Donate

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ไตรแอกและเอสซีอา ร์ ตอนที่ 1

ไตรแอกและเอสซีอาร์ ตอนที่ 1

image002ไตรแอกและเอสซีอาร์เป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้ทำ หน้าที่เป็นโซลิดสเตตสวิตช์ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการควบคุม การจ่ายกำลังไฟให้แก่อุปกรณ์หรือวงจรได้ทั้งแบบ ไฟสลับและไฟตรง ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงการทำงานภายในและการนำไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ

image003

รูปที่ 1 ก. สัญลักษณ์ 1 ข. วงจรเสมือน 1 ค. ตัวอย่างการใช้เอสซีอาร์จ่ายไฟตรงให้โหลด

image002[1]ทั้งเอสซีอาร์และ ไตรแอกเป็นอุปกรณ์ที่เรียกรวม ๆ ว่าไทริสเตอร์ (thyristor) เอสซีอาร์เป็นคำย่อมาจากคำว่า Silicon Controlled ภายในของเอสซีอาร์ประกอบด้วย ชั้นของสารกึ่งตัวนำ 4 ชั้นที่ประกบตอดกันอยู่ (PNPN) โดยสัญลักษณ์ที่ใช้ และวงจรเสมือนภายในได้แสดงไว้ในรูปที่ 1 ก. และ 1 ข. ตามลำดับ ในวงจรเสมือนนี้จะเห็นได้ว่า ประกอบขึ้นด้วยทรานซิสเตอร์ 2 ตัว Q1 เป็นแบบ NPN ที่รับการแสเบสจากคอลเลคเตอร์ของ Q2 ที่เป็น PNP ในทำนองเดียวกัน Q2 ก็รับกระแสเบส มาจากคอลเลคเตอร์ของ Q1 เช่นกัน ส่วนหลักการทำงานที่ทำให้เอสซีอาร์ สามารถทำหน้าที่เป็นสวิตช์ได้นั้นจะขอกล่าวถึงในภายหลัง

image002[2]ในรูปที่ 1 ค. แสดง ถึงวงจรแบบพื้นฐานในการใช้งานของเอสซีอาร์ เพื่อให้ทำหน้าที่เป็นสวิตช์ควบคุมกำลังไฟ ตรงที่จะป้อนให้แก่โหลด การทำงานของวงจรเป็นดังนี้ เมื่อป้อนไฟให้แก่เอสซีอา ร์โดยปิดวงจรสวิตช์ S1 เอสซีอาร์จะยังไม่ทำงาน คือจะยังไม่ยอมให้กระแสไหลผ่านตัวมัน เนื่องจากยังไม่มีสัญญาณทริกเกอร์เพื่อไปกระตุ้นที่ขาเก ต

image002[3]ขอให้ย้อนกลับไปดูวงจรในรูป 1 ข. ขาเบสของ Q1 จะต่ออยู่กับขาแคโทรภายนอก โดยมี R1 และ R2 ต่ออนุกรมอยู่ ดังนั้น Q1 จึงยังไม่ทำงาน เนื่องจากยังไม่มีกระแสเบส ซึ่งเป็นผลทำให้ Q2 ไม่ทำงานด้วย จะมีก็แต่กระแสรั่วไหลเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย ระหว่างขั้วแอโนดและแคโทด การที่จะทำให้เอสซีอาร์เกิดการนำกระแสขึ้นได้นั้น สามารถทำได้โดยการป้อนกระแสบวกให้แก่เกต นั่นคือทำการปิดวงจรสวิตช์ S2 ในวงจรรูปที่ 1 ค. จะทำให้เอสซีอาร์นำกระแสใน ทันที

image002[4]การที่จะทำให้เอสซีอาร์นำกระแสได้นั้น ค่ากระแสที่ป้อนให้แก่ขาเกตต้องมากพอที่จะทำ ให้ทรานซิสเตอร์ Q1 ทำงาน เมื่อเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นการป้อนกระแสให้แก่ขาเบสของ Q2 ทำให้ Q2 ทำงานเช่นกัน ในทำนองเดียวกัน Q2 ก็จะป้อนกระแสกลับมาให้แก่ขาเบสของ Q1 จึงเกิดเป็นการป้อนกระแสกลับไปกลับมาทำให้ Q1 และ Q2 ทำงานต่อไปได้เรื่อย ๆ

image002[5]หลังจากที่เอสซีอาร์เริ่มทำงานแล้วนั่นคือ การยอมให้กระแสไหลผ่านตัวมันเอสซีอาร์นั้น ก็จะสามารถคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนั้นได้ แม้ว่าจะหยุดการป้อนกระแสให้แก่ขาเกต แล้วก็ตาม ทั้งนี้เนื่องจากการป้อนกระแสกลับไปกลับมาระหว่าง Q1 และ Q2 ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น กระแสที่ป้อนให้แก่ขาเกตนั้น จึงเป็นเพียงพัลส์ที่ไปกระตุ้นให้เอสซีอาร์เกิดการทำงาน ขึ้น และคงสภาพการทำงานเช่นนั้นต่อไป

ตารางที่ 1 แสดงคุณสมบัติที่สำคั­ของเอสซีอาร์ที่ นิยมใช้

image004

image002[6]R1 และ R2 ที่ต่อในวงจรในรูปที่ 1 ข. นั้น เป็นตัวที่ทำให้ไม่สามารถที่จะทำการหยุดการทำงานของเอสซีอาร์นี้ลงได้ แม้ว่าจะให้ไบแอสกลับแก่ขาเกตและแคโทดก็ตาม

image002[7]การหยุดการทำงานของเอสซีอาร์นี้จะทำได้เพียงทางเดียวเท่านั้น คือลดค่ากระแสที่ไหลผ่านแอโนดลง จนต่ำกว่าค่าที่เรียกว่า กระแสโฮลดิ้ง (holding current) หรือ เรียกว่า Ih และในกรณีที่เอสซีอาร์ถูกใช้งานโดยการป้อนกระแสสลับผ่านตัวมัน การหยุดทำงานของมันจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อค่าแรงดันไฟสลับที่ให้นั้นใกล้กับจุดที่เรียกว่า "จุดตัดศูนย์" (Zero-crossing point) ซึ่งจะเกิดขึ้นทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับที่ให้แก่วงจรนั้น

image002[8]การทำงานของเอสซีอาร์ดังกล่าวข้างต้นเป็นเพียงโดยทฤษฎีเท่านั้น แต่ในทาปฏิบัติแล้วบางครั้งเอสซีอาร์จะมีการทำงานผิดพลาดเกิดขึ้น นั่นคือ แม้ว่าจะไม่ได้ป้อนสัญญาณทริก ให้แก่ขาเกตเอสซีอาร์ก็เกิดการนำกระแสขึ้นระหว่างแอโนดและเกตของเอสซีอา ร์นั่นเอง

image002[9]ในกรณีที่แรงดันที่ให้แก่แอโนดนั้นมีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ๆ ความจุไฟฟ้าดังกล่าวข้างต้น จะเป็นตัวส่งผ่านสัญญาณบางส่วนของการเพิ่มขึ้นของแรงดันนั้นให้แก่เกตภายใน ซึ่งจะเป็นตัวทริกให้เอสซีอาร์นั้นเกิดการนำกระแสขึ้นได้ ปรากฏการณ์นี้ทางเทคนิคจะเรียกว่า rate effect โดย ปกติปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นเนื่องจากมีทรานเซี้ยนต์ขึ้นในแหล่งจ่าย ทรานเซี้ยนต์ที่ว่านี้ก็คือการที่แหล่งจ่ายนั้นเกิดมีพัลส์ขนาดสูงเกิดขึ้น เป็นช่วงบางขณะ ปัญหาที่เกิดขึ้นนี้สามารถแก้ไขได้โดยการใช้ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุมาต่อ เป็นวงจรกรองความถี่สูงผ่าน คร่อมระหว่างขาแอโนดและแคโทด

image002[10]สิ่งที่กล่าวมาข้างตันเป็นเพียงหลักการทำงานพื้นฐานของเอสซีอาร์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า เป็นอุปกรณ์ ที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่าย ๆ แต่ข้อสำคัญคือการเลือกใช้เอสซีอาร์ ให้เหมาะกับงานที่ต้องการซึ่งจะพบว่าในการเลือกใช้เอสซีอาร์แต่ละเบอร์นั้น ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะของแต่ละเบอร์ เช่นค่าแรงดันและกระแสสูงสุดที่จะทนได้ ค่าความไวของเก ตและค่ากระแสโฮลดิ้ง ในตารางที่ 1 ได้แสดงถึงคุณสมบัติต่าง ๆ เหล่านี้ของเอสซีอาร์เบอร์ต่าง ๆ ที่นิยมใช้ โดย PIV คือค่าแรงดันสูงสุดที่จะทนได้, Vgt / Igt คือแรงดัน / กระแสที่ใช้ ในการทริกที่เกตและ Ih คือ กระแสโฮลดิ้ง

ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของเอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟตรง

image005เอสซีอาร์นี้ สามารถนำไปใช้ในการควบคุมระบบไฟได้ทั้งแบบไฟสลับและไฟตรง ก่อนอื่นเราจะมาดูกันในตัวอย่างง่าย ๆ ที่ควบคุมไฟตรงมีอยู่ 2 วิธี ในการใช้งานเอสซีอาร์ เพื่อการควบคุมการจ่ายไฟให้แก่โหลด โดยใช้สวิตช์กดเป็นตัวควบคุม ดังแสดงไว้ในรูปที่ 2 โหลด ในที่นี้เป็นหลอดไฟ 12 โวลต์ ทั้วไป จากวงจรทั้งสองนี้ เอสซีอา ร์จะเริ่มทำงานเมื่อสวิตช์ S1 ถูกกดลง (กดแล้วปล่อย) ดังนั้น จะเป็นการป้อนกระแสให้แก่เกตโดยผ่าน R1 เพื่อทำให้เอสซีอาร์เริ่มทำงาน ทั้ง สองวงจรนี้ มีการต่อขาเกตเข้ากับแคโทด โดยผ่าน R2 เพื่อปรับปรุงให้วงจรมีความเสถียรมากขึ้น

image006

รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างการใช้งานของเอสซีอาร์ โดยมีสวิตช์เปิดและแยกกัน

image005[1]เนื่องจากเมื่อเอสซีอาร์เริ่มทำงานแล้ว ทางเดียวเท่านั้นที่จะหยุดการทำงานลงได้ ก็โดยการลดค่ากระแสแอโนดให้ต่ำกว่าค่า Ih ของมัน แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ก็พอ ดังนั้น จากรูปที่ 2 ก. เอสซีอาร์จะ หยุดการทำงานก็ต่อเมื่อสวิตช์ S2 ถูกเปิดวงจรออกชั่วขณะหนึ่ง ส่วนในรูปที่ 2 ข. สามารถทำได้โดยปิดวงจรสวิตช์ S2 ซึ่ง เป็นการทำให้แอโนดและแคโทดถูกต่อเข้าด้วยกันในชั่วขณะหนนึ่ง ก็จะทำให้เอสซีอาร์หยุด การทำงานได้เช่นกัน

image007

รูปที่ 3 การหยุดการทำงานของเอสซีอาร์โดยใช้ตัวเก็บประจุ C1

image005[2]วงจรในรูปที่ 3 ได้แสดงถึงอีกวิธีหนึ่ง ที่จะทำให้เอสซีอาร์หยุด ทำงานลงได้ ตัวเก็บประจุ C1 จะถูกประจุให้มีแรงดันคร่อมตัวมัน มีค่าเท่ากับแรงดันที่ให้ โดยกระแสที่ผ่านความต้านทาน R3 และเมื่อเวลาต่อมาสวิตช์ S2 ถูกเปิดวงจรลง ซึ่งจะเป็นการดึงแรงดันที่ขั้วบวกของ C1 ให้เป็นกราวด์ เมื่อเป็นเช่นนั้น อีกขั้วหนึ่งของ C1 ก็จะมีแรงดันเป็นลบในทันที และขั้วด้านนี้ได้ถูกต่ออยู่กับขาแอโนดของเอสซีอาร์ จึงทำให้แรงดันที่ขาแอโนดเป็นลบในชั่วขณะหนึ่งจนกว่า C1 จะคายประจุออกหมด ซึ่งในช่วงเวลานี้จะเป็นการไบแอสกลับให้แก่เอสซีอาร์ ทำให้เอสซีอาร์นี้หยุดทำงานลงได้ ช่วงเวลาที่มีการไบแอสกลับจะประมาณ 2 - 3 x 10 - 6 วินาที ซึ่งก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการหยุดทำงานขึ้นได้แต่ข้อควรระวังคือ C1 ที่ใช้นั้นจะต้องเป็นตัวเก็บประจุแบบที่ไม่มีขั้วเท่านั้น

image008

รูปที่ 4 วงจรที่ดัดแปลงจากรูปที่ 3 โดยใช้ SCR2 แทนตำแหน่งสวิตช์ S2

image005[3]การออกแบบวงจรที่ใช้ตัวเก็บประจุเป็นตัวช่วยในการหยุดการทำงานของ เอสซีอาร์นี้ สามาถทำได้อีกวิธีหนึ่งดังแสดงวงจรไว้ในรูปที่ 4 ขอให้สังเกตว่า ใช้ SCR2 แทนสวิตช์ S2 เมื่อเทียบกับในรูปที่ 3 โดย SCR1 จะหยุดการทำงานในทันที ที่ SCR2 เริ่มทำงานโดยใช้สวิตช์ S2 และ SCR2 นี้จะหยุดทำงานหลังจากที่สวิตช์ S2 ถูกปล่อยออก เนื่องจากว่ากระแสแอโนดที่ให้แก่ SCR2 โดยผ่าน R3 นั้นมีค่า ต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของมัน

image009

รูปที่ 5 วงจรฟลิปฟลอป โดยใช้เอสซีอาร์

image005[4]ในรูปที่ 5 เป็นการดัดแปลงวงจรมาจากรูปที่ 4 โดยให้ทำหน้าที่ เป็นวงจรฟลิปฟลอปในการขับหลอดไฟ 2 ดวง โดยมีการทำงานดังนี้ สมมติว่า SCR1 กำลังทำงานอยู่ SCR2 จะไม่ทำงาน ดังนั้น C1 จะถูกประจุจนเต็มโดยผ่านหลอดไฟ L2 ซึ่งต่ออยู่กับไฟบวก

image005[5]สถานะของการทำงานของวงจรจะถูกเปลี่ยนไปเมื่อสวิตช์ S2 ถูกกดลงโดย SCR2 จะทำงานส่วน SCR1 จะหยุดทำงาน เนื่องจากผลของตัวเก็บประจุที่ต่ออยู่ที่ขาแอโนดนั่นเอง ในขณะเดียวกัน C1 จะถูกประจุใหม่ให้เต็มโดยผ่านหลอด ไฟ L1 และเมื่อกดสวิตช์ S1 การ ทำงานจะถูกกลับมาเป็นเดิมอีกโดย SCR2 จะหยุดทำงาน เนื่องจากผลของ C1 เช่นกัน

image011

รูปที่ 6 การใช้เอสซีอา ร์ ในการควบคุมการทำงานของบัซเซอร์ โดยจะทำงานเฉพาะในช่วงที่กดสวิตช์ S1 เท่านั้น

image005[6]นอกจาการใช้เอสซีอาร์ในการควบคุมทำงานของโหลดที่เป็นหลอดไฟดัง ตัวอย่างที่ได้อธิบายไปแล้วข้างต้นเรายังสามารถนำมาใช้ ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ ประเภทอื่น เช่นดังตัวอย่างในรูปที่ 6 โดยโหลดในที่นี้จะเปลี่ยน เป็นบัซเซอร์ หรืออาจจะเป็นวงจรอะไรก็ได้ ที่มีลักษณะของการตัดการทำงานภายในตัวเองอยู่ตลอดเวลาเช่นกระดิ่งไฟฟ้า เป็นต้น วงจรเหล่านี้จะทำงานเฉพาะในช่วงที่มีการกดสวิตช์ S1 เท่านั้น

image005[7]จุดสังเกตอยู่ที่ว่าโหลดประเภทนี้จะทำหน้าที่เหมือนกับมีสวิตช์ ที่มีการเปิด / ปิดวงจรให้ตัวมันเองอยู่ตลอดเวลาดังนั้น เมื่อต่อโหลดประเภทนี้ลงไปในวงจรดังรูปที่ 6 แล้ว วงจรจะไม่สามารถคงสภาพการทำงานเรื่อย ๆ ไปได้อย่างปกติทั่วไป โดยจะมีการทำงานก็เฉพาะในช่วงที่มีการกดสวิตช์ S1 เท่านั้น และเนื่องจากโหลดชนิด นี้มีลักษณะ เป็นตัวเหนี่ยวนำไฟฟ้า ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องต่อไดโอด D1 คร่อมตัวมันอยู่ เพื่อลดแรงดันย้อนกลับที่เกิดขึ้น

image013

รูปที่ 7 วงจรที่ดัดแปลงมาจากรูปที่ 6 ให้สามารถคงสภาพการทำงานอยู่ได้ โดยใช้กระแสที่ไหลผ่านความต้านทาน R3

image005[8]วงจรนี้สามารถดัดแปลงให้มีความสามารถในการคงสภาพการทำงานได้ เหมือนเดิม โดยต่อความต้านทาน 470 โอห์ม ขนานกับโหลด ดังในวงจรรูปที่ 7 ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ กระแสแอโนดไม่ได้หยุดไหล ในขณะที่มีการตัดการทำงานภายในของโหลดประเภท นี้ แต่จะมีปริมาณกระแสขนาดหนึ่ง ที่ไหลต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาโดยผ่านความต้านทาน R3 ที่ ใส่เพิ่มลงไป ดังนั้น เมื่อกดสวิตช์ S1 แล้ว วงจรจะคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะกดสวิตช์ S2 ซึ่งเป็ฯ การเปิดวงจรของส่วนกระแสที่ไหลผ่าน R3 การทำงานจึงหยุดลงได้

image015

รูปที่ 8 วงจรที่แสดงให้เห็นถึงผลของ rate - effect ที่ทำให้เอสซีอาร์ เกิดการทำงานขึ้นได้เอง โดยไม่มีสัญญาณทริกที่ขาเกต

image005[9]วงจรสุดท้ายของการยกตัวอย่างใช้เอสซีอาร์ ในการควบคุมระบบไฟตรงได้แสดงไว้ในรูปที่ 8 เป็นวงจรที่แสดงถึงผลของ rate - effect ที่ ทำให้เอสซีอาร์เกิด การทำงานขึ้นได้เอง ในขณะที่ไม่มีการป้อนสัญญาณทริก เกอร์ให้แก่เกต

image005[10]ในวงจรนี้กำหนดให้เอสซีอาร์ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายให้แก่โหลดที่ เป็นหลอดไฟขนาด 3 โวลต์ที่ต่ออยู่ที่ขาแอโนด โดยมีแหล่งจ่ายแรงดันขนาด 4.5 โวลต์ ผ่านสวิตช์ S1

image016ขอให้สังเกตว่าแหล่งจ่ายนี้ได้ถูกกำหนดให้จ่ายกระแสให้แก่กระดิ่ง ไฟฟ้าขนาด 4.5 โวลต์ด้วย โดยผ่านสวิตช์ S3 กระดิ่ง ไฟฟ้านี้เป็นตัวสร้างหรือทำให้เกิดทรานเซี้ยนต์ ขึ้นในสายของแหล่งจ่ายซึ่งก็จะส่งผลไปยังแอโนดของเอสซีอาร์ด้วย ผลของทรานเซี้ยนต์ที่เกิดขึ้นนี้จะมีผลทำให้เอสซีอาร์เกิดการนำกระแสขึ้นได้ แม้ในขณะที่ไม่มีสัญญาณทริกให้แก่เกต

image016[1]ทรานเชี้ยนต์ที่ทำให้เกิด rate - effect นี้จะต้องมีค่าอัตราการเพิ่มของแรงดัน (rate - of - rise value) ประมาณอย่างน้อย 20 โวลต์ / ไมโครวินาทีการแก้ความผิดพลาด ที่เกิดขึ้นนี้ สามารถใช้ R2 และ C1 ซึ่งต่ออยู่ในวงจรดังรูป โดยมีสวิตช์ S2 ควบคุม

image016[2]การแสดงให้เห็นถึงผลของ rate - effect นี้ สามารถทำได้โดยเปิดวงจรสวิตช์ S2 ปิดวงจรสวิตช์ S1 จะเห็นว่าเอสซีอาร์จะ ยังไม่ทำงาน แต่เมื่อกดสวิตช์ S3 เพื่อจ่ายกระแสให้แก่กระดิ่ง เมื่อกระดิ่งไฟฟ้าทำงานผลก็คือ เอสซีอาร์จะเริ่มทำงานด้วย และหลอดไฟจะติดสว่าง ซึ่งเป็นผลเนื่องจากทรานเซี้นนต์ที่สามารถทริกให้เอสซีอาร์ เกิดการทำงานและจะคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนี้ แม้จะปล่อยสวิตช์ S3 แล้วก็ตาม

image016[3]ต่อไปขอให้ลองดูอีกครั้งหนึ่งโดยปิดสวิตช์ S2 และ S1 แล้วกดสวิตช์ S3 เพื่อให้กระดิ่งไฟฟ้าทำงานขึ้นนั้น จะเห็นได้ว่า เอสซีอาร์ไม่ เกิดการทำงานขึ้นอย่างใน การทดสอบครั้งแรก เนื่องจากผลของความต้านทานของโหลด คือหลอดไฟรวมกับ R2 และ C1 จะ ทำหน้าที่เป็นวงจรลดอัตราการเพิ่มของแรงดันที่แอโนด เนื่องจากทรานเซี้ยนต์ที่เกิดขึ้น จึงเป็นการป้องกันไม่ให้เอสซีอาร์เกิดการทำงานผิดพลาด

ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของเอสซีอาร์ในการควบคุมระบบไฟสลับ

image018

รูปที่ 9 การใช้เอสซีอา ร์ในการควบคุมระบบไฟสลับ เพื่อใช้ขับโหลด ในลักษณะครึ่งคลื่น

image002[11]ในรูปที่ 9 เป็นวงจรจ่ายแรงดันแบบครึ่งคลื่น เพื่อใช้ขับโหลด ที่เป็นหลอดไฟขนาด 100 วัตต์ โดยใช้ไฟย้าน เมื่อสวิตช์ S1 เปิดออก จะไม่มีสัญญาณทริกให้แก่เกต ดังนั้นเอสซีอาร์และ หลอดไฟจะไม่ทำงาน แต่เมื่อสวิตช์ S1 ถูกปิดลงในช่วงของครึ่งรูปคลื่น ทางลบ เอสซีอาร์จะ ถูกไบแอสกลับ และสัญญาณที่จะไปทริกที่เกตุถูกกั้นไว้โดยได โอด D1 ดังนั้นเอสซีอาร์จะไม่ทำงาน ส่วนในช่วงครึ่งรูปคลื่นทางบวก เอสซีอาร์และ D1 จะถูกไบแอสตรง ดังนั้น วงจรทั้งหมดจะทำงาน

image002[12]แต่ก็ให้สังเกตว่าหลังจากที่เอสซีอาร์ทำงานได้เพียงชั่วขณะหนึ่ง แรงดันที่ขาแอโนดจะตกลงใกล้ศูนย์ นั่นคือไฟสลับกำลังจะเปลี่ยนเป็นครึ่งรูปคลื่นทางลบอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการหยุดการทริกที่เกต เนื่องจากแรงดันที่เกตมีค่าต่ำเกินไปที่จะทริกได้ แต่เอสซีอาร์ก็จะยังคงสภาพการทำงานต่อไป จนกระทั่งกระแสแอโนดมีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของ มัน หลังจากนั้นเอสซีอา ร์จะหยุดทำงาน และจะเริ่มทำงานใหม่ ในช่วงจังหวะของครึ่งรูปคลื่นทางบวกลูกต่อไป และเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าโหลด จะขับให้ทำงานเพียงครั้งรูปคลื่นเท่านั้น

image002[13]การใช้เอสซีอา ร์ในการควบคุมระบบไฟบ้านหรือไฟสลับนี้ สามารถนำไปใช้ขับโหลดในลักษณะเต็มรูปคลื่นได้เช่นกันดังวงจรในรูปที่ 10 และ 11 ซึ่งทำได้ 2 วิธีด้วยกัน ในวงจรดังกล่าวจะเห็นได้ว่าไฟสลับได้ถูกเปลี่ยนให้เป็นไฟตรงแบบเต็มคลื่นที่ ไม่เรียบโดยใช้ไดโอด 4 ตัวต่อเป็นวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ และนำไฟตรงที่ได้นี้ป้อนให้แก่เอสซีอาร์ เมื่อสวิตช์ S1 เปิดวงจรเอสซีอาร์จะ ไม่ทำงาน ดังนั้นจะไม่มีกระแสไหลผ่านวงจรบริดจ์และโหลด แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลง เอสซีอาร์ก็จะถูกกระตุ้นให้ทำงาน เมื่อช่วงครึ่งรูปคลื่นแรกของไฟตรงที่ได้นั้นเข้ามา ในลักษณะนี้โหลดจะถูกขับด้วยลักษณะเต็มรูปคลื่น

image020

รูปที่ 10 การใช้เอสซีอา ร์เพื่อควบคุมระบบไฟสลับ และขับโหลดใน ลักษณะเต็มคลื่น

image005[11]ในรูปที่ 10 จะเห็นว่า โหลดถูกนำไปต่ออยู่ ด้านที่เป็นไฟตรงของวงจรบริดจ์ และมีฟิวส์ต่ออยู่ด้านที่เป็นไฟสลับเพื่อป้องกันการลัดวงจรที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ในวงจรนั้น แต่ในรูปที่ 11 โหลดจะถูกนำไปต่ออยู่ด้านที่เป็นไฟ สลับแทนวงจรนี้ไม่จำเป็นต้องมีฟิวส ์เนื่องจากโหลด เอง จะทำหน้าที่เป็นตัวป้องกันกระแสเกินไปในตัว

image022

รูปที่ 11 การดัดแปลงวงจรจากรูปที่ 10 โดยให้โหลดต่ออยู่ด้านไฟสลับของวงจรบริดจ์

image005[12]เอสซีอาร์นี้ยังสามารถนำมาต่อขนานกันในลักษณะกลับขั้วกัน ได้ นั่นคือแอโนดชนแคโทด เพื่อนำไปใช้งานในการควบคุมให้สามารถขับโหลดได้ในลักษณะเต็มคลื่นโดย ที่ไม่ต้องใช้วงจรบริดจ์ แต่วิธีดังกล่าวนี้ไม่นิยมใช้เนื่องจากมีอุปกรณ์อีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะการ ทำงานตามต้องการนี้ได้นั่นคือ ไตรแอก

ทฤษฎีพื้นฐานของไตรแอก

image002[14]ลักษณะโครงสร้างของไตรแอกนี้เหมือนกับการนำเอาเอสซีอาร์ 2 ตัวมาต่อขนานกันในลักษณะกลับขั้ว ส่วนขาเกตต่อร่วมเข้าด้วยกัน ดังนั้นไตรแอกจะทำหน้าที่เป็นตัวควบคุม ระบบไฟได้ทั้งแบบไฟตรง และไฟสลับ นั้นคือความสามารถในการนำกระแสได้ทั้งสองทิศทาง โดยการทริกที่เกตนั้นก็สามารถ กระทำได้ทั้งสองทิศทางเช่นกัน

image024

รูปที่ 12 ก. สัญญลักษณ์ของไตรแอก 12 ข. การใช้งานพื้นฐาน

image002[15]ในรูปที่ 12 ก และ 12 ข แสดงถึงสัญลักษณ์และการใช้งานแบบพื้นฐานของไตรแอก โดยทำหน้าที่คล้ายกับสวิตช์ของแหล่งจ่ายไฟสลับ โหลดจะถูกต่ออยู่ที่ขั้วด้านหนึ่ง ของไตรแอก ส่วนสวิตช์ S1 ใช้ป้อนสัญญาณทริกให้เกต ต่อไปจะขอกล่าวถึงคุณสมบัติพื้นฐานเป็นข้อของไตรแอกซึ่งมีดังนี้

image002[16]1. โดยปกติ ถ้าไม่มีสัญญาณทริกที่เกต ไตรแอกจะไม่ทำงานโดยจะมีลักษณะเหมือนกับสวิตช์ที่ถูกเปิดวงจร

image002[17]2. ถ้าในกรณีที่ MT2 และ MT1 ถูกป้อนด้วยแรงดันบวกและลบตามลำดับไตรแอกจะถูกกระตุ้นให้ทำงาน ได้โดยการป้อนสัญญาณพัลส์เพียงสั้น ๆ ที่เกตของมัน ไตรแอกใช้เวลาเพียง 2 - 3 x 10 - 6 วินาทีเท่านั้นในการทำเริ่มทำงานในขณะที่ไตรแอกทำงานนั้น จะมีแรงดันตกคร่อมตัวมัน มีค่าประมาณ 1 หรือ 2 โวลต์ เท่านั้น และก็เช่นกันคือเมื่อไตรแอกเริ่มทำงานแล้ว ก็จะสามารถคงสภาพการทำงานอยู่เช่นนั้นต่อไปเรื่อย ๆ ตราบเท่าที่ยังมีกระแสไหลผ่านตัวมันอย่างต่อเนื่อง

image002[18]3. หลังจากที่ไตรแอกคงสภาพการทำงานอยู่นั้น ทางเดียวที่จะหยุดการทำงานลงได้ ก็โดยการลดปริมาณกระแสที่ไหลผ่านตัวมันลง ให้มีค่าต่ำกว่ากระแสโฮลดิ้งของมัน ในกรณีที่ใช้ไตรแอกในการจ่ายกระแส AC การหยุดทำงานจะเกิดขึ้นอย่างอัตโนมัติ เมื่อแรงดันของไฟสลับเข้าใกล้จุดตัดศูนย์ที่เกิดขึ้น ทุก ๆ ครึ่งคลื่น นั่นคือกระแสจะลดลงเป็นศูนย์

image002[19]4. ไตรแอกถูกกระตุ้นให้ทำงานได้ ทั้งสัญญาณแบบบวกและลบที่ป้อนให้แก่ขาเกต โดยไม่คำนึงถึงขั้วที่ต่ออยู่ที่ MT1 และ MT2 ดังนั้น การทำงานของไตรแอกนี้จะมีอยู่4 โหมดเมื่อเปรียบเทียบกับขั้วแรงดันที่ป้อนให้แก่ขาต่าง ๆ ของมัน ข้อแตกต่างกันเล็กน้อยของการทำงานในโหมดต่าง ๆ คือในกรณีของโหมดที่ขั้วแรงดันที่ให้แก่ขา MT2 และเกตเหมือนกัน (ทั้ง บวกและลบ) จะทำให้มีค่าความไวที่เกตสูงขึ้น

image002[20]5. ไตรแอกสามารถทนการกระชากของกระแสได้สูง เช่นโดยปกติสำหรับไตรแอกที่ทนกระแสปกติได้ 10 แอมแปร์ (rms) สามารถทน การกระชากของกระแสในช่วงหนึ่ง คาบเวลาของไฟ 60 เฮิรตซ์ได้สูงถึง 100 แอมแปร์ เป็นต้น

ตารางที่ 2 แสดงคุณสมบัติที่สำคัญของไตรแอกที่นิยมใช้

image026

image002[21]ในตารางที่ 2 แสดงถึงคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญของไตรแอกที่นิยมใช้กันมาก จากคุณสมบัตินี้จะช่วยให้เลือกใช้ไตรแอกได้เหมาะกับงานที่ต้องการต่อไปจะได้ มาดูกัน ถึงการใช้งานอย่างง่าย ๆ ของไตรแอก

ตัวอย่างการใช้งานพื้นฐานของไตรแอก

image028

รูปที่ 13 การใช้งานไตรแอก โดยหม้อแปลง T1 เป็นตัวจ่ายแรงดันทริกให้กับเกต

image002[22]วงจรในรูปที่ 13 เป็นการนำเอาไตรแอกมาใช้งานเป็นสวิตช์ควบคุมไฟสลับ โดยมีการทริกที่เกตเป็นแบบไฟตรงซึ่งได้มาจากทรานส์ฟอร์เมอร์ T1 เมื่อสวิตช์ S1 เปิดวงจรอยู่จะไม่มีกระแสไหลผ่านเข้าไปที่เกต ดังนั้นจึงทำให้ไตรแอกไม่ทำงาน แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลงก็จะเป็นการทริกเกต ทำให้ไตรแอกเริ่มนำกระแส ดังนั้นโหลดก็จะทำงาน ในกรณีของโหลดที่เป็นแบบตัวเหนี่ยวนำเช่น มอเตอร์ จำเป็นที่จะต้องใช้ R2 และ C2 ลงไปใช้ในวงจรด้วยเพื่อป้องกันผลของ rate - effect ที่ อาจเกิดขึ้นได้

image030

รูปที่ 14 วงจรที่ดัดแปลงจากรูปที่ 13 โดยใช้ UJT เป็นตัวกำเนิดความถี่ที่ใช้ป้อนเป็นสัญญาณทริกให้เกต

image002[23]จากวงจรนี้จะเห็นได้ว่าอีกด้านหนึ่งของทรานส์ฟอร์ เมอร์ T1 ต่ออยู่กับไฟสลับ ดังนั้นจึงอาจเกิดอันตรายขึ้นได้จึงดัดแปลงวงจรโดยใช้ UJT เข้าช่วยดังรูปที่ 14 ในขณะที่ S1 ถูกปิดอยู่ UJT จะทำหน้าที่กำเนิดความถี่สูงเป็นหลาย ๆ กิโลเฮิรตซ์ ซึ่งอย่างน้อยจะต้องมีพัลส์ที่ทริกแก่เกต 50 ลูกในทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับ ดังนั้นไตรแอกจะถูกกระตุ้นให้ทำงานเกือบจะเป็นทันทีที่ปิดวงจรสวิตช์ S1 และก็จะเป็นการจ่ายพลังงานเต็มที่ให้แก่โหลดด้วย ตลอดในช่วงที่ S1 ยังปิดวงจรอยู่

image032

รูปที่ 15 วงจรแบบพื้นฐานที่สุดในการใช้งานไตรแอก

image033ในรูปที่ 15 แสดงถึงการที่ไตรแอกสามารถทำงานเป็นสวิตซ์ ที่ใช้ควบคุมการจ่ายกระแสโหลดแบบที่ง่ายที่สุดโดยเมื่อสวิตซ์ S1 เปิดวงจรอยู่ ไตรแอกและโหลดจะไม่ทำงาน แต่เมื่อ S1 ถูกปิดวงจรลง ที่จุดเริ่มต้นของทุก ๆ ครึ่งตามของสัญญาณไฟสลับที่ให้นั้นไตรแอกจะยังไม่นำกระแส แต่หลังจากนั้นเพียงเล็กน้อยแรงดันที่ขาเกต ก็มีค่าสูงพอที่จะทำให้ไตรแอกเริ่มนำกระแสได้ ดั้งนั้น หลอดไฟจะติดสว่าง และไตรแอกจะหยุดทำงานลงอีก เมื่อแรงดันของสัญญาณไฟสลับเข้าใกล้จุดตัดศูนย์อีกครั้ง แล้วก็จะเริ่มทำงานใหม่เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ แต่สำหรับโหลดที่เป็นหลอดไฟแล้ว จะไม่รู้สึกว่ามีการติด / ดับสลับกัน เนื่องจากช่วงที่ไตรแอกไม่นำกระแสนั้นสั้นมาก

image033[1]วงจรในรูปที่ 15 นี้สามารถดัดแปลงให้มีการจ่ายไฟให้แก่โหลด ในลักษณะที่เป็นครึ่งคลื่นได้อย่างง่าย ๆ โดยใส่ไดโอดลงไประหว่าง S1 และ R1 ในวงจร ขั้วของไดโอดที่ใส่ลงไปนั้น จะเป็นตัวกำหนดว่าสัญญาณครึ่งคลื่นของไฟสลับที่จะจ่ายให้แก่โหลดนั้นเป็น ซีกบวกหรือลบ

การควบคุมกำลังไฟแบบเฟสทริก เกอร์

image002[24]จากตัวอย่างของการใช้งานเอสซีอาร์ และไตรแอกที่กล่าวมาตั้งแต่ต้นนี้เป็นการใช้งานในลักษณะเป็นสวิตช์ เปิด / ปิด การจ่ายไฟให้แก่โหลด ต่าง ๆ แต่ความจริงแล้วการใช้งานสามารถขยายออกไปได้อีกมาก เช่น ใช้เป็นวงจรหรี่ความสว่างของหลอดไฟ หรือเป็นวงจรควบคุมความเร็วของมอเตอร์ เป็นต้นซึ่งก็ล้วนแล้วแต่เป็นการใช้งานควบคุมกำลังไฟ ที่จะจ่ายให้แก่โหลดในระบบที่เรียกว่าเฟส - ทริก เกอร์

image002[25]หลักการของวงจรที่มีลักษณะเป็นเฟส - ทริกเกอร์นี้ใช้ไตรแอกเป็นตัวควบคุมกำลังไฟที่จ่ายให้แก่โหลด โดยแทนที่จะทริกขา เกตด้วยสัญญาณไฟตรงนั้นตรง ๆ ก็ทริกโดยมีการหน่วงของเฟสด้วยวง จรอีกส่วนหนึ่ง

image035

รูปที่ 16 การเปลี่ยนแปลงค่าของกำลังไฟฟ้าที่ป้อนให้แก่โหลด โดยกำหลดได้จากตำแหน่งเวลาของการทริกที่ให้แก่ไตรแอก

image002[26]การหน่วงเฟสมีผลดังนี้คือ ถ้าไตรแอกถูกทริกที่ตำแหน่งเฟส 10 องศาหลังจากที่ทุก ๆ ครึ่งรูปคลื่นเริ่มเข้ามากำลังไฟเกือบทั้งหมดก็จะถูกป้อนให้แก่โหลด แต่ถ้าการทริกที่ตำแหน่งเฟส 90 องศา หลังจากทุก ๆ ครึ่งคลื่นเริ่มเข้ามา จะทำให้กำลังไฟที่ป้อนให้แก่โหลดนั้น ลดลงเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของกำลังทั้งหมด และถ้าไปทริกที่ ตำแหน่งเฟส 170 องศา หลังจากที่ทุก ๆ ครึ่งรูปคลื่นเข้ามาแล้ว จะมีเพียงกำลังไฟส่วนน้อยเท่านั้นที่ป้อนให้แก่โหลด ขอให้ดูรูปที่ 16 ประกอบ จะเข้าใจได้ยิ่งขึ้น

image002[27]มีหลาย ๆ วิธีที่สามารถควบคุมตำแหน่งเฟสที่ ต้องการทริก แต่ที่นิยมกันมากมีอยู่ 3 วิธีคือการใช้ UJT, ไอซีที่สร้างขึ้นเพื่อทำงานนี้ โดยเฉพาะหรือไดแอก (Diac) รวมกับวงจร ตัวต้านทานและตัวเก็บประจุ แต่โดยทั่ว ๆ ไปมักจะใช้ไดแอกดังแสดงไว้ในรูปที่ 17

image002[28]ไดแอกทำหน้าที่คล้ายกับสวิตช์ที่ทำงานเมื่อแรงดันที่ตกคร่อมตัว มันสูงถึงค่าที่กำหนดไว้ และยอมให้กระแสไหลผ่านได้ทั้งสองทิศทาง เมื่อนำไดแอกไปต่อคร่อมเข้ากับ วงจรจ่ายแรงดัน มันจะมีค่าความต้านทานสูงมาก จนกระทั่งแรงดันที่ให้มีค่าประมาณ 35 โวลต์ ที่จุดนี้มันจะเปลี่ยนสภาพตัวเองให้มีค่าความต้านทานต่ำในทันที และจะคงสภาพ อยู่เช่นนั้น จนกระทั่งแรงดันที่ให้ลดลงต่ำกว่า 30 โวลต์ จึงเปลี่ยนกลับไปเป็นความต้านทานสูงอย่างเดิม

image037

รูปที่ 17 การใช้ไดแอกและ RC เป็นตัวควบคุมตำแหน่ง ของเฟสที่จะทริก

image002[29]ในวงจรรูปที่ 17 จะเห็นว่าเมื่อทำการป้อนไฟสลับให้แก่วงจรแล้ว C1 จะ ถูกประจุขึ้นด้วยกระแสที่ไหลผ่าน R1 ทำให้แรงดันคร่อม C1 มีค่าเพิ่มขึ้น จนกระทั่งถึง 35 โวลต์ ที่จุดนั้นไดแอกจะนำกระแสจากการคายประจุของ C1 ซึ่ง เป็นการทริกให้ไตรแอกเริ่มทำงาน และจะคงสภาพอยู่เช่นนั้น จนกว่าสัญญาณไฟสลับมีแรงดันเข้าใกล้จุดตัดศูนย์ ที่จุดนี้ C1 จะเริ่มถูกประจุขึ้นอีกครั้งหนึ่ง จนกระทั่งเกิดการทริกให้แก่ไตรแอกอีกครั้ง เป็นเช่นนี้เรื่อย ๆ ไป

image002[30]สังเกตค่าของ R1 และ C1 จะต้องมีค่าเหมาะสมที่จะทำให้ช่วงเวลาในการประจุให้ C1 มีแรงดันสูงถึงค่า 35 โวลต์ ในช่วงเวลาที่ไม่เกินครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับที่ให้ การเปลี่ยนแปลงเฟสของการทริก สามารถทำได้โดยปรับค่าของ VR1 จากการทำงานของวงจรนี้จะทำให้เราสามารถควบคุมกำลังไฟที่ ป้อนให้แก่โหลดได้ตามต้องการ ซึ่งถ้าโหลดเป็นไฟเราก็จะสามารถควบคุมความสว่างได้ตามต้องการนั่นเอง

สัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ

image002[31]ในทุก ๆ ครั้งที่ไตรแอกเริ่มทำงานนั้น กระแสที่จ่ายให้แก่โหลดก็จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากศูนย์ไปยังค่าที่กำหนดจากความต้านทานภายในของโหลด และแรงดันที่ให้ภายในช่วงเวลาสั้น ๆ ประมาณ 2 - 3 x 10 - 6 วินาที การเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีทันใดนี้ จะส่งผลให้เกิดสัญญาณรบกวนความถี่วิทยุ หรือเรียกว่า RFI ขึ้น ค่า RFI ที่เกิดขึ้นนี้จะมีค่ามากที่สุดในตำแหน่ง ที่มีการทริกที่เฟส 90 องศา และมีค่าต่ำสุดที่ 0 องศา และ 180 องศา ในทุก ๆ ครึ่งคาบเวลาของสัญญาณไฟสลับที่ใช้

image002[32]ในกรณีของวงจรหรี่ไฟนั้น อาจจะต้องใช้สายที่ต่อระหว่างวงจรกับโหลดยาวมาก ดังนั้น RFI จะ มีผลมากเนื่องจากสามารถกระจายคลื่นสัญญาณรบกวนได้ตลอดความยาวของสาย ดังนั้น ในทางปฏิบัติควรจะมีวงจรเรโซแนนซ์ที่ทำหน้าที่ลดสัญญาณ RFI นี้ต่ออยู่ด้วย

เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์

image002[33]ในกรณีของโหลดที่ต้องการกำลังไฟสูง เช่นตัวกำเนิดความร้อนที่ใช้ไฟฟ้าโดยใช้ไตรแอกควบคุมการทำงาน จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคพิเศษในการลดค่าของ RFI นี้ ถ้ากรณีที่ใช้ไตรแอกทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิด / ปิดการทำงานเท่านี้ ผลของ RFI จะเกิดขึ้นทุก ๆ ครั้งที่มีการปิดวงจรสวิตช์ให้ระบบเริ่มทำ งาน และผลนี้จะมีค่ามากที่สุด ถ้าในขณะที่เปิดระบบให้ทำงานในช่วงจังหวะที่มีเฟสเป็น 90 องศาพอดี RFI นี้จะลดลงได้โดยใช้ เทคนิคของจุดตัดศูนย์เข้าช่วย ดังแสดงไว้ในวงจรรูปที่ 18

image038

รูปที่ 18 การใช้ตัวตรวจจับการตัดศูนย์เป็นตัวทริกไตร แอกเพื่อลดผลของ RFI ให้ต่ำที่สุด

image005[13]จากรูปจะเห็นได้ว่า R1, D1, D2 และ C1 ทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายไฟตรง 12 โวลต์ ที่ป้อนให้แก่วงจรตรวจจับการตัดศูนย์ ซึ่งจะต่อโดยตรงอยู่กับไฟสลับวงจร ตรวจจับการตัดศูนย์นั้นสามารถสร้างขึ้นได้โดยใช้ทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัว โดยจะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้ วงจรนี้จะทำหน้าที่เป็นตัวป้อนสัญญาณพัลส์เพื่อทริกขาเกตของไตรแอก ในขณะที่สัญญาณไฟสลับที่ให้มีการตัดศูนย์เกิดขึ้นทุกครั้ง ดังนั้นการทริกจะเกิดขึ้นในจังหวะที่เฟสของ สัญญาณไฟสลับเป็น 0 องศา เท่านั้น จึงทำให้ RFI ที่เกิดขึ้นมีค่าน้อยที่สุด

image005[14]เทคนิคการใช้จุดตัดศูนย์นี้ ใช้กับวงจรที่ต้องการปรับค่ากำลังไฟที่จะป้อนให้แก่โหลด ได้ เพื่อลดค่าของ RFI ลงได้เช่นกัน โดยเปลี่ยนสวิตช์ S1 ในรูปที่ 18 ไปเป็นวงจรสร้างสัญญาณพัลส์ที่ สามารถปรับอัตราส่วนของช่วงสัญญาณ ที่มีลูกคลื่นกับช่วงเว้นว่างได้ ดังนั้น โหลดจะได้รับไฟสลับเป็นช่วง ๆ ไป นั่นคืออาจจะได้รับ 4 ลูกคลื่นและเว้นไปอีก 4 ลูกคลื่นสลับกันเช่นนี้เรื่อย ๆ แต่ลูกคลื่นแต่ละลูกที่ได้รับจะเต็มลูกคลื่นเสมอ

image039

รูปที่ 19 ตัวอย่างการแบ่งคาบเวลาการจ่ายไฟสลับให้แก่โหลด เป็นช่วง ๆ โดยมีความยาวช่วงละ 8 ลูกคลื่น

image005[15]ในรูปที่ 19 แสดงลักษณะของไฟสลับที่ป้อนให้แก่โหลดในวิธี นี้ โดยในที่นี้จะแบ่งคาบเวลาของการจ่ายไฟสลับทั้งหมดเป็นช่วง ๆ ที่เท่า ๆ กัน ในแต่ละช่วงมี 8 ลูกคลื่น ถ้าไตรแอกถูกทริกให้นำกระแสเพียง 4 ลูกคลื่นและไม่นำกระแส 4 ลูกคลื่น นั่นก็หมายความว่าโหลดจะได้รับกำลังไฟเพียงครึ่งหนึ่งของไฟสลับทั้งหมด และถ้าถูกกำหนดให้ไตรแอก นำกระแสเพียงลูกคลื่นเดียวส่วนอีก 7 ลูกคลื่นไม่นำกระแส ก็หมายความว่าโหลดจะได้รับ กำลังไฟเพียง 1 ใน 8 ส่วนเท่านั้น แต่ขอให้สังเกตว่าจังหวะของการทริกให้ไตรแอกเริ่มมีเฟส 0 องศาเท่านั้นซึ่งก็จะ เป็นการลดผลของ RFI ที่จะเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันเราก็สามารถควบคุมกำลังไฟที่ป้อนให้แก่โหลดได้ตามต้องการ

image005[16]จากสิ่งที่ได้กล่าวมาตั้งแต่จนจบนี้ เป็นเพียงหลักการทำงานและการใช้งานแบบพื้น ๆ ของเอสซีอาร์ และไตรแอกเท่านั้น ในบทความตอนที่ 2 ซึ่งเป็นตอนจบของเรื่องนี้จะได้ กล่าวถึงการใช้งานแบบอื่น ๆ ที่น่าสนใจอีกมาก

...