Donate

วันพฤหัสบดีที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553

ระบบควบคุมแบบ Feedback และการคำนวณ Stability

ระบบควบคุมแบบ Feedback และการคำนวณ Stability

บทนำ

ในปัจจุบันนี้ระบบควบคุมอัตโนมัติได้ เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากมายนัก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในชีวิตประจำวันได้แก่ระบบควบคุมในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งจะคอยควบคุมอุณหภูมิภายในห้องให้คงที่ ในอุตสาหกรรมได้มีการนำระบบควบคุมอัตโนมัติไปใช้ควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์, ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร และอื่นๆอีกมากมาย เทคโนโลยีทางด้านอวกาศและการผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ก็ได้มีการนำระบบควบคุมไป ใช้ในระบบนำวิถี, ระบบควบคุมการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เป็นต้น

image001[4]

รูปที่ 1

รูปที่ 1 แสดง ถึงโครงสร้างพื้นฐานของระบบควบคุม โดยผลลัพธ์ที่ออกทางเอาท์พุท (แทนโดยตัวแปร c) จะถูกควบคุมโดยสัณญาณกระตุ้น e ผ่านทางองค์ประกอบต่างๆซึ่งอยู่ภายใน controlled process

ในการควบคุมพวงมาลัยของรถยนต์ สัญญาณกระตุ้น e ได้แก่ ตำแหน่งของพวงมาลัย ส่วนตัวแปรเอาท์พุท c ได้แก่ ทิศทางของล้อหน้า ในส่วนของ controlled process จะ ประกอบด้วยกลไกต่างๆของพวงมาลัย เช่น การทดเฟือง และรวมถึงลักษณะการเคลื่อนที่ของล้อด้วย

ระบบ ควบคุมแบบวงเปิดหรือระบบควบคุมแบบไม่ป้อนกลับ (Open-loop Control Systems, Nonfeedback Control Systems)

ระบบควบคุมพื้นฐานที่กล่าวถึงในหัว ข้อที่แล้วเป็นระบบควบคุมแบบวงเปิด ในระบบควบคุมแบบวงเปิดนี้การควบคุมส่วนใหญ่ต้องอาศัยการคาดคะเนและการตัดสิน ใจของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น การควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยเตาผิง ถ้าเตาผิงที่ใช้มีเพียงอุปกรณ์ตั้งเวลาเปิด-ปิดเท่า นั้น ผู้ใช้หรือผู้ควบคุมจะต้องคาดคะเนและตั้งเวลาในการเปิดเตาผิงที่นานพอเหมาะ เพื่อให้อุณหภูมิห้องอยู่ในระดับที่ต้องการ แต่การควบคุมโดยมนุษย์เช่นนี้ดูจะไม่แม่นยำและน่าเชื่อถือนัก เนื่องจากผู้ควบคุมไม่สามารถรู้ถึงคุณสมบัติเฉพาะในการสร้างความร้อนของเตา ผิงนี้ อีกทั้งยังมีปัจจัยต่างๆจากภายนอก เช่น อุณหภูมิภายนอกห้องที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิภายในห้อง จะเห็นได้ว่าระบบควบคุมแบบวงเปิดนี้ไม่สามารถปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของ ระบบอันเนื่องมาจากปัจจัยจากภายนอกได้

เครื่องซักผ้าอัตโนมัติเป็นระบบที่มีการควบคุมแบบวงเปิดเนื่องจาก ผู้ควบคุมที่เป็นมนุษย์จะเป็นผู้กำหนดเวลาที่ใช้ในการซักผ้า ซึ่งจริงๆแล้วเครื่องซักผ้าอัตโนมัติที่แท้จริงควรจะมีระบบตรวจสอบความสะอาด ของผ้าตลอดเวลาที่ซัก เมื่อผ้ามีความสะอาดถึงระดับที่ต้องการแล้วเครื่องซักผ้าก็ควรจะหยุดการทำ งานโดยอัตโนมัติ

image002[4]

รูปที่ 2

แผนผังของระบบควบคุมแบบวงเปิดสามารถ เขียนได้อีกแบบหนึ่งดังรูปที่ 2 โดยสัญญาณอินพุทหรือสัญญาณสั่งการ r ส่งผ่าน controller ออกมาเป็นสัญญาณกระตุ้น e เพื่อสั่งให้ controlled process ขับเอาท์พุท c ที่ ต้องการออกมา

ระบบ ควบคุมแบบวงปิดหรือระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Closed-loop Control Systems, Feedback Control Systems)

จากหัวข้อที่แล้วจะเห็นว่าเมื่อ ปัจจัยภายนอกมามีอิทธิพลต่อระบบจะทำให้ผู้ควบคุมไม่สามารถควบคุมเอาท์พุทให้ เป็นไปตามต้องการได้ ในหัวข้อนี้ได้แก้ไขโดยการส่งสัญญาณเอาท์พุท c(t) ป้อนกลับ มาเปรียบเทียบกับสัญญาณสั่งการหรือสัญญาณอ้างอิง r จะได้ค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างสัญญาณเอาท์พุทกับสัญญาณ อ้างอิงทางด้านอินพุทเพื่อนำไปสร้างสัญญาณกระตุ้น e และส่งต่อไปแก้ไขค่าความคลาดเคลื่อน (error) ของเอาท์พุทให้น้อยลง ระบบที่กล่าวมานี้เรียกว่าระบบควบคุมแบบป้อนกลับ กิจกรรมส่วนใหญ่ที่มนุษย์ปฏิบัติในชีวิตประจำวันนั้นเป็นตัวอย่างหนึ่งของ ระบบควบคุมแบบป้อนกลับที่ซับซ้อน เช่น ในการใช้ตะเกียบคีบลูกชิ้นเข้าปาก สมองของมนุษย์จะสั่งการให้แขนข้างที่ถือตะเกียบนำลูกชิ้นเข้าปาก ตำแหน่งของลูกชิ้นที่เป็นเอาท์พุทจะถูกป้อนกลับมายังตาของมนุษย์เพื่อเปรียบ เทียบระยะทางระหว่างลูกชิ้นกับปาก ในที่นี้สัญญาณอ้างอิง r คือตำแหน่งของปาก ส่วนสัญญาณเอาท์พุท c คือตำแหน่งของลูกชิ้น ถ้าระยะทางยังมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่สมองก็จะยังคงสั่งให้แขนเคลื่อนที่ ต่อไปเพื่อให้ลูกชิ้นเข้าใกล้ปากมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งค่าความคลาดเคลื่อนเป็นศูนย์ก็จะสั่งให้แขนหยุด รูปที่ 3 แสดงถึงแผนผังของระบบควบคุมแบบป้อนกลับในการใช้ตะเกียบคีบ ลูกชิ้นเข้าปาก

image003[4]

รูปที่ 3

image004[4]

รูปที่ 4

รูปที่ 4 เป็น ระบบควบคุมแบบป้อนกลับที่ใช้ในการหมุนมอเตอร์ไปยังตำแหน่งที่ผู้ควบคุมกำหนด ในระบบนี้จะใช้โพเทนชิโอมิเตอร์ตรวจจับค่าความคลาดเคลื่อนระหว่างตำแหน่งของ มอเตอร์จริงๆที่เป็นเอาท์พุท และตำแหน่งของมอเตอร์ที่กำหนดโดยผู้ควบคุมซึ่งเป็นสัญญาณอินพุทอ้างอิง ค่าความคลาดเคลื่อนจะเปลี่ยนเป็นค่าแรงดันไฟฟ้า e(t) แล้วนำไปขยายแรงดันเพื่อขับมอเตอร์ให้หมุนไปยังทิศทาง ที่ทำให้ตำแหน่งของมอเตอร์มีค่าความคลาดเคลื่อนน้อยลง

image005[4]

รูปที่ 5

เมื่อลองให้สัญญาณอินพุท r(t) เปลี่ยนค่าจากศูนย์ไปเป็น R ใน ทันทีทันใดดังรูปที่ 5(a) ค่าสัญญาณเอาท์พุทจะมีลักษณะดังรูปที่ 5(b)  เนื่องมาจากความเฉื่อยทางกลและทางไฟฟ้าจะทำให้ตำแหน่งของเอาท์พุท ไม่เปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใด แต่จะค่อยๆวิ่งเข้าสู่ตำแหน่งที่กำหนดโดยอินพุท และอาจจะมีการแกว่งไปมารอบๆตำแหน่งที่กำหนดโดยอินพุท การแกว่งนี้จะค่อยๆลดน้อยถอยลงจนกระทั่งเอาท์พุทอยู่ในตำแหน่งที่กำหนดโดย อินพุทอย่างคงที่คืออยู่ใน steady state

สิ่งที่ต้องระวังในระบบควบคุมแบบป้อนกลับคือความไม่เสถียรของระบบ ถ้าหากสัญญาณ e(t) ถูกขยายมากเกินไปก็อาจจะทำให้เกิดการแก้ไขค่าความคลาด เคลื่อนของเอาท์พุทแบบ "overcorrect" และเอาท์พุทจะแกว่งในลักษณะที่ลู่ออกโดยไม่ มีขอบเขต แต่ถ้าสัญญาณ e(t) ถูกขยายน้อยเกินไปก็จะทำให้ เอาท์พุทมีค่าไม่ตรงกับค่าที่กำหนดโดยอินพุทเมื่อเอาท์พุทเข้าสู่ steady state  ดังนั้นผู้ออกแบบระบบควบคุมแบบป้อนกลับจึง ต้องหาจุดที่เหมาะสมระหว่างปัจจัยสองอย่างคือ ความเที่ยงตรง และความเสถียร ซึ่งปัจจัยทั้งสองนี้แปรผกผันกัน

ส่วน ประกอบพื้นฐานของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

จากหลักการพื้นฐานของระบบควบคุมแบบ ป้อนกลับสามารถกล่าวได้ว่า ระบบควบคุมแบบป้อนกลับประกอบด้วยเส้นทางหรือวงรอบของสัญญาณป้อนกลับซึ่งเป็น สัญญาณเอาท์พุท c ตั้งแต่หนึ่งวงรอบขึ้นไป แล้วนำสัญญาณป้อนกลับนี้มาเปรียบเทียบกับสัญญาณสั่งการหรือสัญญาณอ้างอิง r จะได้ผลต่างระหว่างสัญญาณทั้งสองเป็น e = r - c เพื่อนำไปควบคุมสัญญาณเอาท์พุท c ให้มีค่าตามที่กำหนดโดยสัญญาณอ้างอิง r

image006[4]

รูปที่ 6

รูปที่ 6 แสดง แผนผังของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ ระบบควบคุมนี้ประกอบด้วยส่วน forward (forward path), ส่วนป้อนกลับ (feedback path) และส่วนตรวจจับค่าความคลาดเคลื่อน (error-sensing device) ส่วนตรวจจับค่าความคลาดเคลื่อนนี้ จะเปรียบเทียบค่าสัญญาณอินพุทอ้างอิงกับค่าสัญญาณเอาท์พุทจริงๆหรือค่าที่ เป็นฟังก์ชันของสัญญาณเอาท์พุท แล้วส่งสัญญาณที่เกิดจากผลต่างของสัญญาณทั้งสองนี้ออกไป

ชนิด ของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

ถ้าพิจารณาในแง่วิธีการในการ วิเคราะห์และออกแบบระบบแล้ว ระบบควบคุมแบบป้อนกลับสามารถแบ่งได้เป็นสองชนิด คือ ระบบควบคุมป้อนกลับแบบเชิงเส้น และระบบควบคุมป้อนกลับแบบไม่เป็นเชิงเส้น ในทางปฏิบัติแล้วระบบที่เป็นเชิงเส้นจะไม่มีอยู่จริงเนื่องจากลักษณะทาง กายภาพของระบบทุกระบบจะเป็นเชิงเส้นในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นระบบแบบเชิงเส้นจึงเป็นเพียงระบบที่สมมุติขึ้นมาเพื่อให้ง่ายต่อการ วิเคราะห์และออกแบบเท่านั้น ในระบบควบคุมแบบป้อนกลับจะมีขอบเขตการทำงานที่เป็นเชิงเส้นของระดับสัญญาณ กระตุ้น e ซึ่งสามารถนำมาใช้ในแบบจำลองแบบเชิงเส้นได้ เมื่อระดับสัญญาณกระตุ้น e อยู่นอกขอบเขตที่เป็นเชิงเส้นนี้ระบบควบคุมแบบ ป้อนกลับก็จะเข้าสู่สภาวะที่ไม่เป็นเชิงเส้น

แต่ถ้า พิจารณาในแง่ของลักษณะสัญญาณที่เกิดขึ้นภายในระบบ ก็จะสามารถแบ่งชนิดของระบบควบคุมแบบป้อนกลับได้เป็น ระบบที่มีสัญญาณต่อเนื่อง (continuous-data system) และ ระบบที่มีสัญญาณไม่ต่อเนื่อง (discrete-data system) หรือระบบที่มีการสุ่มตัวอย่างของสัญญาณ (sampled-data system)

ระบบ ควบคุมแบบป้อนกลับชนิดที่มีสัญญาณต่อเนื่อง (Continuous-data Feedback Control System)

ระบบนี้เป็นระบบที่สัญญาณต่างๆภายใน ระบบเป็นสัญญาณที่เป็นฟังก์ชันแบบต่อเนื่องเมื่อตัวแปรของฟังก์ชันเป็นเวลา t  ถ้าสัญญาณแบบต่อเนื่องในระบบนี้อยู่ในลักษณะที่ถูก modulated จะเรียกระบบนี้ว่า ระบบ a-c carrier system แต่ถ้าสัญญาณอยู่ในลักษณะที่เป็น unmodulated ก็จะเป็นระบบ d-c carrier system  รูปที่ 8 เป็นตัวอย่างของระบบ servo ที่เป็น d-c carrier system จะสังเกตเห็นว่าสัญญาณต่างๆในระบบเป็นสัญญาณความถี่ต่ำและอยู่ใน ลักษณะที่ unmodulated  รูปที่ 9 เป็นแผนผังของระบบ servo ที่เป็น a-c carrier system  สัญญาณที่เกิดขึ้นจริงๆในระบบควบคุมนี้จะปรากฏในลักษณะที่เป็น เปลือกที่ห่อหุ้มสัญญาณพาหะอีกชั้นหนึ่ง อุปกรณ์ที่เรียกว่า synchro ทั้งสองตัวทำหน้าที่ เป็น modulator ซึ่งทำหน้าที่ modulate สัญญาณ อินพุทอ้างอิง r และสัญญาณป้อนกลับ c  ส่วนมอเตอร์ ทำหน้าที่เป็น demodulator ซึ่งแปลงสัญญาณให้กลับมาอยู่ในลักษณะ ที่ unmodulated

image007[4]

รูปที่ 8

image008[4]

รูปที่ 9

ในทางปฏิบัติจริงๆจะไม่ใช้ระบบที่ เป็น d-c หรือ a-c เพียงอย่างใดอย่าง หนึ่ง แต่จะรวมส่วนประกอบทั้งสองแบบเข้าด้วยกันโดยใช้ modulator และ demodulator เพื่อ แปลงสัญญาณ ณ จุดต่างๆของระบบ

ระบบ ควบคุมที่มีการสุ่มตัวอย่างของสัญญาณและระบบควบคุมที่มีสัญญาณไม่ต่อเนื่อง (Sampled-data and Discrete-data Control System)

ระบบควบคุมที่มีการสุ่มตัวอย่างของ สัญญาณและระบบควบคุมแบบสัญญาณดิจิตอลจะมีสัญญาณที่อยู่ในลักษณะของขบวนของ พัลส์หรือรหัสที่เป็นเชิงตัวเลข โดยปกติระบบที่มีการสุ่มตัวอย่างของสัญญาณจะหมายถึงระบบที่มีสัญญาณในลักษณะ ของขบวนของพัลส์ ส่วนระบบควบคุมแบบสัญญาณดิจิตอลจะหมายถึงระบบที่มีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ ตรวจจับสัญญาณแบบดิจิตอลเป็นส่วนประกอบ ในที่นี้ระบบควบคุมที่มีสัญญาณไม่ต่อเนื่องจะมีความหมายครอบคลุมถึงทั้งระบบ แบบสุ่มตัวอย่างของสัญญาณและระบบแบบดิจิตอล

image009[4]

รูปที่ 10

ระบบที่มีสัญญาณไม่ต่อเนื่องจะตรวจ จับสัญญาณเข้ามาในลักษณะของพัลส์โดยแต่ละพัลส์จะใช้เวลาเพียงช่วงสั้นๆเท่า นั้น ดังนั้นระบบจะไม่ได้รับข้อมูลของสัญญาณในช่วงเวลาที่อยู่ระหว่างพัลส์ที่ อยู่ติดกันเลย รูปที่ 10 แสดงถึงการทำงานของระบบควบคุมที่มีการ สุ่มตัวอย่างของสัญญาณ สัญญาณอินพุท r(t) ที่เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องถูกส่ง เข้าระบบและเปรียบเทียบกับสัญญาณป้อนกลับ c(t) ที่เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่องเช่นกัน จะได้สัญญาณค่าความคลาดเคลื่อน e(t) ที่ต่อเนื่อง และส่งต่อไปเพื่อสุ่มตัวอย่างสัญญาณโดยอุปกรณ์สุ่มตัวอย่าง (sampler) ได้สัญญาณที่เป็นขบวนของพัลส์ โดยปกติอุปกรณ์สุ่มตัวอย่างจะสุ่มตัวอย่างสัญญาณในอัตราที่คงที่ แต่ในบางกรณีการสุ่มตัวอย่างอาจจะอยู่ในลักษณะที่เป็น periodic, cyclic, multirate, skip-rate, random, และ pulse-width modulated

image010[4]

รูปที่ 11

รูปที่ 11 แสดง แผนผังของระบบควบคุมแบบดิจิตอล ในระบบนี้จำเป็นต้องมีตัวแปลงสัญญาณจากอนาล็อกไปเป็นดิจิตอล และตัวแปลงสัญญาณจากดิจิตอลกลับมาเป็นอนาล็อกเนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถ ประมวลผลข้อมูลและส่งผลลัพธ์ออกมาเป็นข้อมูลที่เป็นดิจิตอลเท่านั้น

เอาท์พุทของอุปกรณ์สุ่มตัวอย่างจะเป็นขบวนของพัลส์โดยที่แอมพลิจู ดของแต่ละพัลส์จะเท่ากับแอมพลิจูดของสัญญาณอินพุทที่ตรงกับช่วงเวลาที่อยู่ ในช่วงความกว้างของพัลส์นั้น แต่การวิเคราะห์ระบบที่สุ่มตัวอย่างสัญญาณโดยมีความกว้างของพัลส์นั้นจะต้อง อาศัยกระบวนการที่ซับซ้อน ดังนั้นถ้าเอาท์พุทของอุปกรณ์สุ่มตัวอย่างมีความกว้างของพัลส์น้อยมากเมื่อ เทียบกับค่า time constant ของส่วนของระบบ ที่มีสัญญาณต่อเนื่องและเมื่อเทียบกับช่วงเวลาระหว่างการสุ่มตัวอย่างแต่ละ ครั้ง ก็จะสามารถแทนที่ขบวนของพัลส์ด้วยขบวนของอิมพัลส์ และในการวิเคราะห์ระบบก็จะสามารถแทนที่อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างด้วยอุปกรณ์สุ่ม ตัวอย่างในอุดมคติ (ideal sampler) ซึ่งมีเอาท์พุทเป็นขบวนของอิมพัลส์ได้

ถ้าอินพุทของอุปกรณ์สุ่มตัวอย่างใน อุดมคติเป็นฟังก์ชันที่ต่อเนื่อง e(t) ก็จะได้เอาท์พุทของอุปกรณ์สุ่มตัวอย่างเป็น e*(t) ดังสมการต่อไปนี้

image011[4]

โดยที่ T เป็น ช่วงเวลาระหว่างการสุ่มตัวอย่างแต่ละครั้ง

จากสมการจะเห็นว่าอิมพัลส์แต่ละอิมพัลส์จะมีพื้นที่เท่ากับค่าของ ฟังก์ชัน e(t)  ณ ขณะเวลาที่ t = nT ของอิมพัล ส์นั้น

image013[4]

รูปที่ 12

ในระบบควบคุมที่มีการสุ่มตัวอย่าง สัญญาณมักจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า data hold device ดังแสดงในรูปที่ 10  อุปกรณ์นี้จะสร้างสัญญาณที่ต่อเนื่องขึ้นมาใหม่โดยแปลงกลับจาก สัญญาณที่ถูกสุ่มตัวอย่าง  hold device ที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ในลักษณะของ zero-order hold ซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่างอินพุทกับ เอาท์พุทดังแสดงในรูปที่ 12 และสามารถเขียนเป็นสมการทางคณิตศาสตร์ได้ดังนี้

h(t) = e(nT)    for   nT < t < (n+1)T

โดยที่ T เป็น ช่วงเวลาระหว่างการสุ่มตัวอย่างแต่ละครั้ง

การ วิเคราะห์โดเมนของเวลาในระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

โดยปกติแล้วการวิเคราะห์การตอบสนอง ของระบบควบคุมแบบป้อนกลับที่มีต่ออินพุทมักจะวิเคราะห์ในโดเมนของเวลาเพื่อ เปรียบเทียบความใกล้เคียงกันของสัญญาณระหว่างสัญญาณอินพุทอ้างอิงและสัญญาณ เอาท์พุท

ปกติจะแบ่งฟังก์ชันของ time response ออกเป็น 2 ส่วนคือ transient response และ steady-state response ดังสมการต่อไปนี้

c(t) = ct(t) + css(t)

โดยที่ c(t) คือ time response   ct(t) คือ transient response และ css(t) คือ steady-state response

steady-state response ก็คือฟังก์ชันของการตอบสนองเมื่อเวลาเข้าสู่ infinity   ดังนั้นเมื่อเวลาเข้าใกล้ infinity จะได้ว่า transient response เข้าใกล้ ศูนย์ ในระบบควบคุมแบบป้อนกลับนั้น transient response มักจะเกิดจากความเฉื่อยหรือความ เสียดทานของระบบ steady-state response จะบอกถึงความเที่ยงตรงในการตอบสนอง ของระบบ ถ้า steady-state response มีค่าไม่ตรงกับอินพุทของระบบจะเรียกว่าระบบนั้นมี steady-state error

สัญญาณ อินพุทที่ใช้วิเคราะห์ transient ใน ระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบจำเป็น ต้องมีฟังก์ชันอินพุทในรูปแบบพื้นฐานอย่างน้อย 3 รูปแบบ เพื่อใช้ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ โดยในการวิเคราะห์ในโดเมนของเวลามักจะมีฟังก์ชันอินพุทพื้นฐานที่ใช้ทดสอบ 3 รูปแบบดังต่อไปนี้

1. Step Displacement Input

r(t) = R      t > 0
r(t) = 0       t < 0
หรือ   r(t) = Ru(t)

โดยที่ R เป็นค่าคงที่และ u(t) เป็น unit step function

2. Step Velocity Input (Ramp Function)

r(t) = Rt     t > 0
r(t) = 0       t < 0
หรือ   r(t) = Rtu(t)

3. Acceleration Input (Parabolic Function)

r(t) = Rt2    t > 0
r(t) = 0        t < 0
หรือ   r(t) = Rt2u(t)

รูปที่ 13 จะ แสดงรูปกราฟของฟังก์ชันพื้นฐานทั้ง 3 ดังกล่าว

image014[4]

รูปที่ 13

ลักษณะ ที่ใช้บ่งชี้ประสิทธิภาพของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ (Time Domain Performance Characteristics of Feedback control Systems)

1. Steady State Performance
ค่านี้จะได้จากการหาค่า steady-state error ของการตอบสนองต่อฟังก์ชันอินพุทพื้น ฐาน 3 แบบ ดังกล่าวมาในหัวข้อที่แล้ว

2. Transient Performance

image015[4]
รูปที่ 14

ค่านี้จะ วิเคราะห์โดยการใส่ unit-step function เป็นอินพุทอ้างอิง และจะได้ผลตอบสนองดังรูปที่ 14   ลักษณะที่สำคัญของผลตอบสนองนี้ได้แก่

o Overshoot

เป็นค่า error ที่มากที่สุดระหว่างอินพุทและเอาท์พุท ค่านี้จะใช้ในการประมาณความเสถียรของระบบ ค่า overshoot จะวัดเป็นสัดส่วนเทียบกับค่าสุดท้าย หรือค่าอินพุทอ้างอิงดังนี้

Percent overshoot = Maximum overshoot / Final desired value x 100

o Time delay

ค่า time delay td เป็นช่วงเวลาที่ใช้ในการตอบสนองของ ระบบตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งเอาท์พุทมีค่าเป็น 50 % ของค่าอินพุทอ้างอิง

o Rise time

ค่า rise time tr เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เอาท์พุทมีค่าเป็น 10 % จนถึง 90 % ของค่าอิน พุทอ้างอิง

o Setting time

ค่า setting time ts เป็นช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่ง การแกว่งของเอาท์พุทลดลงอยู่ในขอบเขตที่กำหนด โดยปกติแล้วขอบเขตนี้จะอยู่ในช่วง 5 % ของอินพุทอ้างอิง

นอกจาก นี้ยังมีลักษณะที่สำคัญอื่นๆอีก เช่น damping ratio, damping factor และ undamped natural frequency ซึ่งไม่สามารถแสดงในรูปที่ 14 ได้ แต่จะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป

Characteristic Equation ของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

รูปที่ 15 เป็น แผนผังของ transfer function ณ ตำแหน่งต่างๆของระบบควบคุมแบบป้อนกลับ

image016[18]
รูปที่ 15

จากแผนผังจะได้ closed-loop transfer function เป็นดังนี้

M(s)  =  C(s) / R(s) = G(s) / [1 + G(s) H(s)]

characteristic equation ของระบบควบ คุมแบบป้อนกลับจะได้มาจากการทำตัวหารของ closed-loop transfer function ให้เป็นศูนย์ดังนี้

1 + G(s) H(s)  =  0

พิจารณา closed-loop transfer function ดังต่อไปนี้

M(s)  =  C(s) / R(s)  =  [ K (s + z1) (s + z2) . . . (s + zm) ] / [ (s + p1) (s + p2) . . . (s + pn) ]

จะได้ว่า -z1, -z2, . . . , -zm เป็น zero ของ transfer function และ -p1, -p2, . . . , -pn เป็น pole ของ transfer function อีกทั้งยังเป็นรากของ characteristic equation อีกด้วย ถ้า M(s) เป็นผลหารที่ประกอบด้วยเศษและส่วนที่เป็น polynomial จะได้ว่า pole และ zero ของ M(s) ประกอบด้วยจำนวนจริงหรือ คู่ conjugate ของจำนวนเชิงซ้อนเท่านั้น และสามารถเขียน closed-loop transfer function ได้อีกแบบหนึ่งดังนี้

image016[19]

โดยที่image016[20]เป็น pole ที่เป็นจำนวนจริง และimage016[21]เป็น pole ที่เป็นคู่ conjugate ของจำนวนเชิงซ้อน
พิจารณาผลตอบสนองของระบบ c(t) จะ ได้ว่า

image016[22]

แทนค่า R(s) และ ค่า M(s) โดยที่ r(t) เป็น unit step function จะได้สมการดังนี้

image016[23]

แล้วแบ่งเศษส่วนย่อยดังนี้

image016[24]

โดยที่ A, Bi, Cj, และ Dj เป็นค่าคงที่ ในที่นี้สมมุติว่าไม่มี pole ตัวใดมีค่าซ้ำกัน จากตารางของ Laplace transform จะได้ c(t) เป็นดังนี้

image016[25]

...