร์ ลัดวงจรทำให้เกิดกระแสจำนวนมากไหลเข้าไปไบอัสทรานซิสเตอร์ให้ทำงานได้ โดยกระแสมากกว่าปกติจึงทำให้ช่วยลดเวลาในการเริ่มต้นการทำงาน หลังจากนั้นคาปาซิสเตอร์จะเริ่มสะสมประจุและกลับมาทำงานในสภาวะปกติคือ Vin ไม่สามารถไหลผ่านได้ ช่วงเวลานี้เองเป็นหน้าที่ของ RB ที่จะทำงานไปอัสทรานซิสเตอร์ ในสภาวะปกติ
           tp/5RB > C > QT / 2 Vp-p
               C = ค่าความจุของspeed up capacitor (F)
Tp = ค่าความกว้างของพัลส์ i/p
             RB = R ที่ขา B ของทรานซิสเตอร์
Qt = ค่าประจุของพาหะข้างน้อยที่ บริเวณเบส

image021

...