ไตรแอกและเอสซีอาร์ ตอนที่ 1
ไตรแอกและเอสซีอาร์เป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทำ หน้าที่เป็นโซลิดสเตตสวิตช์ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการควบคุม การจ่ายกำลังไฟให้แก่อุปกรณ์หรือวงจรได้ทั้งแบบ ไฟสลับและไฟตรง ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงการทำงานภายในและการนำไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ
รูปที่ 1 ก. สัญลักษณ์ 1 ข. วงจรเสมือน 1 ค. ตัวอย่างการใช้เอสซีอาร์จ่ายไฟตรงให้โหลด
ทั้งเอสซีอาร์และ ไตรแอกเป็นอุปกรณ์ที่เรียกรวม ๆ ว่าไทริสเตอร์ (thyristor) เอสซีอาร์เป็นคำย่อมาจากคำว่า Silicon Controlled ภายในของเอสซีอาร์ประกอบด้วย ชั้นของสารกึ่งตัวนำ 4 ชั้นที่ประกบตอดกันอยู่ (PNPN) โดยสัญลักษณ์ที่ใช้ และวงจรเสมือนภายในได้แสดงไว้ในรูปที่ 1 ก. และ 1 ข. ตามลำดับ ในวงจรเสมือนนี้จะเห็นได้ว่า ประกอบขึ้นด้วยทรานซิสเตอร์ 2 ตัว Q1 เป็นแบบ NPN ที่รับการแสเบสจากคอลเลคเตอร์ของ Q2 ที่เป็น PNP ในทำนองเดียวกัน Q2 ก็รับกระแสเบส มาจากคอลเลคเตอร์ของ Q1 เช่นกัน ส่วนหลักการทำงานที่ทำให้เอสซีอาร์ สามารถทำหน้าที่เป็นสวิตช์ได้นั้นจะขอกล่าวถึงในภายหลัง
ในรูปที่ 1 ค. แสดง ถึงวงจรแบบพื้นฐานในการใช้งานของเอสซีอาร์ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ควบคุมกำลังไฟ ตรงที่จะป้อนให้แก่โหลด การทำงานของวงจรเป็นดังนี้ เมื่อป้อนไฟให้แก่เอสซีอา ร์โดยปิดวงจรสวิตช์ S1 เอสซีอาร์จะยังไม่ทำงาน คือจะยังไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านตัวมัน เนื่องจากยังไม่มีสัญญาณทริกเกอร์เพื่อไปกระตุ้นที่ขาเก ต
ขอให้ย้อนกลับไปดูวงจรในรูป 1 ข. ขาเบสของ Q1 จะต่ออยู่กับขาแคโทรภายนอก โดยมี R1 และ R2 ต่ออนุกรมอยู่ ดังนั้น Q1 จึงยังไม่ทำงาน เนื่องจากยังไม่มีกระแสเบส ซึ่งเป็นผลทำให้ Q2 ไม่ทำงานด้วย จะมีก็แต่กระแสรั่วไหลเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ระหว่างขั้วแอโนดและแคโทด การที่จะทำให้เอสซีอาร์เกิดการนำกระแสขึ้นได้นั้น สามารถทำได้โดยการป้อนกระแสบวกให้แก่เกต นั่นคือทำการปิดวงจรสวิตช์ S2 ในวงจรรูปที่ 1 ค. จะทำให้เอสซีอาร์นำกระแสใน ทันที
การที่จะทำให้เอสซีอาร์นำกระแสได้นั้น ค่ากระแสที่ป้อนให้แก่ขาเกตต้องมากพอที่จะทำ ให้ทรานซิสเตอร์ Q1 ทำงาน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นการป้อนกระแสให้แก่ขาเบสของ Q2 ทำให้ Q2 ทำงานเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน Q2 ก็จะป้อนกระแสกลับมาให้แก่ขาเบสของ Q1 จึงเกิดเป็นการป้อนกระแสกลับไปกลับมาทำให้ Q1 และ Q2 ทำงานต่อไปได้เรื่อย ๆ
หลังจากที่เอสซีอาร์เริ่มทำงานแล้วนั่นคือ การยอมให้กระแสไหลผ่านตัวมันเอสซีอาร์นั้น ก็จะสามารถคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนั้นได้ แม้ว่าจะหยุดการป้อนกระแสให้แก่ขาเกต แล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากการป้อนกระแสกลับไปกลับมาระหว่าง Q1 และ Q2 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น กระแสที่ป้อนให้แก่ขาเกตนั้น จึงเป็นเพียงพัลส์ที่ไปกระตุ้นให้เอสซีอาร์เกิดการทำงาน ขึ้น และคงสภาพการทำงานเช่นนั้นต่อไป
ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติที่สำคัของเอสซีอาร์ที่ นิยมใช้
R1 และ R2 ที่ต่อในวงจรในรูปที่ 1 ข. นั้น เป็นตัวที่ทำให้ไม่สามารถที่จะทำการหยุดการทำงานของเอสซีอาร์นี้ลงได้ แม้ว่าจะให้ไบแอสกลับแก่ขาเกตและแคโทดก็ตาม
การหยุดการทำงานของเอสซีอาร์นี้จะทำได้เพียงทางเดียวเท่านั้น คือลดค่ากระแสที่ไหลผ่านแอโนดลง จนต่ำกว่าค่าที่เรียกว่า กระแสโฮลดิ้ง (holding current) หรือ เรียกว่า Ih และในกรณีที่เอสซีอาร์ถูกใช้งานโดยการป้อนกระแสสลับผ่านตัวมัน การหยุดทำงานของมันจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อค่าแรงดันไฟสลับที่ให้นั้นใกล้กับจุดที่เรียกว่า "จุดตัดศูนย์" (Zero-crossing point) ซึ่งจะเกิดขึ้นทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับที่ให้แก่วงจรนั้น
การทำงานของเอสซีอาร์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงโดยทฤษฎีเท่านั้น แต่ในทาปฏิบัติแล้วบางครั้งเอสซีอาร์จะมีการทำงานผิดพลาดเกิดขึ้น นั่นคือ แม้ว่าจะไม่ได้ป้อนสัญญาณทริก ให้แก่ขาเกตเอสซีอาร์ก็เกิดการนำกระแสขึ้นระหว่างแอโนดและเกตของเอสซีอา ร์นั่นเอง
ในกรณีที่แรงดันที่ให้แก่แอโนดนั้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ๆ ความจุไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น จะเป็นตัวส่งผ่านสัญญาณบางส่วนของการเพิ่มขึ้นของแรงดันนั้นให้แก่เกตภายใน ซึ่งจะเป็นตัวทริกให้เอสซีอาร์นั้นเกิดการนำกระแสขึ้นได้ ปรากฏการณ์นี้ทางเทคนิคจะเรียกว่า rate effect โดย ปกติปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากมีทรานเซี้ยนต์ขึ้นในแหล่งจ่าย ทรานเซี้ยนต์ที่ว่านี้ก็คือการที่แหล่งจ่ายนั้นเกิดมีพัลส์ขนาดสูงเกิดขึ้น เป็นช่วงบางขณะ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุมาต่อ เป็นวงจรกรองความถี่สูงผ่าน คร่อมระหว่างขาแอโนดและแคโทด
สิ่งที่กล่าวมาข้างตันเป็นเพียงหลักการทำงานพื้นฐานของเอสซีอาร์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นอุปกรณ์ ที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่าย ๆ แต่ข้อสำคัญคือการเลือกใช้เอสซีอาร์ ให้เหมาะกับงานที่ต้องการซึ่งจะพบว่าในการเลือกใช้เอสซีอาร์แต่ละเบอร์นั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละเบอร์ เช่นค่าแรงดันและกระแสสูงสุดที่จะทนได้ ค่าความไวของเก ตและค่ากระแสโฮลดิ้ง ในตารางที่ 1 ได้แสดงถึงคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ของเอสซีอาร์เบอร์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้ โดย PIV คือค่าแรงดันสูงสุดที่จะทนได้, Vgt / Igt คือแรงดัน / กระแสที่ใช้ ในการทริกที่เกตและ Ih คือ กระแสโฮลดิ้ง
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของเอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟตรง
เอสซีอาร์นี้ สามารถนำไปใช้ในการควบคุมระบบไฟได้ทั้งแบบไฟสลับและไฟตรง ก่อนอื่นเราจะมาดูกันในตัวอย่างง่าย ๆ ที่ควบคุมไฟตรงมีอยู่ 2 วิธี ในการใช้งานเอสซีอาร์ เพื่อการควบคุมการจ่ายไฟให้แก่โหลด โดยใช้สวิตช์กดเป็นตัวควบคุม ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 โหลด ในที่นี้เป็นหลอดไฟ 12 โวลต์ ทั้วไป จากวงจรทั้งสองนี้ เอสซีอา ร์จะเริ่มทำงานเมื่อสวิตช์ S1 ถูกกดลง (กดแล้วปล่อย) ดังนั้น จะเป็นการป้อนกระแสให้แก่เกตโดยผ่าน R1 เพื่อทำให้เอสซีอาร์เริ่มทำงาน ทั้ง สองวงจรนี้ มีการต่อขาเกตเข้ากับแคโทด โดยผ่าน R2 เพื่อปรับปรุงให้วงจรมีความเสถียรมากขึ้น
รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างการใช้งานของเอสซีอาร์ โดยมีสวิตช์เปิดและแยกกัน
เนื่องจากเมื่อเอสซีอาร์เริ่มทำงานแล้ว ทางเดียวเท่านั้นที่จะหยุดการทำงานลงได้ ก็โดยการลดค่ากระแสแอโนดให้ต่ำกว่าค่า Ih ของมัน แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็พอ ดังนั้น จากรูปที่ 2 ก. เอสซีอาร์จะ หยุดการทำงานก็ต่อเมื่อสวิตช์ S2 ถูกเปิดวงจรออกชั่วขณะหนึ่ง ส่วนในรูปที่ 2 ข. สามารถทำได้โดยปิดวงจรสวิตช์ S2 ซึ่ง เป็นการทำให้แอโนดและแคโทดถูกต่อเข้าด้วยกันในชั่วขณะหนนึ่ง ก็จะทำให้เอสซีอาร์หยุด การทำงานได้เช่นกัน
รูปที่ 3 การหยุดการทำงานของเอสซีอาร์โดยใช้ตัวเก็บประจุ C1
วงจรในรูปที่ 3 ได้แสดงถึงอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้เอสซีอาร์หยุด ทำงานลงได้ ตัวเก็บประจุ C1 จะถูกประจุให้มีแรงดันคร่อมตัวมัน มีค่าเท่ากับแรงดันที่ให้ โดยกระแสที่ผ่านความต้านทาน R3 และเมื่อเวลาต่อมาสวิตช์ S2 ถูกเปิดวงจรลง ซึ่งจะเป็นการดึงแรงดันที่ขั้วบวกของ C1 ให้เป็นกราวด์ เมื่อเป็นเช่นนั้น อีกขั้วหนึ่งของ C1 ก็จะมีแรงดันเป็นลบในทันที และขั้วด้านนี้ได้ถูกต่ออยู่กับขาแอโนดของเอสซีอาร์ จึงทำให้แรงดันที่ขาแอโนดเป็นลบในชั่วขณะหนึ่งจนกว่า C1 จะคายประจุออกหมด ซึ่งในช่วงเวลานี้จะเป็นการไบแอสกลับให้แก่เอสซีอาร์ ทำให้เอสซีอาร์นี้หยุดทำงานลงได้ ช่วงเวลาที่มีการไบแอสกลับจะประมาณ 2 - 3 x 10 - 6 วินาที ซึ่งก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการหยุดทำงานขึ้นได้แต่ข้อควรระวังคือ C1 ที่ใช้นั้นจะต้องเป็นตัวเก็บประจุแบบที่ไม่มีขั้วเท่านั้น
รูปที่ 4 วงจรที่ดัดแปลงจากรูปที่ 3 โดยใช้ SCR2 แทนตำแหน่งสวิตช์ S2
การออกแบบวงจรที่ใช้ตัวเก็บประจุเป็นตัวช่วยในการหยุดการทำงานของ เอสซีอาร์นี้ สามาถทำได้อีกวิธีหนึ่งดังแสดงวงจรไว้ในรูปที่ 4 ขอให้สังเกตว่า ใช้ SCR2 แทนสวิตช์ S2 เมื่อเทียบกับในรูปที่ 3 โดย SCR1 จะหยุดการทำงานในทันที ที่ SCR2 เริ่มทำงานโดยใช้สวิตช์ S2 และ SCR2 นี้จะหยุดทำงานหลังจากที่สวิตช์ S2 ถูกปล่อยออก เนื่องจากว่ากระแสแอโนดที่ให้แก่ SCR2 โดยผ่าน R3 นั้นมีค่า ต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของมัน
รูปที่ 5 วงจรฟลิปฟลอป โดยใช้เอสซีอาร์
ในรูปที่ 5 เป็นการดัดแปลงวงจรมาจากรูปที่ 4 โดยให้ทำหน้าที่ เป็นวงจรฟลิปฟลอปในการขับหลอดไฟ 2 ดวง โดยมีการทำงานดังนี้ สมมติว่า SCR1 กำลังทำงานอยู่ SCR2 จะไม่ทำงาน ดังนั้น C1 จะถูกประจุจนเต็มโดยผ่านหลอดไฟ L2 ซึ่งต่ออยู่กับไฟบวก
สถานะของการทำงานของวงจรจะถูกเปลี่ยนไปเมื่อสวิตช์ S2 ถูกกดลงโดย SCR2 จะทำงานส่วน SCR1 จะหยุดทำงาน เนื่องจากผลของตัวเก็บประจุที่ต่ออยู่ที่ขาแอโนดนั่นเอง ในขณะเดียวกัน C1 จะถูกประจุใหม่ให้เต็มโดยผ่านหลอด ไฟ L1 และเมื่อกดสวิตช์ S1 การ ทำงานจะถูกกลับมาเป็นเดิมอีกโดย SCR2 จะหยุดทำงาน เนื่องจากผลของ C1 เช่นกัน
รูปที่ 6 การใช้เอสซีอา ร์ ในการควบคุมการทำงานของบัซเซอร์ โดยจะทำงานเฉพาะในช่วงที่กดสวิตช์ S1 เท่านั้น
นอกจาการใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมทำงานของโหลดที่เป็นหลอดไฟดัง ตัวอย่างที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นเรายังสามารถนำมาใช้ ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ประเภทอื่น เช่นดังตัวอย่างในรูปที่ 6 โดยโหลดในที่นี้จะเปลี่ยน เป็นบัซเซอร์ หรืออาจจะเป็นวงจรอะไรก็ได้ ที่มีลักษณะของการตัดการทำงานภายในตัวเองอยู่ตลอดเวลาเช่นกระดิ่งไฟฟ้า เป็นต้น วงจรเหล่านี้จะทำงานเฉพาะในช่วงที่มีการกดสวิตช์ S1 เท่านั้น
จุดสังเกตอยู่ที่ว่าโหลดประเภทนี้จะทำหน้าที่เหมือนกับมีสวิตช์ ที่มีการเปิด / ปิดวงจรให้ตัวมันเองอยู่ตลอดเวลาดังนั้น เมื่อต่อโหลดประเภทนี้ลงไปในวงจรดังรูปที่ 6 แล้ว วงจรจะไม่สามารถคงสภาพการทำงานเรื่อย ๆ ไปได้อย่างปกติทั่วไป โดยจะมีการทำงานก็เฉพาะในช่วงที่มีการกดสวิตช์ S1 เท่านั้น และเนื่องจากโหลดชนิด นี้มีลักษณะ เป็นตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องต่อไดโอด D1 คร่อมตัวมันอยู่ เพื่อลดแรงดันย้อนกลับที่เกิดขึ้น
รูปที่ 7 วงจรที่ดัดแปลงมาจากรูปที่ 6 ให้สามารถคงสภาพการทำงานอยู่ได้ โดยใช้กระแสที่ไหลผ่านความต้านทาน R3
วงจรนี้สามารถดัดแปลงให้มีความสามารถในการคงสภาพการทำงานได้ เหมือนเดิม โดยต่อความต้านทาน 470 โอห์ม ขนานกับโหลด ดังในวงจรรูปที่ 7 ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ กระแสแอโนดไม่ได้หยุดไหล ในขณะที่มีการตัดการทำงานภายในของโหลดประเภท นี้ แต่จะมีปริมาณกระแสขนาดหนึ่ง ที่ไหลต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาโดยผ่านความต้านทาน R3 ที่ ใส่เพิ่มลงไป ดังนั้น เมื่อกดสวิตช์ S1 แล้ว วงจรจะคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะกดสวิตช์ S2 ซึ่งเป็ฯ การเปิดวงจรของส่วนกระแสที่ไหลผ่าน R3 การทำงานจึงหยุดลงได้
รูปที่ 8 วงจรที่แสดงให้เห็นถึงผลของ rate - effect ที่ทำให้เอสซีอาร์ เกิดการทำงานขึ้นได้เอง โดยไม่มีสัญญาณทริกที่ขาเกต
วงจรสุดท้ายของการยกตัวอย่างใช้เอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟตรงได้แสดงไว้ในรูปที่ 8 เป็นวงจรที่แสดงถึงผลของ rate - effect ที่ ทำให้เอสซีอาร์เกิด การทำงานขึ้นได้เอง ในขณะที่ไม่มีการป้อนสัญญาณทริก เกอร์ให้แก่เกต
ในวงจรนี้กำหนดให้เอสซีอาร์ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายให้แก่โหลดที่ เป็นหลอดไฟขนาด 3 โวลต์ที่ต่ออยู่ที่ขาแอโนด โดยมีแหล่งจ่ายแรงดันขนาด 4.5 โวลต์ ผ่านสวิตช์ S1
ขอให้สังเกตว่าแหล่งจ่ายนี้ได้ถูกกำหนดให้จ่ายกระแสให้แก่กระดิ่ง ไฟฟ้าขนาด 4.5 โวลต์ด้วย โดยผ่านสวิตช์ S3 กระดิ่ง ไฟฟ้านี้เป็นตัวสร้างหรือทำให้เกิดทรานเซี้ยนต์ ขึ้นในสายของแหล่งจ่ายซึ่งก็จะส่งผลไปยังแอโนดของเอสซีอาร์ด้วย ผลของทรานเซี้ยนต์ที่เกิดขึ้นนี้จะมีผลทำให้เอสซีอาร์เกิดการนำกระแสขึ้นได้ แม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณทริกให้แก่เกต
ทรานเชี้ยนต์ที่ทำให้เกิด rate - effect นี้จะต้องมีค่าอัตราการเพิ่มของแรงดัน (rate - of - rise value) ประมาณอย่างน้อย 20 โวลต์ / ไมโครวินาทีการแก้ความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นนี้ สามารถใช้ R2 และ C1 ซึ่งต่ออยู่ในวงจรดังรูป โดยมีสวิตช์ S2 ควบคุม
การแสดงให้เห็นถึงผลของ rate - effect นี้ สามารถทำได้โดยเปิดวงจรสวิตช์ S2 ปิดวงจรสวิตช์ S1 จะเห็นว่าเอสซีอาร์จะ ยังไม่ทำงาน แต่เมื่อกดสวิตช์ S3 เพื่อจ่ายกระแสให้แก่กระดิ่ง เมื่อกระดิ่งไฟฟ้าทำงานผลก็คือ เอสซีอาร์จะเริ่มทำงานด้วย และหลอดไฟจะติดสว่าง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากทรานเซี้นนต์ที่สามารถทริกให้เอสซีอาร์ เกิดการทำงานและจะคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนี้ แม้จะปล่อยสวิตช์ S3 แล้วก็ตาม
ต่อไปขอให้ลองดูอีกครั้งหนึ่งโดยปิดสวิตช์ S2 และ S1 แล้วกดสวิตช์ S3 เพื่อให้กระดิ่งไฟฟ้าทำงานขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่า เอสซีอาร์ไม่ เกิดการทำงานขึ้นอย่างใน การทดสอบครั้งแรก เนื่องจากผลของความต้านทานของโหลด คือหลอดไฟรวมกับ R2 และ C1 จะ ทำหน้าที่เป็นวงจรลดอัตราการเพิ่มของแรงดันที่แอโนด เนื่องจากทรานเซี้ยนต์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นการป้องกันไม่ให้เอสซีอาร์เกิดการทำงานผิดพลาด
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของเอสซีอาร์ในการควบคุมระบบไฟสลับ
รูปที่ 9 การใช้เอสซีอา ร์ในการควบคุมระบบไฟสลับ เพื่อใช้ขับโหลด ในลักษณะครึ่งคลื่น
ในรูปที่ 9 เป็นวงจรจ่ายแรงดันแบบครึ่งคลื่น เพื่อใช้ขับโหลด ที่เป็นหลอดไฟขนาด 100 วัตต์ โดยใช้ไฟย้าน เมื่อสวิตช์ S1 เปิดออก จะไม่มีสัญญาณทริกให้แก่เกต ดังนั้นเอสซีอาร์และ หลอดไฟจะไม่ทำงาน แต่เมื่อสวิตช์ S1 ถูกปิดลงในช่วงของครึ่งรูปคลื่น ทางลบ เอสซีอาร์จะ ถูกไบแอสกลับ และสัญญาณที่จะไปทริกที่เกตุถูกกั้นไว้โดยได โอด D1 ดังนั้นเอสซีอาร์จะไม่ทำงาน ส่วนในช่วงครึ่งรูปคลื่นทางบวก เอสซีอาร์และ D1 จะถูกไบแอสตรง ดังนั้น วงจรทั้งหมดจะทำงาน
แต่ก็ให้สังเกตว่าหลังจากที่เอสซีอาร์ทำงานได้เพียงชั่วขณะหนึ่ง แรงดันที่ขาแอโนดจะตกลงใกล้ศูนย์ นั่นคือไฟสลับกำลังจะเปลี่ยนเป็นครึ่งรูปคลื่นทางลบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการหยุดการทริกที่เกต เนื่องจากแรงดันที่เกตมีค่าต่ำเกินไปที่จะทริกได้ แต่เอสซีอาร์ก็จะยังคงสภาพการทำงานต่อไป จนกระทั่งกระแสแอโนดมีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของ มัน หลังจากนั้นเอสซีอา ร์จะหยุดทำงาน และจะเริ่มทำงานใหม่ ในช่วงจังหวะของครึ่งรูปคลื่นทางบวกลูกต่อไป และเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าโหลด จะขับให้ทำงานเพียงครั้งรูปคลื่นเท่านั้น
การใช้เอสซีอา ร์ในการควบคุมระบบไฟบ้านหรือไฟสลับนี้ สามารถนำไปใช้ขับโหลดในลักษณะเต็มรูปคลื่นได้เช่นกันดังวงจรในรูปที่ 10 และ 11 ซึ่งทำได้ 2 วิธีด้วยกัน ในวงจรดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไฟสลับได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นไฟตรงแบบเต็มคลื่นที่ ไม่เรียบโดยใช้ไดโอด 4 ตัวต่อเป็นวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ และนำไฟตรงที่ได้นี้ป้อนให้แก่เอสซีอาร์ เมื่อสวิตช์ S1 เปิดวงจรเอสซีอาร์จะ ไม่ทำงาน ดังนั้นจะไม่มีกระแสไหลผ่านวงจรบริดจ์และโหลด แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลง เอสซีอาร์ก็จะถูกกระตุ้นให้ทำงาน เมื่อช่วงครึ่งรูปคลื่นแรกของไฟตรงที่ได้นั้นเข้ามา ในลักษณะนี้โหลดจะถูกขับด้วยลักษณะเต็มรูปคลื่น
รูปที่ 10 การใช้เอสซีอา ร์เพื่อควบคุมระบบไฟสลับ และขับโหลดใน ลักษณะเต็มคลื่น
ในรูปที่ 10 จะเห็นว่า โหลดถูกนำไปต่ออยู่ ด้านที่เป็นไฟตรงของวงจรบริดจ์ และมีฟิวส์ต่ออยู่ด้านที่เป็นไฟสลับเพื่อป้องกันการลัดวงจรที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ในวงจรนั้น แต่ในรูปที่ 11 โหลดจะถูกนำไปต่ออยู่ด้านที่เป็นไฟ สลับแทนวงจรนี้ไม่จำเป็นต้องมีฟิวส ์เนื่องจากโหลด เอง จะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันกระแสเกินไปในตัว
รูปที่ 11 การดัดแปลงวงจรจากรูปที่ 10 โดยให้โหลดต่ออยู่ด้านไฟสลับของวงจรบริดจ์
เอสซีอาร์นี้ยังสามารถนำมาต่อขนานกันในลักษณะกลับขั้วกัน ได้ นั่นคือแอโนดชนแคโทด เพื่อนำไปใช้งานในการควบคุมให้สามารถขับโหลดได้ในลักษณะเต็มคลื่นโดย ที่ไม่ต้องใช้วงจรบริดจ์ แต่วิธีดังกล่าวนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการ ทำงานตามต้องการนี้ได้นั่นคือ ไตรแอก
ทฤษฎีพื้นฐานของไตรแอก
ลักษณะโครงสร้างของไตรแอกนี้เหมือนกับการนำเอาเอสซีอาร์ 2 ตัวมาต่อขนานกันในลักษณะกลับขั้ว ส่วนขาเกตต่อร่วมเข้าด้วยกัน ดังนั้นไตรแอกจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม ระบบไฟได้ทั้งแบบไฟตรง และไฟสลับ นั้นคือความสามารถในการนำกระแสได้ทั้งสองทิศทาง โดยการทริกที่เกตนั้นก็สามารถ กระทำได้ทั้งสองทิศทางเช่นกัน
รูปที่ 12 ก. สัญญลักษณ์ของไตรแอก 12 ข. การใช้งานพื้นฐาน
ในรูปที่ 12 ก และ 12 ข แสดงถึงสัญลักษณ์และการใช้งานแบบพื้นฐานของไตรแอก โดยทำหน้าที่คล้ายกับสวิตช์ของแหล่งจ่ายไฟสลับ โหลดจะถูกต่ออยู่ที่ขั้วด้านหนึ่ง ของไตรแอก ส่วนสวิตช์ S1 ใช้ป้อนสัญญาณทริกให้เกต ต่อไปจะขอกล่าวถึงคุณสมบัติพื้นฐานเป็นข้อของไตรแอกซึ่งมีดังนี้
1. โดยปกติ ถ้าไม่มีสัญญาณทริกที่เกต ไตรแอกจะไม่ทำงานโดยจะมีลักษณะเหมือนกับสวิตช์ที่ถูกเปิดวงจร
2. ถ้าในกรณีที่ MT2 และ MT1 ถูกป้อนด้วยแรงดันบวกและลบตามลำดับไตรแอกจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน ได้โดยการป้อนสัญญาณพัลส์เพียงสั้น ๆ ที่เกตของมัน ไตรแอกใช้เวลาเพียง 2 - 3 x 10 - 6 วินาทีเท่านั้นในการทำเริ่มทำงานในขณะที่ไตรแอกทำงานนั้น จะมีแรงดันตกคร่อมตัวมัน มีค่าประมาณ 1 หรือ 2 โวลต์ เท่านั้น และก็เช่นกันคือเมื่อไตรแอกเริ่มทำงานแล้ว ก็จะสามารถคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนั้นต่อไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังมีกระแสไหลผ่านตัวมันอย่างต่อเนื่อง
3. หลังจากที่ไตรแอกคงสภาพการทำงานอยู่นั้น ทางเดียวที่จะหยุดการทำงานลงได้ ก็โดยการลดปริมาณกระแสที่ไหลผ่านตัวมันลง ให้มีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของมัน ในกรณีที่ใช้ไตรแอกในการจ่ายกระแส AC การหยุดทำงานจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อแรงดันของไฟสลับเข้าใกล้จุดตัดศูนย์ที่เกิดขึ้น ทุก ๆ ครึ่งคลื่น นั่นคือกระแสจะลดลงเป็นศูนย์
4. ไตรแอกถูกกระตุ้นให้ทำงานได้ ทั้งสัญญาณแบบบวกและลบที่ป้อนให้แก่ขาเกต โดยไม่คำนึงถึงขั้วที่ต่ออยู่ที่ MT1 และ MT2 ดังนั้น การทำงานของไตรแอกนี้จะมีอยู่4 โหมดเมื่อเปรียบเทียบกับขั้วแรงดันที่ป้อนให้แก่ขาต่าง ๆ ของมัน ข้อแตกต่างกันเล็กน้อยของการทำงานในโหมดต่าง ๆ คือในกรณีของโหมดที่ขั้วแรงดันที่ให้แก่ขา MT2 และเกตเหมือนกัน (ทั้ง บวกและลบ) จะทำให้มีค่าความไวที่เกตสูงขึ้น
5. ไตรแอกสามารถทนการกระชากของกระแสได้สูง เช่นโดยปกติสำหรับไตรแอกที่ทนกระแสปกติได้ 10 แอมแปร์ (rms) สามารถทน การกระชากของกระแสในช่วงหนึ่ง คาบเวลาของไฟ 60 เฮิรตซ์ได้สูงถึง 100 แอมแปร์ เป็นต้น
ตารางที่ 2 แสดงคุณสมบัติที่สำคัญของไตรแอกที่นิยมใช้
ในตารางที่ 2 แสดงถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญของไตรแอกที่นิยมใช้กันมาก จากคุณสมบัตินี้จะช่วยให้เลือกใช้ไตรแอกได้เหมาะกับงานที่ต้องการต่อไปจะได้ มาดูกัน ถึงการใช้งานอย่างง่าย ๆ ของไตรแอก
ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของไตรแอก
รูปที่ 13 การใช้งานไตรแอก โดยหม้อแปลง T1 เป็นตัวจ่ายแรงดันทริกให้กับเกต
วงจรในรูปที่ 13 เป็นการนำเอาไตรแอกมาใช้งานเป็นสวิตช์ควบคุมไฟสลับ โดยมีการทริกที่เกตเป็นแบบไฟตรงซึ่งได้มาจากทรานส์ฟอร์เมอร์ T1 เมื่อสวิตช์ S1 เปิดวงจรอยู่จะไม่มีกระแสไหลผ่านเข้าไปที่เกต ดังนั้นจึงทำให้ไตรแอกไม่ทำงาน แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลงก็จะเป็นการทริกเกต ทำให้ไตรแอกเริ่มนำกระแส ดังนั้นโหลดก็จะทำงาน ในกรณีของโหลดที่เป็นแบบตัวเหนี่ยวนำเช่น มอเตอร์ จำเป็นที่จะต้องใช้ R2 และ C2 ลงไปใช้ในวงจรด้วยเพื่อป้องกันผลของ rate - effect ที่ อาจเกิดขึ้นได้
รูปที่ 14 วงจรที่ดัดแปลงจากรูปที่ 13 โดยใช้ UJT เป็นตัวกำเนิดความถี่ที่ใช้ป้อนเป็นสัญญาณทริกให้เกต
จากวงจรนี้จะเห็นได้ว่าอีกด้านหนึ่งของทรานส์ฟอร์ เมอร์ T1 ต่ออยู่กับไฟสลับ ดังนั้นจึงอาจเกิดอันตรายขึ้นได้จึงดัดแปลงวงจรโดยใช้ UJT เข้าช่วยดังรูปที่ 14 ในขณะที่ S1 ถูกปิดอยู่ UJT จะทำหน้าที่กำเนิดความถี่สูงเป็นหลาย ๆ กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีพัลส์ที่ทริกแก่เกต 50 ลูกในทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับ ดังนั้นไตรแอกจะถูกกระตุ้นให้ทำงานเกือบจะเป็นทันทีที่ปิดวงจรสวิตช์ S1 และก็จะเป็นการจ่ายพลังงานเต็มที่ให้แก่โหลดด้วย ตลอดในช่วงที่ S1 ยังปิดวงจรอยู่
รูปที่ 15 วงจรแบบพื้นฐานที่สุดในการใช้งานไตรแอก
ในรูปที่ 15 แสดงถึงการที่ไตรแอกสามารถทำงานเป็นสวิตซ์ ที่ใช้ควบคุมการจ่ายกระแสโหลดแบบที่ง่ายที่สุดโดยเมื่อสวิตซ์ S1 เปิดวงจรอยู่ ไตรแอกและโหลดจะไม่ทำงาน แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลง ที่จุดเริ่มต้นของทุก ๆ ครึ่งตามของสัญญาณไฟสลับที่ให้นั้นไตรแอกจะยังไม่นำกระแส แต่หลังจากนั้นเพียงเล็กน้อยแรงดันที่ขาเกต ก็มีค่าสูงพอที่จะทำให้ไตรแอกเริ่มนำกระแสได้ ดั้งนั้น หลอดไฟจะติดสว่าง และไตรแอกจะหยุดทำงานลงอีก เมื่อแรงดันของสัญญาณไฟสลับเข้าใกล้จุดตัดศูนย์อีกครั้ง แล้วก็จะเริ่มทำงานใหม่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ แต่สำหรับโหลดที่เป็นหลอดไฟแล้ว จะไม่รู้สึกว่ามีการติด / ดับสลับกัน เนื่องจากช่วงที่ไตรแอกไม่นำกระแสนั้นสั้นมาก
วงจรในรูปที่ 15 นี้สามารถดัดแปลงให้มีการจ่ายไฟให้แก่โหลด ในลักษณะที่เป็นครึ่งคลื่นได้อย่างง่าย ๆ โดยใส่ไดโอดลงไประหว่าง S1 และ R1 ในวงจร ขั้วของไดโอดที่ใส่ลงไปนั้น จะเป็นตัวกำหนดว่าสัญญาณครึ่งคลื่นของไฟสลับที่จะจ่ายให้แก่โหลดนั้นเป็น ซีกบวกหรือลบ
การควบคุมกำลังไฟแบบเฟสทริก เกอร์
จากตัวอย่างของการใช้งานเอสซีอาร์ และไตรแอกที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนี้เป็นการใช้งานในลักษณะเป็นสวิตช์ เปิด / ปิด การจ่ายไฟให้แก่โหลด ต่าง ๆ แต่ความจริงแล้วการใช้งานสามารถขยายออกไปได้อีกมาก เช่น ใช้เป็นวงจรหรี่ความสว่างของหลอดไฟ หรือเป็นวงจรควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เป็นต้นซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นการใช้งานควบคุมกำลังไฟ ที่จะจ่ายให้แก่โหลดในระบบที่เรียกว่าเฟส - ทริก เกอร์
หลักการของวงจรที่มีลักษณะเป็นเฟส - ทริกเกอร์นี้ใช้ไตรแอกเป็นตัวควบคุมกำลังไฟที่จ่ายให้แก่โหลด โดยแทนที่จะทริกขา เกตด้วยสัญญาณไฟตรงนั้นตรง ๆ ก็ทริกโดยมีการหน่วงของเฟสด้วยวง จรอีกส่วนหนึ่ง
รูปที่ 16 การเปลี่ยนแปลงค่าของกำลังไฟฟ้าที่ป้อนให้แก่โหลด โดยกำหลดได้จากตำแหน่งเวลาของการทริกที่ให้แก่ไตรแอก
การหน่วงเฟสมีผลดังนี้คือ ถ้าไตรแอกถูกทริกที่ตำแหน่งเฟส 10 องศาหลังจากที่ทุก ๆ ครึ่งรูปคลื่นเริ่มเข้ามากำลังไฟเกือบทั้งหมดก็จะถูกป้อนให้แก่โหลด แต่ถ้าการทริกที่ตำแหน่งเฟส 90 องศา หลังจากทุก ๆ ครึ่งคลื่นเริ่มเข้ามา จะทำให้กำลังไฟที่ป้อนให้แก่โหลดนั้น ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของกำลังทั้งหมด และถ้าไปทริกที่ ตำแหน่งเฟส 170 องศา หลังจากที่ทุก ๆ ครึ่งรูปคลื่นเข้ามาแล้ว จะมีเพียงกำลังไฟส่วนน้อยเท่านั้นที่ป้อนให้แก่โหลด ขอให้ดูรูปที่ 16 ประกอบ จะเข้าใจได้ยิ่งขึ้น
มีหลาย ๆ วิธีที่สามารถควบคุมตำแหน่งเฟสที่ ต้องการทริก แต่ที่นิยมกันมากมีอยู่ 3 วิธีคือการใช้ UJT, ไอซีที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานนี้ โดยเฉพาะหรือไดแอก (Diac) รวมกับวงจร ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ แต่โดยทั่ว ๆ ไปมักจะใช้ไดแอกดังแสดงไว้ในรูปที่ 17
ไดแอกทำหน้าที่คล้ายกับสวิตช์ที่ทำงานเมื่อแรงดันที่ตกคร่อมตัว มันสูงถึงค่าที่กำหนดไว้ และยอมให้กระแสไหลผ่านได้ทั้งสองทิศทาง เมื่อนำไดแอกไปต่อคร่อมเข้ากับ วงจรจ่ายแรงดัน มันจะมีค่าความต้านทานสูงมาก จนกระทั่งแรงดันที่ให้มีค่าประมาณ 35 โวลต์ ที่จุดนี้มันจะเปลี่ยนสภาพตัวเองให้มีค่าความต้านทานต่ำในทันที และจะคงสภาพ อยู่เช่นนั้น จนกระทั่งแรงดันที่ให้ลดลงต่ำกว่า 30 โวลต์ จึงเปลี่ยนกลับไปเป็นความต้านทานสูงอย่างเดิม
รูปที่ 17 การใช้ไดแอกและ RC เป็นตัวควบคุมตำแหน่ง ของเฟสที่จะทริก
ในวงจรรูปที่ 17 จะเห็นว่าเมื่อทำการป้อนไฟสลับให้แก่วงจรแล้ว C1 จะ ถูกประจุขึ้นด้วยกระแสที่ไหลผ่าน R1 ทำให้แรงดันคร่อม C1 มีค่าเพิ่มขึ้น จนกระทั่งถึง 35 โวลต์ ที่จุดนั้นไดแอกจะนำกระแสจากการคายประจุของ C1 ซึ่ง เป็นการทริกให้ไตรแอกเริ่มทำงาน และจะคงสภาพอยู่เช่นนั้น จนกว่าสัญญาณไฟสลับมีแรงดันเข้าใกล้จุดตัดศูนย์ ที่จุดนี้ C1 จะเริ่มถูกประจุขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเกิดการทริกให้แก่ไตรแอกอีกครั้ง เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป
สังเกตค่าของ R1 และ C1 จะต้องมีค่าเหมาะสมที่จะทำให้ช่วงเวลาในการประจุให้ C1 มีแรงดันสูงถึงค่า 35 โวลต์ ในช่วงเวลาที่ไม่เกินครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับที่ให้ การเปลี่ยนแปลงเฟสของการทริก สามารถทำได้โดยปรับค่าของ VR1 จากการทำงานของวงจรนี้จะทำให้เราสามารถควบคุมกำลังไฟที่ ป้อนให้แก่โหลดได้ตามต้องการ ซึ่งถ้าโหลดเป็นไฟเราก็จะสามารถควบคุมความสว่างได้ตามต้องการนั่นเอง
สัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ
ในทุก ๆ ครั้งที่ไตรแอกเริ่มทำงานนั้น กระแสที่จ่ายให้แก่โหลดก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากศูนย์ไปยังค่าที่กำหนดจากความต้านทานภายในของโหลด และแรงดันที่ให้ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2 - 3 x 10 - 6 วินาที การเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดนี้ จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ หรือเรียกว่า RFI ขึ้น ค่า RFI ที่เกิดขึ้นนี้จะมีค่ามากที่สุดในตำแหน่ง ที่มีการทริกที่เฟส 90 องศา และมีค่าต่ำสุดที่ 0 องศา และ 180 องศา ในทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับที่ใช้
ในกรณีของวงจรหรี่ไฟนั้น อาจจะต้องใช้สายที่ต่อระหว่างวงจรกับโหลดยาวมาก ดังนั้น RFI จะ มีผลมากเนื่องจากสามารถกระจายคลื่นสัญญาณรบกวนได้ตลอดความยาวของสาย ดังนั้น ในทางปฏิบัติควรจะมีวงจรเรโซแนนซ์ที่ทำหน้าที่ลดสัญญาณ RFI นี้ต่ออยู่ด้วย
เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์
ในกรณีของโหลดที่ต้องการกำลังไฟสูง เช่นตัวกำเนิดความร้อนที่ใช้ไฟฟ้าโดยใช้ไตรแอกควบคุมการทำงาน จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดค่าของ RFI นี้ ถ้ากรณีที่ใช้ไตรแอกทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด / ปิดการทำงานเท่านี้ ผลของ RFI จะเกิดขึ้นทุก ๆ ครั้งที่มีการปิดวงจรสวิตช์ให้ระบบเริ่มทำ งาน และผลนี้จะมีค่ามากที่สุด ถ้าในขณะที่เปิดระบบให้ทำงานในช่วงจังหวะที่มีเฟสเป็น 90 องศาพอดี RFI นี้จะลดลงได้โดยใช้ เทคนิคของจุดตัดศูนย์เข้าช่วย ดังแสดงไว้ในวงจรรูปที่ 18
รูปที่ 18 การใช้ตัวตรวจจับการตัดศูนย์เป็นตัวทริกไตร แอกเพื่อลดผลของ RFI ให้ต่ำที่สุด
จากรูปจะเห็นได้ว่า R1, D1, D2 และ C1 ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟตรง 12 โวลต์ ที่ป้อนให้แก่วงจรตรวจจับการตัดศูนย์ ซึ่งจะต่อโดยตรงอยู่กับไฟสลับวงจร ตรวจจับการตัดศูนย์นั้นสามารถสร้างขึ้นได้โดยใช้ทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัว โดยจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ วงจรนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวป้อนสัญญาณพัลส์เพื่อทริกขาเกตของไตรแอก ในขณะที่สัญญาณไฟสลับที่ให้มีการตัดศูนย์เกิดขึ้นทุกครั้ง ดังนั้นการทริกจะเกิดขึ้นในจังหวะที่เฟสของ สัญญาณไฟสลับเป็น 0 องศา เท่านั้น จึงทำให้ RFI ที่เกิดขึ้นมีค่าน้อยที่สุด
เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์นี้ ใช้กับวงจรที่ต้องการปรับค่ากำลังไฟที่จะป้อนให้แก่โหลด ได้ เพื่อลดค่าของ RFI ลงได้เช่นกัน โดยเปลี่ยนสวิตช์ S1 ในรูปที่ 18 ไปเป็นวงจรสร้างสัญญาณพัลส์ที่ สามารถปรับอัตราส่วนของช่วงสัญญาณ ที่มีลูกคลื่นกับช่วงเว้นว่างได้ ดังนั้น โหลดจะได้รับไฟสลับเป็นช่วง ๆ ไป นั่นคืออาจจะได้รับ 4 ลูกคลื่นและเว้นไปอีก 4 ลูกคลื่นสลับกันเช่นนี้เรื่อย ๆ แต่ลูกคลื่นแต่ละลูกที่ได้รับจะเต็มลูกคลื่นเสมอ
รูปที่ 19 ตัวอย่างการแบ่งคาบเวลาการจ่ายไฟสลับให้แก่โหลด เป็นช่วง ๆ โดยมีความยาวช่วงละ 8 ลูกคลื่น
ในรูปที่ 19 แสดงลักษณะของไฟสลับที่ป้อนให้แก่โหลดในวิธี นี้ โดยในที่นี้จะแบ่งคาบเวลาของการจ่ายไฟสลับทั้งหมดเป็นช่วง ๆ ที่เท่า ๆ กัน ในแต่ละช่วงมี 8 ลูกคลื่น ถ้าไตรแอกถูกทริกให้นำกระแสเพียง 4 ลูกคลื่นและไม่นำกระแส 4 ลูกคลื่น นั่นก็หมายความว่าโหลดจะได้รับกำลังไฟเพียงครึ่งหนึ่งของไฟสลับทั้งหมด และถ้าถูกกำหนดให้ไตรแอก นำกระแสเพียงลูกคลื่นเดียวส่วนอีก 7 ลูกคลื่นไม่นำกระแส ก็หมายความว่าโหลดจะได้รับ กำลังไฟเพียง 1 ใน 8 ส่วนเท่านั้น แต่ขอให้สังเกตว่าจังหวะของการทริกให้ไตรแอกเริ่มมีเฟส 0 องศาเท่านั้นซึ่งก็จะ เป็นการลดผลของ RFI ที่จะเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถควบคุมกำลังไฟที่ป้อนให้แก่โหลดได้ตามต้องการ
จากสิ่งที่ได้กล่าวมาตั้งแต่จนจบนี้ เป็นเพียงหลักการทำงานและการใช้งานแบบพื้น ๆ ของเอสซีอาร์ และไตรแอกเท่านั้น ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบของเรื่องนี้จะได้ กล่าวถึงการใช้งานแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมาก