Donate

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มาเรียนรู้ออปแอมป์อย่างละเอียด..กันเถอะ

มาเรียนรู้ออปแอมป์อย่างละเอียด..กันเถอะ

image002พูดถึงออปแอมป์บางคนอาจบอกว่ารู้แต่ ถ้าลองซักกันจริง ๆ แล้วจะมีเพียงไม่กี่คนที่รู้ลึกซึ้งถึงโครงสร้างการทำงานภายในของมัน

image002[1]ในบทความนี้ จะอธิบายและวิเคราะห์วงจรอะนา ลอก โดยจะเริ่มต้นที่วงจรพื้นฐานของ ออปแอมป์ก่อน ในการอธิบายในเบื้องต้นนี้ จะเป็นเรื่องเหี่ยวกับหลักการและแนวความคิด พื้นฐาน จะยังไม่อธิบายถึงวงจรในทางปฏิบัติจริง ๆ ซึ่งสิ่งที่จะกล่าวถึงนี้เป็นสิ่งที่สำคัญ ในการทำความเข้าใจวงจรที่ซับซ้อนได้ในภายหลัง ในการอธิบายนี้อาจจะเห็นสูตรและ การคำนวณต่าง ๆ ออกมาบ้าง ซึ่งอาจจะทำให้ผู้อ่านบางท่านรู้สึกเบื่อ แต่สูตรคำนวณเหล่านี้จะช่วยทำให้สามารถทำความเข้าใจได้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับออ ปแอมป์

image003

รูปที่ 1 แสดงการทำงานและวงจรสมมูลย์ของออปแอมป์

image002[2]ออปแอมป์มี สัญลักษณ์และสัญญาณเข้าออก ตามที่แสดงในรูปที่ 1 ความสัมพันธ์ของสัญญาณเข้าและ ออก แสดงด้วยสูตรง่าย ๆ คือimage002[3]

image002[4]image004

image002[5]Av เป็นอัตราการขยายแรงดันซึ่งมีค่าสูงมาก จึงเป็นคุณสมบัติที่พิเศษสุดของออปแอมป์ ออปแอมป์แบบอุดมคติ จะมีคุณสมบัติตามเงื่อนไขดังนี้

image002[6]1. อัตราการขยายแรงดัน สูงมากจนเป็นอนันต์

image002[7]2. ความต้านทานทางอินพุต สูงมากจนเป็นอนันต์

image002[8]3. ความต้านทานทางเอาท์พุท ต่ำมากจนเป็นศูนย์

image002[9]4. แรงดันออฟเซททางอินพุทเป็น ศูนย์

image002[10]5. กระแสออฟเซททางอินพุทเป็น ศูนย์

image002[11]6. ลักษณะสมบัติเชิงความถี่ ขยายได้ดีตั้งแต่ไฟตรง จนความถี่สูงมากเป็นอนันต์

image002[12]7. ไม่มีข้อบกพร่องอื่น ๆ

image002[13]แต่ในความเป็นจริงแล้ว ออปแอมป์ก็ ไม่ได้มีคุณสมบัติอย่างในอุดมคติเลยทีเดียว แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ สำหรับผู้เริ่มต้น ในช่วงแรกให้ถือว่า ออปแอมป์ที่ใช้ศึกษากันต่อ ไปนี้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับอุดมคติมาก

image005การใช้ออปแอมป์ที่เป็นอุดมคติในการ ออกแบบวงจรนั้น เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมาก หลังจากออกแบบเสร็จแล้ว จึงค่อยมาพิจารณาเงื่อนไข หรือคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ไม่เป็นอุดมคติ แล้วค่อยแก้ไขและปรับปรุงวงจรให้ดีขึ้นอีกทีหนึ่ง

image005[1]ต่อไปเราลองมาดูว่าออปแอมป์ในความ เป็นจริงแตกต่างจากออปแอมป์อุดมคติอย่างไร

อัตราการขยายแรงดัน

image002[14]อัตราการขยาย Go ของวงจรออปแอมป์ ซึ่งต่อเป็นวงจรขยายแบบไม่กลับขั้ว ตามรูป 2 จะมี สูตรทั่วไปคือ

image002[15]image006

image002[16]แต่ในความเป็นจริงอัตราการขยายจะเป็น

image002[17]image007

image002[18]ซึ่งถ้าอัตราการขยายแรงดัน Av ของออปแอมป์มีขนาดสูงมาก ๆ แล้วเทอม (R1 +R2) /Av จะมีขนาดเล็กมากจนเป็นศูนย์ไป จึงทำให้สูตรเหลือแต่ image008นั่นเอง

image009

รูปที่ 2 แสดงการต่อออปแอมป์ในอุดมคติเป็น วงจรขยายแบบไม่กลับขั้ว

image002[19]ในรูปที่ 2 ค่า R1 = 1 kโอห์มและ R2 = 9 kโอห์ม ถ้าเป็นออ ปแอมป์แบบอุดมคติวงจรทั้งหมดจะมีอัตราการขยายเท่ากับ 10 พอดี แต่ถ้าไม่เป็นอุดมคติ เช่น Av = 100 จะได้ แรงดันตามส่วนต่าง ๆ ของวงจรตามในรูป 3 คือ เพื่อให้แรงดันเอาท์เท่ากับ 10 โวลต์ จะมีสัญญาณที่อินพุทต่ำลงเท่ากับ 10 เท่า คือเท่ากับ 0.1 V แต่แรงดันที่ป้อนกลับจากเอาท์พุทคิดจากการแบ่งแรงดัน ด้วยตัวต้านทานสองตัวจะเป็น 1 V ดังนั้นแรงดันอินพุทของวงจรต้องมีค่า 1.1 V จึงจะทำให้แรงดันเอาท์พุทเป็น 10 V ดังที่ได้แสดงไว้ในรูปที่ 3

image011

รูปที่ 3 แสดงแรงดัน ณ จุดต่าง ๆ เมื่อจัดวงจรขยายให้กับออปแอมป์

image002[20]ในการวิเคราะห์วงจรออปแอมป์นั้น ในบางครั้งถ้าเราคิดย้อนแรงดันเอาท์พุทมาที่แรงดันอินพุท จะทำให้วิเคราะห์และทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น

image002[21]จากวิธีการอธิบายที่กล่าวมานี้สามารถกระจายแรงดันอินพุทเป็น

image002[22]image012

image002[23]จากสมการข้างบนนี้ ด้านขวามือเทอมแรกเป็นแรงดันที่ได้จากการป้อนกลับตามในรูปที่ 3 ที่จุด B และเทอมที่ 2 เป็นแรงดันที่ป้อนเข้าที่อินพุททั้งสองของออปแอมป์ ตามในรูปที่ 3 ที่จุด A

image002[24]ออปแอมป์ที่ ใช้งานกันทั่วไป จะมีอัตราขยาย Av สูงเป็นหลายหมื่น หรือหลายแสนเท่า ดังนั้นจึงทำให้ แรงดัน Eo/Av มีขนาดเล็กมากจนสามารถละทิ้งได้

image002[25]แต่ถ้าความถี่ของสัญญาณที่ใช้ขยายมีขนาดสูงมาก ๆ ละก็ อัตราขยาย Av ของออปแอมป์ก็จะมีขนาดเล็กลง จนทำให้เราไม่สามารถละทิ้ง เทอม Eo/Av

image014

image002[26]ลองดูคุณสมบัติของออปแอมป์ที่ใช้งาน จริง เบอร์ต่าง ๆ ในตารางที่ 1 จะเห็นว่า ออปแอมป์ที่ใช้งานความเร็วสูง จะมีอัตราการขยายไฟตรง (หรือความถี่ต่ำ) ต่ำ ในขณะที่ออ ปแอมป์แบบใช้งานทั่วไป จะมีอัตราการขยายสูงกว่าแต่เมื่อความถี่สูงขึ้น ออ ปแอมป์แบบใช้งานทั่วไปจะมีอัตราการขยายลดต่ำลงอย่างเห็นได้ชัด

ความต้านทานทางอินพุท

image002[27]ถ้าค่าความต้านทางอินพุทของออปแอมป์มี ค่าเป็น Zi อัตราการ ขยายของวงจรขยายแบบไม่กลับเฟสเท่ากับ G จะเขียนด้วยสูตรที่ละเอียดขึ้นเป็น

image002[28]image015

image002[29]จากสูตรจะเห็นว่ามีเทอม เพิ่มขึ้นมา ถ้า Av มีค่ามากแล้ว จะมีค่ายิ่งมากขึ้น AvZi อีก จึงทำให้เทอมนี้มีขนาดเล็กมาก จนไม่มีผลกับค่า G เลย

image017

รูปที่ 4 แสดงอัตราการขยายของออปแอมป์เมื่อ ต้านทานทางอินพุทไม่ถึงอนันต์

image002[30]ยกตัวอย่างเช่น ให้ Av = 100 และ Zi = 100 kโอห์ม คำนวณตามในรูปที่ 4 จะพบว่าได้อัตราการขยาย 9.08 เมื่อ เปรียบเทียบกับ 9.09 ซึ่งคำนวณไปแล้วโดยคิดว่า Zi มีค่าใหญ่มากจนเป็นอนันต์จะเห็นว่าผลต่างนั้นน้อยมาก

image002[31]และถ้าลองเพิ่ม Av เป็น 10,000 จะได้อัตราขยายเป็น 9.9900 และ 9.9899 ซึ่งก็ต่างกันน้อยมาก จนโวลต์มิเตอร์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไปก็ไม่สามารถวัดถึงความแตกต่างนี้ได้

image018ออปแอมป์ที่ ใช้งานทั่วไปนั้นมี Av สูงมาก จนสามารถทิ้งค่า Zi ได้แต่อย่างไรก็ตาม Zi ก็ยังมีผลต่อวงจรบ้างโดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวพันกับกระแสไบ แอสทางอินพุท ซึ่งจะได้อธิบายต่อไป ซึ่งถ้ากระแสไบแอสนี้ไหลเข้าไปในออปแอมป์จะทำ ให้ไม่สามารถใช้ตัวต้านทานค่าสูง ๆ ต่อเข้ากับวงจรออปแอมป์ได้

image018[1]ลองดูในรูปที่ 4 แรงดันอินพุท 1.101 V และกระแสไหลเข้าออปแอมป์ 1 microA จะทำให้วงจรเหมือนกับ มีค่าความต้านทานอินพุทรวมเป็น 1.1 Mโอห์ม ซึ่งเป็นค่าที่นับได้ว่าสูงทีเดียว

ความต้านทานทางเอาท์พุท

image002[32]ความต้านทานทางเอาท์พุทของออปแอมป์จะ มีขนาดเพียงไม่กี่โอห์มหรือไม่กี่สิบโอห์มเท่านั้น ดูเผิน ๆ แล้วอาจเห็นว่าไม่สำคัญเท่าไร แต่อย่างไรก็ตามยังมีผู้สับสนใน ความหมายอันนี้ และมักจะเข้าใจกันผิดเสมอ คือแยกความแตกต่างระหว่างความต้านทานทางเอาท์พุทกับความสามารถในการขับโหลด ได้ไม่ถูกต้อง

image002[33]ความสามารถในการขับโหลดหมายถึง ความสามารถในการจ่ายกระแสและแรงดันให้กับโหลด ซึ่งอาจจะเป็นตัวต้านทานหรือวงจรซึ่งมาต่อทางด้านเอาท์พุทของออปแอมป์

image019สมมติให้ออปแอมป์มีความต้านทานทาง เอาท์พุท 10 โอห์ม ไม่ได้หมายความว่า ให้ต่อกับโหลดที่มีขนาด 10 โอห์มพอดี ตามความคิดเรื่องการแมทช์อิมพี แดนซ์ ซึ่งตามความเป็นจรงินั้น ความต้านทานทางเอาท์พุทกับความสามารถในการขับโหลดจะไม่เกี่ยวข้องกันเลยลอง ดูรูปเปรียบเทียบในรูปที่ 5

image020

รูปที่ 5 แสดงความหมายของความต้านทานเอาท์พุทและความสามารถในการขับโหลด

image019[1]ความต้านทานทางเอาท์พุท จะเปรียบเหมือนกับการดึงรถยนต์ด้วยโซ่หรือเชือกไนล่อน แต่ความสามารถในการขับโหลด จะเปรียบเหมือนแรงของคนดึง ว่ามีมากแค่ไหน ความต้านทานทางเอาท์พุทจะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงแรงดันเอาท์พุท เมื่อโหลดเปลี่ยนไป ซึ่งจะคล้ายกับเชือกไนล่อน ซึ่งยืดออกมายาวไม่เท่ากัน เมื่อรถหนักไม่เท่ากัน หมายความว่าความต้านทานทางเอาท์พุท เปลี่ยนไปเมื่อแรงดันเอาท์พุทเปลี่ยนไปด้วยผลของโหลด

image021

รูปที่ 6 แสดงความต้านทานเอาท์พุทของออปแอมป์

image019[2]ตัวอย่างในรูปที่ 6 แสดงให้เห็นอย่าง ชัดเจนถึงผลของแรงดันเอาท์พุทในขณะที่ไม่มีโหลดต่ออยู่ ออปแอมป์จะได้แรงดันเอาท์พุท 10 V แต่เมื่อต่อโหลดขนาด 1 kโอห์ม เข้าไปเท่านั้น แรงดันเอาท์พุทลดลงมาเหลือเพียง 8 V ในกรณีนี้ ความต้านทานทางเอาท์พุทมีค่า 250 โอห์ม

image019[3]อัตราขยายของออปแอมป์ Av จะมีผลทำให้ความต้านทานทางเอาท์พุทของวงจรดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลง ไปด้วยลองมาดูรูปที่ 7 เพื่อเข้าใจได้ง่ายขึ้นให้ออปแอมป์ เป็นอุดมคติทุกประการยกเว้นมีความต้านทานทางเอาท์พุท และนำความต้านทานอันนี้มาเขียนไว้ข้างนอกตัวออปแอมป์

image023

รูปที่ 7 เมื่อมองดูจากวงจรนี้ จะดูเหมือนว่าความต้านทานทางเอาท์พุทมีการเปลี่ยนแปลงเมื่ออัตราการขยาย เปลี่ยนไป

image019[4]รูปที่ 7 ก. เป็นกรณีที่ Av = a และรูปที่ 7 ข. เป็นกรณีที่ Av = 100 จะเห็นว่าทั้งสองกรณีเมื่อต่อโหลดให้กับวงจร ออปแอมป์จะพยายามยกแรงดันเอาท์พุท ของตัวเองให้สูงขึ้นเพื่อให้แรงดันที่คร่อมโหลดมีค่าใกล้เคียงของเดิม จึงทำให้แลดูเห็นว่าความต้านทานทางเอาท์พุทของวงจรมีค่าน้อยลงไป

image019[5]กรณี Av = alfa จะคำนวนความต้านทานทางเอาท์พุทได้ ศูนย์ และกรณี Av = 1000 จะคำนวณความต้านทานทางเอาท์พุทได้เพียง 22.7 โอห์ม เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากความต้านทานทางเอาท์พุทจริงของออปแอมป์

image019[6]ข้อมูลเกี่ยวกับความต้านทานทางเอาท์พุทของออ ปแอมป์นั้น มักจะไม่ค่อยมีแสดงในคู่มือออปแอมป์ของผู้ผลิต แต่อย่างไรก็ตามความต้านทานทางเอาท์พุทนี้ไม่ค่อยก่อปัญหา แก่ผู้ออกแบบเท่ากับความสามารถในการขับโหลดของออ ปแอมป์

แรงดันออฟเซททางอินพุท

image002[34]แรงดันออฟเซททางอินพุทเป็นเรื่อง สำคัญมากเรื่องหนึ่ง เมื่อเราศึกษาเรื่องออปแอมป์ แรงดันออปเซททางอินพุทหมายถึง แรงดันขนาดเล็กที่ปรากฏระหว่างอินพุทบวกลบ ของออ ปแอมป์ในขณะที่แรงดันอินพุทเป็นศูนย์ ลองดูรูปที่ 8 ประกอบ

image024

รูปที่ 8 จะเห็นได้ว่าแรงดันออฟเซ็ทเพียง 1 มิลลิโวลต์ จะกลายเป็น 10 มิลลิโวลต์ที่เอาท์พุท เมื่อออปแอมป์มี อัตราการขยายเพียง 10 เท่า

image002[35]สำหรับวงจรที่ไม่ต้องการขยายแรงดันไฟตรง มักพยายามกำจัดผลของแรงดันออฟเซทนี้ ไม่ให้ไปปรากฏที่เอาท์พุท อย่างเช่น วิธีการในรูปที่ 9 ซึ่งเป็นวงจรขยายแรงดัน ไฟสลับด้วยออปแอมป์สังเกตจากรูปทางซ้าย มีตัวเก็บประจุต่ออยู่ ซึ่งคุณสมบัติของตัวเก็บประจุคือจะกันไฟตรงเอาไว้ และยอมให้ผ่านเฉพาะไฟสลับ ดังนั้น เมื่อมีแรงดันไฟตรง ป้อนกลับมาที่อินพุทลบ ตัวเก็บประจุจะทำให้สัญญาณไฟตรงทั้งหมดไหลผ่านเข้าอินพุทลบ หักล้างกับแรงดันไฟตรง ที่จะออกทางเอาท์พุทได้อัตราการขยายเท่ากับ 1

image025

รูปที่ 9 แสดงการกำจัดแรงดันออฟเซ้ทโดยการให้ ขยายเฉพาะแรงดันที่เป็นไฟสลับ

image002[36]เมื่อมีสัญญาณไฟสลับผ่านเข้ามาจากเอาท์พุท มันจะเลือกไหลผ่านตัวเก็บประจุลงดินไป เสมือนกับว่าตัวต้านทานค่า 10 kโอห์ม ในวงจรถูกต่อลงดินกลายเป็นรูปทางขวามือ ล่าง เมื่อคำนวณอัตราการขยายจากค่าของอุปกรณ์แล้วได้เท่ากับ 100 เท่า

image026

รูปที่ 10 แสดงวิธีการปรับแรงดันออฟเซ็ท

image002[37]การปรับเพื่อลดขนาดแรงดันออฟเซทที่ อินพุทสามารถทำได้ 2 วิธีคือ ใช้วงจรภายในของออ ปแอมป์เอง โดยต่ออุปกรณ์ปรับเข้ากับขาของออปแอมป์และอีก วิธีหนึ่งคือ ป้อนแรงดันจากภายนอกเข้าไปลบล้างผลของแรงดันออฟเซ ทนี้การป้อนแรงดันจากภายนอกแม้จะลดผลของออฟเซท ไม่ให้ไปปรากฏที่เอาท์พุทได้จริง แต่อย่าลืมว่า แรงดันออฟเซททางอินพุทของออปแอมป์ ก็ยังไม่ได้หายไปไหน ดูรูปที่ 10 ประกอบ

image002[38]ซึ่งเรื่องนี้อาจจะเป็นปัญหาได้เมื่อวงจรออ ปแอมป์ซับซ้อนขึ้น หรือในวงจรที่ใช้อะนาลอก สวิทช์ (analoqueswitch) อะนาลอก สวิทช์เป็นสวิทช์อิเลคทรอนิคส์ ชนิดหนึ่งมีการทำงานคล้ายคลึงกับรีเลย์ เพียงแต่ไม่มีหน้าสัมผัสเชิงกลแบบรีเลย์ ใช้ในการเปิดปิดสัญญาณไฟฟ้าภายในมักจะทำด้วยทรานซิสเตอร์หรือเฟ็ท อะนาลอกสวิทช์ที่ มีขายตามท้องตลาดในปัจจุบัน มักจะเป็นชนิดที่ทำจากเฟ็ททั้งนั้น

image027

รูปที่ 11 แสดงการใช้อนาลอกสวิทช์เพื่อเปิดปิดวงจรทางอินพุท

image002[39]ดูตัวอย่างในรูปที่ 11 จะเห็นว่าการปรับออฟเซทโดยใช้แรงดันภายนอกจะทำให้เอาท์พุท มีแรงดันแตกต่างกันเมื่อสวิทช์อยู่ในสภาพเปิดหรือปิด

กระแสไบแอสทางอินพุท

image002[40]กระแสไบแอสทางอินพุท หมายถึง กระแสที่ไหลเข้าหรือออกจากขั้วบวกหรือลบ ของอินพุทของออ ปแอมป์ไม่เกี่ยวข้องกับความต้านทานทางอินพุทของออ ปแอมป์ ปกติกระแสไบแอสทางอินพุท จะมีองค์ประกอบไฟตรงเป็นหลักในขณะที่ความต้านทานทางอินพุท จะมีองค์ประกอบทางไฟสลับเป็นหลัก

image002[41]ทิศทางการไหลของกระแสไบแอสนี้ จะเป็นการไหลเข้าหรือออกจากออปแอมป์จะกำหนดจากชนิดของทรานซิสเตอร์หรือเฟ็ท ที่ขั้วอินพุทภายในออ ปแอมป์นั้น ๆ ส่วนใหญ่แล้วกระแสจะไหลเข้า แต่มีออปแอมป์บาง ตัว (เช่นเบอร์ 4558 ) กระแสจะไหลออก จึงควรระวังในจุดนี้ด้วย

image028

รูปที่ 12 แสดงทิศทางการไหลของกระแสไบแอสที่อินพุทในไอซีแบบต่าง ๆ

image002[42]นอกจากนั้น ยังมีออปแอมป์ชนิดที่มี ความต้านทานทางอินพุทสูงมากและกระแสไบแอสต่ำ ภายในออปแอมป์จะมีวงจรต้านกระแสไบแอสนี้ เลยทำให้ทิศทางของกระแส ไบแอสไม่แน่นนอนลองดูรูปที่ 12 ประกอบ

image002[43]ลองดูผลของกระแสไบแอสในรูปที่ 13 ก. นั้นออปแอมป์ต้องการกระแสไบแอส 100 microA กระแสนี้จะไหลเข้าออปแอมป์ทั้งทางขั้วบวกและลบ ถ้าค่าความต้านทานที่ต่อ บนทางเดินของกระแสทั้งสองด้านเท่ากัน ก็จะไม่มีผลทำให้เกิดแรงดันออฟเซทที่เอาท์พุท แต่ค่าความต้านทานที่ต่อกับขั้วบวกและลบนี้ แตกต่างกันละก็จะทำให้เกิดแรงดันออฟเซท ที่เอาท์พุทของวงจรทันที

image029

รูปที่ 13 ผลของกระแสไบแอสทางอินพุท

image002[44]ในรูปที่ 13 ให้ค่าความต้านทานที่ต่อวงจร เท่ากับ 10 kโอห์ม เมื่อกระแสไบแอสไหลผ่านตัวต้านทาน จะทำให้เกิดแรงดันเท่ากับ 100 mA x 10 kโอห์ม = 1 mV ในกรณีรูป ก. ทั้งขั้วบวกและลบมีแรงดัน 1 mV เท่ากัน จึกหักล้างกันเอง ไม่ทำให้เกิดแรงดันออฟเซทที่ขั้วเอาท์พุท ในกรณีรูป ข. และ ค. นั้น มีตัวต้านทานต่ออยู่เพียงข้างเดียว จึงไม่เกิดความสมดุล เป็นผลทำให้เกิดแรงดันออฟเซ ท

image030

รูปที่ 14 แสดงการต่อตัวต้านทานที่อินพุททั้งสองให้สมดุลกัน

image002[45]ถ้าที่ขั้วอินพุทของออปแอมป์มีตัว ต้านทานมาต่อด้วยหลายตัว ตัวต้านทานที่จะต้องต่อเข้าที่อีกขั้วหนึ่งเพื่อให้เกิดความสมดุลจะต้องมี ค่าเท่ากับการต่อขนานของ ตัวต้านทานทุกตัวนั้น ดูตัวอย่างในรูปที่ 14

image002[46]ในปัจจุบันมีออปแอมป์ที่ใช้เฟ็ทเป็นอินพุทอยู่หลายตัว ที่นิยมใช้แพร่หลายกันดูในตารางที่ 1 ออปแอมป์ชนิดนี้ จะมีกระแสไบแอสที่อินพุทต่ำมาก จนไม่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้งาน

กระแสออฟเซททางอินพุท

image002[47]ตามปกติกระแสไบแอสที่ไหลเข้าขั้วบวกและลบของออ ปแอมป์จะไม่เท่ากันทีเดียวนัก ความแตกต่างของกระแสทั้งสองนี้ เรียกว่ากระแสออฟเซ ททางอินพุทของออปแอมป์ ยกตัวอย่างเช่น กระแสไบแอสที่ไหลเข้าทางขั้วบวกเป็น 110 microA และที่ขั้วลบเป็น 90 microA เราจะเขียนว่ากระแสไบ แอสเท่ากับ 100 microA และกระแสออฟเซททางอินพุทเท่ากับ 20 microA เป็นต้น

image031

รูปที่ 15 แสดงผลของกระแสออฟเซ็ท

image002[48]รูปที่ 15 จะแสดงให้เห็นว่ากระแสออฟเซทนี้ จะทำให้เกิดแรงดันออฟเซทขึ้นที่ขั้วเอาท์พุท ได้โดยยังไม่คิดผลของกระแสไบแอส การหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดแรงดันออฟเซทเนื่อง มาจากกระแสออฟเซทนี้ สามารถทำได้โดยการลดขนาดของค่าความต้านทานในวงจรลง อันจะเป็นผลทำให้แรงดันตกคร่อมมีขนาดเล็กลง

image002[49]ออปแอมป์ที่ ใช้งานทั่วไป จะมีขนาดของกระแสออฟเซทมากน้อย ตามขนาดของกระแสไบแอส แต่ถ้าเป็นออปแอมป์คุณภาพ ดี จะมีกระแสออฟเซทน้อยเป็นไม่กี่สิบเท่า ของกระแสไบแอสยิ่งถ้าเป็นออปแอมป์ชนิดที่ อินพุทเป็นเฟ็ท จะมีกระแสไบแอสน้อยมาก ทำให้กระแสออฟเซทยิ่งน้อยลงไปใหญ่ จนไม่จำเป็นต้องคำนึงถึง และถ้าใช้ออปแอมป์ชนิด นี้ ในงานความถี่สูง ควรต่อขั้วบวกของออปแอมป์ลงกราวนด์โดยตรง เพื่อให้ผลตอบสนองเชิงความถี่ดีขึ้น

image002[50]แต่จุดอ่อนของออปแอมป์ชนิดที่อินพุท เป็นเฟ็ท จะอยู่ที่คุณสมบัติเปลี่ยนตามอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ลองดูจากคู่มือของออปแอมป์ ชนิดที่มีอินพุทเป็นเฟ็ทนั้น แล้วเปรียบเทียบค่ากระแสไบแอสและกระแสออฟเซ ททางอินพุท ที่อุณหภูมิ 20 องศา และ 70 องศา จะเห็นว่าแตกต่างกันมาก บางตัวที่ 70 องศา จะมีกระแสไบแอสมากกว่า ออ ปแอมป์ชนิดอินพุทเป็นทรานซิสเตอร์เสียอีก

image002[51]ลองดูตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของออปแอมป์ใน ตารางที่ 1 จะเห็นว่ากระแสไบแอสและกระแสออ ฟเซท จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามอุณหภูมิการเพิ่มนี้จะมากถึง ขนาดหลายร้อยหลายพันเท่า และเป็นเงื่อนไขเดียวที่ทำให้กระแสเพิ่มขึ้นมากที่สุดในบรรดาคุณสมบัติอื่น ๆ

image002[52]ฉะนั้นจึงควรทดสอบวงจรที่ต้องการอินพุทพีแดนซ์สูง ๆ และทดสอบที่อุณหภูมิสูงด้วย แล้วทำการวัดผลของกระแสไบแอสนี้ จึงจะทำให้เกิดความมั่นใจในการใช้งานได้ สำหรับคุณสมบัติทางด้านอื่นจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิเช่นกัน แต่จะไม่มากเท่ากับกระแสไบแอสนี้

ลักษณะสมบัติเชิงความถี่

image002[53]คุณสมบัติข้อนี้เรียกว่าเป็นตัวกำหนดความสามารถของออปแอมป์ทีเดียว ออปแอมป์จะดีไม่ดีก็มักดูกันที่ลักษณะเชิงความ ถี่นี้

image002[54]แต่มีคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่มักจะดูควบคู่กันไปคือ สบูว์เรท (Slew rate) สลูว์เรท หมายถึง ความสามารถในการให้เอาท์พุท เพื่อไล่ให้ทันการเปลี่ยนแปลงทางอินพุท ที่ป้อนเข้ามา ถ้าป้อนแรงดันรูปคลื่นสี่เหลี่ยมซึ่งมีแอ มปลิจูดใหญ่ให้กับออปแอมป์ แล้ววัดดูความเร็วในการขึ้นลงของรูปคลื่นทางเอาท์พุทจะได้เป็นค่าสลูว์เรทออกมา

image002[55]ตัวอย่างเช่นเอาท์พุทให้แรงดันที่เปลี่ยนแปลงไป 10 V ในเวลา 0.1 mS แสดงว่ามีสลูว์เรท เท่ากับ 10 / 0.1 microS = 100V / microS คลื่นสามา เหลี่ยมความถี่ 1Hz ขนาด 1 Vpp จะมีสลูว์เรทเท่ากับ 0.5 V / 0.25 microS หรือ 2 V / Sec แต่ถ้าขนาดเพิ่มเป็น 10 Vpp ค่าสลูว์เรทจะเป็น 5 V / 0.25 Sec หรือ 20 V / Sec นั่นเอง ซึ่งจะเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว อัตราการเปลี่ยนแรงดันนี้เราเรียกว่า สลูว์เรท

image032

รูปที่ 16 จะเห็นว่ารูปคลื่นที่เหมือนกัน ความถี่เท่ากันแต่ขนาดต่างกัน สลูว์เรทจะไม่ เท่ากัน

image002[56]จากรูปที่ 16 การเพิ่มความถี่หรือเพิ่ม ขนาดสัญญาณ ให้ออปแอมป์ จะเป็นปัญหาทางด้านสลูว์เรททั้งสิ้น การป้อนกลับจะทำให้ผลตอบสนองความถี่ของวงจรขยายดีขึ้นจริง แต่จะไม่ทำให้สลูว์เรทสูงขึ้นเลย แนวความคิดของการใช้วงจรป้อนกลับในสมัยก่อนนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงผลตอบสนองทางความถี่ให้ดีขึ้น ตามรูปที่ 17 แต่การใช้งานออ ปแอมป์ในปัจจุบัน มักจะไม่คำนึงถึงผลตอบสนองความถี่มากนักบางครั้งเพื่อให้ได้อัตราขยายของ ระบบสูงขึ้น อาจจะต้องทำให้ผลตอบสนองความถี่เลวลง โดยพยายามไม่ให้เกิดการออสซิลเลทเกิดขึ้นได้ง่าย

image033

รูปที่ 17 แสดงผลของการป้อนกลับ

image002[57]ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสลูว์เรท คือการที่จะให้รูปคลื่นที่สมบูรณ์มีขนาดใหญ่ได้เท่าใด ในขณะที่ความถี่สูงขึ้น ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับผลตอบสนองทางความถี่เลย

image034

รูปที่ 18 อัตราสลูว์เรทที่ดีทำให้ได้รูปซายน์ที่ไม่ผิด เพี้ยนจากการขยาย

image002[58]ลองดูในรูปที่ 18 การที่ออปแอมป์จะสามารถผลิตสัญญาณรูปซายน์ความ ถี่ 1 MHz ขนาด 20 Vp-p ได้นั้น ออปแอมป์จะต้องมีสลูว์เรทดีถึง 62.8 V / microS

image002[59]ออปแอมป์เบอร์ LM741 ที่นิยมใช้กันนั้น มีสลูว์เรทเพียง 0.5 V / microS ถ้าจะนำมาผลิตรูป คลื่นซายน์ที่มีขนาด 20 Vp-p ก็คงจะได้ความถี่เพียงประมาณ 10 KHz เท่านั้นเอง แต่ถ้าใช้ LM741 เป็นบัฟเฟอร์ที่มีอัตราขยายเพียง 1 เท่า และพยายามผลิตสัญญาณให้ได้ 1 MHz ก็จะได้ขนาดสัญญาณเพียง 0.1 V เท่านั้น

image035

รูปที่ 19 แสดงขีดความสามารถของโทนคอนโทรล

image002[60]เปรียบเหมือนการพยายามใช้โทรคอนโทรล ในการปรับให้เครื่องขยายเสียงที่มีกำลังน้อยขับเสียงต่ำให้ดังขึ้น ตามในรูปที่ 19 นั่นเอง

image002[61]แต่ถ้าสลูว์เรทดีก็ไม่ได้หมายความ ว่าผลตอบสนองทางความถี่จะดีตามไปด้วย ออปแอมป์ในสมัยแรก ๆ นิยมใช้เบอร์ LM709 ซึ่งเป็นออปแอมป์เบอร์ที่มีสลูว์เรท 2 V / microS แต่ในการ ใช้งานทุกครั้งจะต้องต่ออุปกรณ์ เพื่อชดเชยเฟสเสมอ ซึ่งจะมีผลทำให้ค่าสลูว์เรทต่ำ ลงจนอาจจะเลวกว่า LM741 ซึ่งมีสลูว์เรทเพียง 0.5 V / microS ดูรูปที่ 20 ประกอบ

image002[62]การชดเชยเฟส มักจะทำให้ค่าสลูว์เรทต่ำ ลง แต่ก็มีวิธีชดเชยที่จะไม่ทำให้สลูว์เรทต่ำ ลง บางครั้งอาจทำได้ดีขึ้นด้วย แต่ถ้าใช้ออปแอมป์หลาย ตัวทำงานร่วมกัน จะท่ำให้เกิดปัญหาเรื่อง เสถียรภาพของการทำงานได้

image036

รูปที่ 20 แสดงการชดเชยเฟสของออปแอมป์เบอร์ LM709

image002[63]จากรูปที่ 20 จะเห็นว่า การชดเชยเฟสให้ LM709 จะทำให้ผลตอบสนองความถี่ดีขึ้น แต่จะทำให้สลูว์เรทเลวลง เนื่องจากผลของตัวเก็บประจุที่ใช้ในการชดเชย ดูผลจากรูปที่ 21

image037

รูปที่ 21 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการขยายกับสลู ว์เรท

image002[64]การชดเชยเฟสจะต้องต่ออุปกรณ์ภายนอก แต่ค่า C และ R ที่เหมาะสมจะต้องปรับไปตามอัตราการขยายที่ต้องการ

image002[65]ออปแอมป์ใน ปัจจุบันนั้น จะมีวงจรชดเชยเฟสใส่ไว้ภายในตัวไอซี ไม่จำเป็นจ้องต่ออุปกรณ์ภายนอก และไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์ตามอัตราขยายที่ได้ แต่ถ้าใช้ในกรณีที่อัตราการขยายสูงมาก จะทำให้ผลตอบสนองความถี่เลวลงไปได้

image005[2]ออปแอมป์ความ เร็วสูง ก็มีการชดเชยเฟสภายในเช่นเดียวกัน แต่การชดเชยจะน้อยที่สุด ดังนั้นในบางครั้งอาจจะต้องต่ออุปกรณ์ภายนอกช่วย เช่น เมื่อใช้กรณีที่อัตราการขยายสูงไม่ต้องต่ออุปกรณ์ชดเชย แต่ถ้าอัตราการขยายต่ำจะต้องต่อตัวเก็บประจุชดเชยเป็นต้นดูรูปที่ 22 ประกอบ

image039

รูปที่ 22 อัตราการขยายของออปแอมป์มีผลทำให้ผล ตอบสนองความถี่ของออปแอมป์เปลี่ยนไป

image005[3]ถ้าใช้ออปแอมป์ความเร็วสูง ที่อัตราการขยายเพียง 1 จะต้องต่ออุปกรณ์ชดเชยให้ หลายตัว มิฉะนั้นการทำงานจะขาเสถียรภาพ (ออสซิสเลทได้ง่ายมาก) การใส่ตัวเก็บประจุเข้าไปเพื่อชดเชยจะทำให้สลูว์เรทเลว ลง และคุณสมบัติการตอบสนองความถี่ในย่านความถี่สูงจะเกิดยอดทำให้ไม่เป็นผลดี ต่อการใช้งาน

image040

รูปที่ 23 แสดงการต่อตัวเก็บประจุชดเชยเฟสขนานเข้ากับตัวต้านทานป้อนกลับ

image005[4]การชดเชยเฟสในรูปที่ 23 จะใช้การต่อตัว เก็บประจุ คร่อมตัวต้านทานที่ใช้ในการป้อนกลับซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้กันมาก จากในรูปจะเห็นว่า ในย่านความถี่สูงจะทำให้เสมือนเกิดลัดวงจรที่ตัวเก็บประจุ เป็นผลให้วงจรขยายแบบไม่กลับขั้ว จะมีอัตราการขยายเหลือเพียง 1 และวงจรขยายแบบกลับ ขั้วจะมีอัตราการขยายเป็นศูนย์ ถ้าป้อนกลับมากเกินไป จะทำให้ออสซิลเลทง่าย แต่ถ้าป้อนกลับน้อยไปจะทำให้อัตราขยายสูงเกินไป

image042

รูปที่ 24 แสดงการชดเชยเฟสที่ทำให้สลูว์เรทไม่ เลวลง

image005[5]วิธีการชดเชยเฟส โดยไม่ทำให้สลูว์เรทเลว ลง แสดงในรูปที่ 24 รูป ก. การต่อตัวเก็บประจุจะทำให้สลูว์เรทเลวลง แต่รูป ข. สลู ว์เรทไม่เลวลง

image005[6]ในย่านความถี่ต่ำตัวเก็บประจุขนาด 0.01 microF จะมีอิมพีแดนซ์สูง จนละเลยได้ แต่ในย่านความที่สูงจะเปรียบเหมือนลัดวงจร ทำให้อัตราการขยายของวงจรยังเท่าเดิม คือประมาณ 30 เท่า ขนาดของการป้อนกลับจะลดลง จึงไม่จำเป็นต้องมีการชดเชยเฟส

...