แหล่งจ่ายไฟฟ้าคงที่
จุดประสงค์สำคัญของแหล่งจ่ายไฟฟ้าควบคุมได้หรือคงที่คือทำให้ ดี ซี เอ้าพุทของ
แหล่งจ่ายไฟฟ้ามีโวลเต็จคงที่ แม้แหล่งจ่ายไฟฟ้า เอ ซี จะเปลี่ยนแปลง หรือมีโหลดกระแสไฟฟ้า
เพิ่มขึ้นหรือลดลง
แหล่งจ่ายไฟให้แก่วงจรอิเล็กทรอนิคส์ที่ดีคือแบตเตอรี่ ซี่งเหมาะสำหรับเครื่องใช้
ไฟฟ้าที่เคลื่อนย้ายได้ เนื่องจากราคาค่าพลังงานแพง แหล่งจ่ายไฟจากไฟฟ้าเอซีตามบ้านนับ
เป็นแหล่งจ่ายไฟที่มีค่าพลังงานถูกและใช้งานได้สะดวก จึงจำเป็นต้องวงจรสำหรับแปลงไฟฟ้า
เอซีตามบ้านให้เป็นไฟฟ้าดีซีสำหรับวงจรอิเล็คทรอนิคส์ แต่วงจรเรียงกระแสและวงจรทำให้
เรียบจากที่กล่าวมาแล้วยังไม่เรียบและมีเสถียรภาพมากพอที่จะจ่ายให้แก่วงจรอิเล็คทรอนิคส์ได้
เริ่มจากอนุกรมของภาคการทำงานต่าง ๆ ข้างบน แสดงการทำงานของแหล่งจ่าย
ไฟกระแสตรงสำหรับวงจรอิเล็คทรอนิคส์
หม้อแปลงไฟฟ้า
เป็นอุปกรณ์สำหรับแปลงไฟฟ้าบ้านเอซี 220V ลดลงให้เป็นไฟฟ้าเอซี 12V หรือ
เอซีโวลเต็จที่ต้องการ ขนาดของหม้อแปลงขึ้นอยู่กับกระแสไฟฟ้าที่วงจรอิเล็คทรอนิคส์ต้อง
การใช้ นิยมบอกเป็นแอมแปร์ของกระแสไฟฟ้าที่จะใช้งาน เช่น 1A, 2A เป็นต้น
ตัวเรียงกระแสไฟฟ้า
ภาคนี้ใช้สำหรับเปลี่ยนไฟฟ้าเอซีให้เป็นดีซีไม่เรียบ ปกติจะไม่ใช้ตัวเรียงกระแส
แบบครึ่งคลื่น แต่จะใช้ตัวเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นแบบเฟส หรือแบบบริดจ์ ถ้าใช้ตัวเรียง
กระแสเต็มคลื่นแบบเฟสจะต้องใช้หม้อแปลงแบบมีจุดกึ่งกลางอีก 2 ข้างจะมีไฟฟ้าเอซีเฟส
ต่างกัน 180 องศา รวมเป็นหม้อแปลงไฟฟ้าทางออกมี 3 ขั้ว ขั้วที่เฟสต่างกัน 2 ขั้วและขั้ว
กลางอีก 1 ขั้ว เมื่อขั้วใดมีไฟฟ้าเป็นบวกเมื่อเทียบกับขั้วกลางอีกขั้วหนึ่งจะต้องมีไฟฟ้าลบ
ภาคเรียงกระแสจะต้องใช้ไดโอด 2 ตัวเพื่อต่อเข้าที่ขั้วทั้งสองของหม้อแปลง ถ้าต้องการ
ไฟฟ้าเอ้าพุทเป็นบวกจะต้องต่อไดโอดทั้งสองเอาขั้วแคโทด(ด้านขีด)รวมกันปลายที่เหลือของ
ไดโอดทั้งสองต่อเข้าที่ขั้วริมทั้งสองของหม้อแปลง ส่วนขั้วกลางของหม้อแปลงต่อลงกราวนด์
เมื่อป้อนไฟฟ้าเอซีเข้าที่ขั้วทั้งสองของใดโอดขั้วใดขั้วหนึ่งจะต้องเป็นบวกเทียบกับกราวนด์
ไดโอดตัวนี้จะนำกระแสไฟฟ้าไปผ่านตัวต้านทานหรือวงจรโหลดเพราะเป็นฟอร์เวอร์สไบอัส
ส่วนอีกขั้วหนึ่งจะเป็นลบไม่มีกระแสใหลผ่านไดโอดเพราะเป็นรีเวอร์สไบอัส เมื่อครึ่งไซเกิล
แรกผ่านไป อีกครึ่งหนึ่งซึ่งมีเฟสกลับกับครึ่งแรกเข้ามาก ขั้วใดโอดตัวแรกจะเป็นลบไม่นำ
กระแสส่วนขั้วใดโอดตัวหลังจะเป็นบวกนำกระแสไปผ่านโหลด จะเห็นว่าไฟฟ้าเอซี 1 ลูกคลื่น
จะถูกใดโอดผลัดกันนำกระแสไฟฟ้าไปสู่โหลดที่ละตัวจนหมด โดยใดโอดแต่ละตัวนำกระแส
เพียงครึ่งคลื่น
ตรวจสอบความคิด
มีการใช้ไดโอดแบบบริดจ์ทำแหล่งจ่ายไฟจากไฟฟ้าเอซีตามบ้านมากกว่าเพราะว่า
หม้อแปลงไฟฟ้าที่จุดกลางมีราคาแพงกว่าหม้อแปลงที่ไม่มีจุดกลางมาก และไดโอดก็มีราคาถูก
การทำให้กระแสไฟฟ้าราบเรียบ
กระแสไฟฟ้าตรงไม่เรียบจากเครื่องเรียงกระแสแบบเต็มคลื่นมีความถี่เป็น 2 เท่า
ของความถี่ไฟฟ้าเอซีที่ป้อนเข้าทางอินพุท คือ 100Hz คาปาซิเตอร์จะช่วยให้ไฟฟ้ากระแส
ตรงไม่เรียบนี้ให้เรียบขึ้น แต่ยังมีเอซีผสมอยู่อีกเล็กน้อย แต่ถ้ามีการใช้กระแสไฟฟ้าตรง
ทางด้านเอ้าพุทเพิ่มขึ้นจะทำริบเปิลหรือส่วนผสมเอซีที่อยู่ในดีซีเพิ่มขึ้น ไฟฟ้าดีซีเหมือนกับ
ไฟฟ้าเอซีความถี่ต่ำ 0Hz และเอซีริบเปิลเป็นส่วนที่มีความถี่สูง เพื่อลดริบเปิลจะต้องใช้
วงจรกรองความถี่ต่ำผ่าน นั้นคือให้ดีซีผ่านแต่กั้นหรือลดทอนริบเปิล
วงจรกรองความถี่ต่ำผ่านมี 2 ชนิด คือ
อาร์ ซี ฟิลเตอร์
คาปาซิเตอร์ C1 ทำหน้าที่เป็นถังเก็บและจ่ายประจุไฟฟ้าให้แก่เอ้าพุท
เมื่อโวลเต็จอินพุทสูงขึ้นตามลูกคลื่นส่วนที่เป็นพีค C1 จะทำหน้าที่เก็บประจุส่วน
นี้ไว้ ทำให้โวลเต็จคร่อม C1 สูงขึ้น เมื่อโวลเต็จอินพุทต่ำลงกว่าโวลเต็จของ C1
ก็จะทำหน้าที่ถ่ายประจุที่เก็วไว้ออกมาให้แก่เอ้าพุททำให้โวลเต็จใน C1 ลดลง สำหรับ
วงจรอาร์ซีถัดไป จะทำหน้าที่ลดขนาดของริบเปิล โดย R1 และ RL เป็นวงจร
แบ่งแรงดันไฟฟ้า มีชื่อว่า โวลเต็จดีไวเดอร์ ของแหล่งเก็บโวลเต็จใน C1 ซี่งทำ
หน้าที่เป็น Vin ของวงจรโวลเต็จดีไวเดอร์นี้ ถ้า R1 มีค่าน้อยเทียบกับ RL
จะทำให้ดีซีโวลเต็จเอ้าพุทมีค่าเท่ากับ Vin
เอซีโวลเต็จริบเปิลทีใหลผ่าน R1 แล้วใหลตกคร่อม RL
จะใหลผ่าน C2 ลงกราวนด์ทำให้ริบเปิลโวลเต็จทางเอ้าพุทลดลง
ตรวจสอบความคิด
ทำใมริบเปิลโวลเต็จจึงไม่สามารถกำจัดไปได้หมด
ความต้านทานของบายพาสคาปาซิเตอร์ C2 เป็นตัวกำหนดจำนวนริบเปิล
โวลเต็จที่จะถูกกำจัดออกไป ถ้าความต้านทานของบายพาสคาปาซิเตอร์ C2 มีค่าน้อย
ริบเปิลโวลเต็จที่ตกคร่อม ความต้านทานของบายพาสคาปาซิเตอร์ RL จะมีค่าน้อยด้วย
ค่าความต้านทาน C2 คือ XC2 คำนวณได้เป็น
XC2 = 1 / 2pf C2
ซี แอล ฟิลเตอร์
ขดลวด คอยล์(L1) มีความต้านทานดีซี เป็น R1 ตามรูป ข เป็นวงจรมีคุณสมบัติต่อดีซี
ส่วน C2 ไม่ต่อวงจรดีซีจึงไม่ผลใด ๆ ไม่ต้องเขียนได้ ถ้า R1 มีค่าน้อยเมื่อเทียบกับ
RL จะทำให้โวลเต็จ Vin ไปปรากฏคร่อมโหลดเป็น Vout ได้ ถ้ามีเอซีริบเปิล ตามีรูป ค L1 จะมี
ความต้านทานสูงต่อเอซีริบเปิล เป็น
XL = 1 / 2pf L
ส่วนคาปาซิเตอร์ C2 มีความต้านทานต่อเอซีริบเปิลต่ำ เป็น
XC2 = 1 / 2pf C2
ค่าความต้านทานของ L1 จะต้องเลือกให้มีค่ามากเมื่อเทียบกับ C2 อันเป็น
ผลให้สามารถลดเอซีริบเปิลคร่อมโหลดลงได้มาก
ตรวจสอบความคิด
ซีแอลฟิลเตอร์ไม่ค่อยมีการใช้แพร่หลายเนื่องจากเมื่อค่า L มาก ๆ เส้นลวดจะต้องล
ยาวมากทำให้มีความต้านทานดีซีมากขึ้นไปด้วย ลวดทองแดงมีราคาแพงมากและขนาดยาวเมื่อ
พันเป็นก้อนจะมีขนาดใหญ่
สเตบิไลเซอร์
แหล่งจ่ายไฟที่ไม่มีโหลดจะไม่มีริบเปิลและไม่เปลี่ยนแปลง ราบเรียบดีมาก เช่น
แหล่งจ่ายไฟดีซี 12V
ถ้ามีโหลดขนาด 100mA มาต่อใช้งานจะทำให้โวลเต็จ
ก ตกลง
ข มีริบเปิลเกิดขึ้น
ค หรือเกิดพร้อมกันทั้งสองอย่าง
ถ้ากระแสโหลดเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อโวลเต็จเอ้าพุทมากขึ้นด้วย ถ้าไม่มีโหลดการ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดจากไฟฟ้าเมนบ้านก็มีเป็นปกติ ไฟฟ้า 220V 50Hz มีการตกและกระชาก
ทำให้เอ้าพุทของแหล่งจ่ายไฟเพิ่มลดตามไปด้วย วงจรรักษาระดับโวลเต็จขณะที่กระแส
เอ้าพุทเปลี่ยนแปลง ทำให้กระแสไฟฟ้าดีซีเรียบ นั่นคือจะต้องใช้แหล่งจ่ายไฟโวลเต็จคงที
ที่มีรายละเอียดเฉพาะดังนี้
โวลเต็จเอ้าพุท จะต้องมีขีดจำกัดการเปลี่ยนแปลงโวลเต็จเอ้าพุท เช่น 0 - 30V
หรือคงที่ 12V
กระแสเอ้าพุท กระแสสูงสุดที่แหล่งจ่ายไฟสามารถจ่ายให้โหลดได้ มีวงจร
ป้องกันจ่ายกระแสเกิน
โหลดเร็กกลูเรชั่น การเปลี่ยนแปลงเอ้าพุทโวลเต็จเมื่อกระแสโหลดเปลี่ยน
จากศูนย์จนเต็มโหลด
ริบเปิลและน๊อยส์ เอซีที่ปนอยู่ในดีซีเอ้าพุทเมื่อเต็มโหลด
เสถียรภาพ ดีซีเอ้าพุทโวลเต็จที่เปลี่ยนไปตามเวลาเมื่อโวลเต็จเอ้าพุทและกระแส
โหลดคงที่
ไลน์เร็กกลูเรชั่น เอ้าพุทโวลเต็จที่เปลี่ยนแปลงไปตามอินพุทโวลเต็จ
แหล่งจ่ายไฟที่มีรายละเอียดเฉพาะข้างต้นจะมีราคาตามกระแสที่ต้องการ เช่น
แหล่งจ่ายไฟ 12V 50mA จะมีราคาถูกกว่าแหล่งจ่ายไฟ 12V 25A เป็นอย่างมาก
ชนิดของสเตบิไลเซอร์
เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าหรือสเตบิไลเซอร์ที่พูดมาก่อนนี้เป็นแบบต่อเนื่อง
มีใช้ทั่วไปแต่สำหรับแหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลังสูง ๆ จะใช้สวิตชิ่งเพาเวอร์ซับพลาย
ชันท์ สเตบิไลเซอร์
ได้แก่เครื่องรักษาระดับแรงดันไฟฟ้าแบบใช้ซีเนอร์ไดโอด กระแสทั้งหมดจะถูก
แบ่งให้ซีเนอร์และโหลด ตามความสัมพันธ์
It = Iz + IL
การเพิ่มลดกระแส IL มีผลต่อกระแสใหลผ่านซีเนอร์ โดยเอ้าพุท
โวลเต็จคงที่ วงจรนี้มีหลายจุดที่ไม่เป็นไปตามรายละเอียดเฉพาะของแหล่งจ่ายไฟมาตรฐาน
1 เอ้าพุทโวลเต็จคือโวลเต็จของซีเนอร์
2 ไม่สามารถปรับแต่งเอ้าพุทโวลเต็จได้
3 กระแสเอ้าพุทกำหนดโดยกระแสของซีเนอร์
4 ไม่มีการเฝ้าระวังกระแสเอ้าพุท
ปรับปรุงให้ดีขึ้นได้โดยการใช้ทรานซิสเตอร์กำลังสูงจ่ายกระแสให้เอ้าพุทและใช้
ซีเนอร์เป็นเพียงแหล่งโวลเต็จอ้างอิง
Tr1 ใช้เป็นเครื่องขยายกระแส(อิมิตเตอร์โฟโลเออร์) ซีเนอร์จะรักษาระดับแรง
ดันไฟฟ้าที่ขาเบสให้คงที่ เช่น ซีเนอร์มีโวลเต็จ 8.2V แล้วเอ้าพุทโวลเต็จจะประมาณ 7.6V
ตกคร่อม Tr1 ประมาณ 0.6V
วงจรนี้ค่อนข้างดี ที่สามารถลดกำลังของซีเนอร์ได้โดยใช้ทรานซิสเตอร์กำลัง
แต่ก็มีปัญหาอีกคือ
ก ถ้าใช้กระแสเอ้าพุทมาก ๆ ซีเนอร์จะต้องมีกำลังมากด้วย
ข ความไวในการแก้ใขเอ้าพุทโวลเต็จน้อย
เพื่อแก้ใขปัญหาข้างต้นจึงใช้ทรานซิสเตอร์เพิ่มอีกตัวหนึ่ง คอยตรวจจับการ
เปลี่ยนแปลงที่เอ้าพุทโวลเต็จแล้วจัดการแก้ใข
วงจรนี้เป็นที่นิยมใช้มากวงจรหนึ่ง ประกอบด้วยอุกรณ์มีหน้าที่ทำงานดังนี้
1 Zd1 เป็นซีเนอร์ไดโอดมีหน้าที่รักษาโวลเต็จที่ขาอิมิตเตอร์ให้คงที่ตามซีเนอร์
โวลเต็จ
2 R1 เป็นตัวต้านทานต่ออนุกรมกับซีเนอร์ไดโอด
3 R2 เป็นตัวต้านทานไบอัสของ Tr1 และเป็นตัวต้านทาน
คอลเล็คเตอร์โหลดของ Tr2 โวลเต็จคร่อมตัวต้านทานตัวนี้ที่กำหนดให้ Tr1 ทำงาน
4 Tr1 เป็นทรานซิสเตอร์อนุกรมทำหน้าที่ควบคุมกระแสเอ้าพุทและโวลเต็จ
เอ้าพุทของแหล่งจ่ายไฟ
5 Tr2 เป็นทรานซิสเตอร์คอยเฝ้าระวังโวลเต็จเอ้าพุท บางทีเรียกว่า เครื่อง
ขยายข้อบกพร่อง หรือ เออเรอร์แอมปลิฟลาย เพราะมีหน้าที่ตรวจจับความผิดปกติทาง
ด้านเอ้าพุท
6 R3,VR1, R4 เป็นโวลเต็จดีไวเดอร์ปรับค่าได้
ทำให้เอ้าพุทโวลเต็จถูกปรับค่าได้ด้วย VR1
ถ้า Vout เป็น 10.0V ดีซี จะได้
1 ขาอิมิตเตอร์ของ Tr2 ถูกกำหนดให้มีโวลเต็จคงที่ด้วยซีเนอร์ไดโอด
2 VB = VRef + 0.6V(เป็น VBE ของ Tr2)
โวลเต็จ VB นี้จะใช้กำหนดกระแสคอลเล็คเตอร์ของ Tr2 และทำให้
เกิดโวลเต็จตกคร่อม R2 โวลเต็จคร่อม R2 นี้คือ โวลเต็จ
ไบอัสขาเบสของทรานซิสเตอร์อนุกรม Tr1 และเป็นตัวกำหนดเอ้าพุทโวลเต็จ
เมื่อกระแสโหลดเพิ่มขึ้น โวลเต็จตกคร่อม Tr1 จะเพิ่มด้วยทำให้เอ้าพุทโวลเต็จ
Vout ตกลง เพื่อรักษาเสถียรภาพของ Vout วงจรรักษาระดับโวลเต็จจะเพิ่มกระแสใหล
ผ่าน Tr1
ผลจาก Vout ลดลงจะทำให้ VB ของ Tr2 ลดลง แต่โวลเต็จ
อิมิตเตอร์ของ Tr2 คงที่ตาม VRef ทำให้ฟอร์เวอร์สไบอัสของ Tr2 ลดลง
(เพราะว่า VB - VRef ลดลง) ทำให้ Tr2 นำกระแสน้อยลง
ดังนั้นโวลเต็จตกคร่อม R2 ลดลง ทำให้เบสไบอัสของ Tr1 เพิ่มขึ้น ทำให้
กระแสเอ้าพุทของแหล่งจ่ายไฟเพิ่มสูงขึ้นไปสู่ Vout เดิมคือ 10.0V
ถ้าเอ้าพุทโวลเต็จเพิ่มขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ Vin ทำให้ VB สูงขึ้น
ทำให้ (VB - VRef) เพิ่มขึ้น ทำให้ Tr1 นำกระแสเพิ่มขึ้น
เป็นเหตุให้กระแสใหลผ่าน R2 เพิ่ม โวลเต็จตกคร่อมก็เพิ่มด้วย ทำให้เบสไบอัส
ของ Tr1 ลดลง และนำกระแสน้อยลงด้วย เป็นผลให้ Vout คงเดิม
จุดที่น่าสนใจของวงจรนี้
1 สำหรับแหล่งจ่ายไฟกำลังสูง Tr1 จะต้องเป็นทรานซิสเตอร์กำลังที่ติดตัวระบายความร้อน
2 ทรานซิสเตอร์กำลังสูง จะมี hFE ต่ำ เช่น 2N3055 จ่ายกระแสได้ 15A แต่มี
hFE เพียง 20 - 70
3 Tr2 จ่ายกระแสให้ Tr1 ถ้า Tr1 เป็น 2N3055 จ่ายกระแส 10A ใช้ hFE 20
แล้ว Tr2 จะต้องจ่ายกระแส
10A/20 = 500mA
ทำให้ Tr2 จะต้องจ่ายกระแสสูงพร้อมกับมีอัตราขยายสูงด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงต้อง
มีการปรับปรุงแหล่งจ่ายไฟให้ดีขึ้นไปอีก
ปฏิบัติการที่ 19
แหล่งจ่ายไฟโวลเต็จคงที่
จุดประสงค์
ต้องการสร้างแหล่งจ่ายไฟโวลเต็จคงที่ มีขั้นตอนสมบูรณ์ตามรายละเอียดเฉพาะ
มีรายงานการทดสอบอย่างละเอียด
วิธีทดลอง
1 ประกอบวงจรแหล่งจ่ายไฟกระแสเอ้าพุท 100mA สามารถใช้ BFY51 ได้โดยไม่ต้องมี
ตัวระบายความร้อน
2 ปลด RL ออก วัด บันทึก เอ้าพุทโวลเต็จขณะไม่มีโหลด โดยการปรับ Vr1
3 ต่อ RL ปรับค่าเป็น 10k แล้วลดค่าลงเป็นขั้น ๆ บันทึก Vout, IL
และริบเปิลโวลเต็จ แต่ละขั้นที่ปรับไป จน IL = 100mA
4 เขียนกราฟรูปคลื่นขณะใช้งานเต็มโหลดแสดงระดับริบเปิลและระดับดีซี
5 เขียนกราฟระหว่าง Vout กับ IL ตลอดย่านการใช้งาน
6 หาโหลดเร็กกลูเลชั่น ด้วยความสัมพันธ์
โหลดเร็กกลูเรชั่น =((โวลเต็จไม่มีโหลด - โวลเต็จโหลดเต็ม) / โวลเต็จไม่มีโหลด) x 100
7 คำนวณหาความต้านทานเอ้าพุทของแหล่งจ่ายไฟ โดย
Rout =
dVout /
dIL โอห์ม
ผลการทดลอง
1 ใช้ผลการทดลองตามขั้นตอนทำรายละเอียด เฉพาะของแหล่งจ่ายไฟประกอบด้วบ
เอ้าพุ ทโวลเต็จ
กระแสโหลด
การรักษาระดับแรงดัน ไฟฟ้าตลอดย่านการใช้งาน
ความต้านทานเอ้าพุทของแหล่งจ่ายไฟ
ริบเปิลโวลเต็จสูงสุด
โดยแต่ละรายการสามารถ ยืนยันจากการทดลองได้
2 อธิบายการทำงานจากวงจรเกี่ยวกับ
การเรียงกระแส
การทำให้ราบเรียบ
การรักษาระดับแรงดัน ไฟฟ้า
ไอ ซี เรคกลูเรเตอร์
การใช้งานไอซีเพื่อลด ขนาดของแหล่งจ่ายไฟ เนื่องจาก
1 มีย่านโวลเต็จและ กระแสให้เลือกใช้สะดวก
2 มีระบบป้องกันโหลดเกินและลัดวงจรอยู่ ภายใน
3 ประกอบวงจรง่าย
4 สามารถเลือกไอซีที่แปรค่าเอ้าพุทได้
การออกแบบวงจรแหล่งจ่ายไฟโดยใช้ ไอ ซี เรคกลูเรเตอร์ ตรวจ สอบความเข้าใจ 8
ปัญหาของนักออก แบบวงจรมีเพียงการเลือกใช้ไอซีจากคู่มือ โดยคำนึงถึง
1 แหล่งจ่ายไฟที่ต้องการแปรค่าเอ้าพุทได้หรือคงที่
2 เอ้าพุทโวลเต็จหรือย่านเอ้าพุทที่ต้องการ
3 กระแสสูงสุดที่ต้องการเป็นเท่าไร
ตรวจ สอบความเข้าใจ 8
จากรายละเอียพเฉพาะนี้จงเลือกไอซีที่เหมาะสม
1 +5V, 50mA
2 1.0A และ Vout แปรค่าจาก 2V ถึง 30V
3 -12V, 800mA
4 9A, 10V
5 350mA Vout แปรค่าจาก 10V ถึง 32V
เฉลย ตรวจสอบความเข้าใจ
เฉลยตรวจสอบความเข้าใจ 8
1 เร็กกลูเลชั่นคงที่ 50mA เช่น LM342 p-5, LM78LD5ACH, LM78M05CT เป็นต้น
2 LM317F, LM337T เป็นต้น
3 เร็กกลูเลชั่นคงที่ 800mA เช่น L7912CV, LM320T-12 เป็นต้น
4 ค่าคงที่ 9.0A ไม่มี มีแต่แปรค่าได้ 10A LM396k
5 แปรค่าได้ เกิน 350mA เช่น LM317MP, LM317H เป็นต้น
ทบทวน เรื่องแหล่งจ่ายไฟฟ้า
จุดประสงค์ของแหล่ง จ่ายไฟโวลเต็จคงที่ คือ กระแสไฟฟ้าดีซี ที่ราบเรียบ คงที่
ทั้ง ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง กระแสเอ้าพุท อินพุทโวลเต็จ และอุณหภูมิ
อธิบายภาคต่าง ๆ ของแหล่งจ่ายไฟได้ดังนี้
หม้อแปลงไฟฟ้า แปลงไฟฟ้าเอซีตามบ้านเป็นไฟฟ้าเอซีโวลเต็จตาม ต้องการ
ตัวเรียงกระแส เปลี่ยนเอซีโว ลเต็จเป็นดีซีโวลเต็จ
ตัวทำให้ราบเรียบ ลดทอนริบเปิลโวลเต็จ
ตัวรักษาระดับแรงดัน ไฟฟ้า ทำให้เอ้าพุทโวลเต็จคง ที่
ตัวทำให้ราบเรียบ ประกอบด้วยถังเก็บประจุคาปาซิเตอร์และ วงจรกรองกระแสความถี่ต่ำผ่าน
วงจรกรองกระแสความถี่ต่ำผ่าน ให้ดีซีผ่านได้แต่ลดทอนเอซีริบเปิลโว ลเต็จ
วงจรกรองกระแสความถี่ต่ำผ่าน ประกอบด้วย ตัวต้านทานกับคาปาซิเตอร์ หรือ คอยล์กับ
คาปาซิเตอร์
แหล่งจ่ายไฟที่ดี จะต้องมีเอ้าพุทโวลเต็จคงที่โดยใช้วงจรขยายความคลาดเคลื่อน คอยเฝ้า
ระวังแก้ใขเอ้าพุทโวลเต็จ
แหล่งจ่ายไฟ สามารถมีโวลเต็จคงที่หรือแปรค่าได้ ในแต่ละขนาดกระแสเอ้าพุท โว ลเต็จสูง
กระแสสูง จะทำให้แหล่งจ่ายไฟมีราคาสูงด้วย
แหล่งจ่ายไฟ ใช้ไอซีสะดวกในการใช้งาน ประสิทธิภาพสูง มีการใช้มากขึ้น