Donate

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เทอร์โมคัปเปิล ตัววัดอุณหภูมิสูง ( ตอนที่ 1 )

เทอร์โมคัปเปิล ตัววัดอุณหภูมิสูง ( ตอนที่ 1 )

image002image003พระเอกในงานวัดอุณหภูมิภายใต้สภาพแวด ล้อมที่เลวร้าย.

image002[1]นักอิเล็กทรอนิกส์อย่างเราๆ มักจะไม่ค่อย คุ้นเคย กับเทอร์โมคับเปิลเท่าไรนัก. ทั้งๆ ที่เทอร์โมคับเปิลเป็นอุปกรณ์ที่เหมาะ สมที่สุดในการวัดอุณหภูมิที่สูงกว่า 150 องศาเซลเซียสขึ้นไป . ซึ่งงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มักต้องเกี่ยวกับอุณหภูมิสูงๆ เหล่า นี้ เช่น ใน การชุบแข็งเหล็กกล้าชนิดหนึ่ง จะต้องให้ความร้อนแก่เหล็กจนมีอุณหภูมิ ประมาณ 780องศาเซลเซียส แล้วรักษาอุณห ภูมิ นี้ไว้ชั่วขณะหนึ่ง. จากนั้นจึง จุ่มลงไปในน้ำให้เย็นตัวลงทันทีทันใด. โครงสร้างของเนื้อโลหะจะกลายเป็นผลึก ที่มีความเค้นสูง และ มีความแข็ง แกร่งมากเรียกว่า มาร์เทนไซต์ ( martensite ) จุดสำคัญ ของขบวนการชุบแข็งนี้ ก็คือ การรักษาอุณหภูมิที่ 780 องศาเซลเซียส นี้ ให้ถูกต้อง มากๆ. มิ ฉะนั้นเหล็กกล้าที่ได้ก็จะไม่แข็งอย่างที่ต้องการ. งานแบบนี้ละ ครับที่เทอร์โมคับเปิล ถนัด. ถ้าจะใช้ไอซีครวจอุณหภูมิอย่าง LM335Z หรือ ทรานซิสเตอร์ , ไดโอดอย่างทั่วๆ ไป ก็มีหวังกรอบเป็นข้าวเกรียบแน่.

หลักการทำงาน

image002[2]image003[1]เทอร์โมคับเปิลนั้น มีประวัติค่อนข้างเก่าแก่ทีเดียว คือ ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2364 โอยนักฟิสิกส์ ชาวเยอรมันชื่อ โทมัส โจฮานน์ ซีเบค ( Thomas Johann Seebeack ) ได้ค้นพบว่า เมื่อต่อโลหะ 2 ชนิด เข้าด้วยกัน ตามรูปที่ 1 ให้มีรอยต่อ ระหว่างโลหะ2 ชนิด นี้ 2 แห่ง แล้วทำให้รอยต่อทั้งสองมีอุณหภูมิต่างกัน จะเกิดกระแสไฟฟ้าขนาดอ่อนๆ ไหลภายในวงจร การ ที่เกิดกระแสไฟฟ้าไหลได้นี้ เนื่องจากมีความแตกต่างศักย์เกิดขึ้น ที่รอยต่อแต่ละแห่ง และ มีขั้วตรงข้ามกัน. โดยที่แรงดันขั้ว รอยต่อร้อนจะสูงกว่า แรงดันที่รอยต่อเย็น . ความต่างศักย์ที่ เกิดขึ้นบนรอย ต่อของโลหะนี้เราเรียกว่า " แรงดันไฟฟ้าซี เบค " ( Seebeck EMF ) ผลต่างของแรงดันที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดเป็นแรงดันจำนวนหนึ่งที่ ทำให้มีกระแสไหลก็ได้.

image004

รูปที่ 1 วงจรพื้น ฐานของเทอร์โมคัปเปิล

image002[3]แรงดันที่เกิดขึ้นมีค่าน้อยมาก โดยปกติจะมี ค่าประมาณ 0.2 - 0.3 มิลลิโวลต์เท่านั้น. ซึ่งขึ้นอยู่ กับชนิดของโลหะที่นำมา จับคู่ด้วย ได้มีผู้ทดลองจับคู่โลหะชนิดต่างๆ เพื่อทำเป็น เทอร์โมคัปเปิล สำหรับงานแต่ละแบบไว้หลายคู่ แต่ละคู่จะเรียกชื่อตาม ตัวอักษรภาษาอังกฤษตารางที่ 1 แสดงถึงคุณสมบัติของ เทอร์โมคัปเปิลบางชนิดที่นิยมใช้กัน.

ตารางที่ 1 : เทอร์โมคัปเปิลชนิดต่าง ๆ ที่นิยมใช้กัน

image005

image002[4]จากตารางที่ 1 จะเห็นว่าเทอร์โมคัปเปิลชนิด N ที่สร้างจากโลหะผสมของนิกเกิล - โครเมี่ยม - ซิลิ กอน ( Nicrosil ) และ โลหะผสมของ นิเกิล - ซิลิกอน ( Nisil ) นั้น มีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิดีเยี่ยม มีอายุ การใช้งานยาวนานที่ อุณหภูมิสูง ให้แรงดันสูง กว่าเทอร์โมคัปเปิล อุณภูมิสูงๆ ด้วยกัน และ ราคาถูก ทำให้มันได้ รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

image002[5]ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิที่รอยต่อของเทอร์โมคัปเปิล และ แรง ดัน ผลลัพธ์ที่ได้นั้นไม่ได้เปลี่ยน แปลงแบบเชิงเส้น แต่จะคล้ายกราฟพาราโบลา ( parabolic curve ) ดังแสดงในรูปที่ 2 . บรรดา ผู้ผลิตจึงต้องแนบตาราง ความสัมพันธ์ของแรงดันอุณหภูมิ ประจำเทอร์โมคัปเปิลแต่ละชนิดให้ผู้ใช้ทราบด้วย.

image006

รูปที่ 2 ความ สัมพันธ์ระหว่างค่าอุณหภูมิ และแรงดันซีเบคที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นเชิงเส้น แต่เป็นแบบ พาราโบล่า

หลากชนิด หลายแบบ

image002[6]image003[2]เทอร์โมคัปเปิลสำหรับอุณหภูมิสูงๆที่ ใช้งานจริงนั้น มีรูปร่างต่างๆกัน. แบบที่ง่ายที่สุดนั้นอาจจะเป็นลวดเส้นเล็ก ๆ สอง เส้นร้อยผ่านฉนวนที่ทำจากเซรามิก แล้วเชื่อมปลายให้ติดกัน ดังรูปที่ 3. เทอร์โม คัปเปิลแบบนี้ใช้ในเตาเผาเครื่องเคลือบดินเผา ขนาดเล็ก ๆได้ แต่สำหรับการวัดอุณหภูมิ ในสภาพแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนสูง. หรือ เกี่ยว ข้องกับปฏิกริยาเคมี เช่น ไอของสาร เคมีโลหะที่หลอมละลาย หรือ เปลวไฟแล้ว จำเป็นที่จะต้องหุ้มเทอร์โมคัปเปิล ด้วยปลอกโลหะ แล้วบรรจุสารที่เป็นฉนวนไฟฟ้า แต่นำความร้อนได้ดีไว้ระหว่างกลาง ให้ เทอร์โม คัปเปิลติดตั้งอยู่แน่นหนากับปลอกโลหะนั้น ดังแสดงในรูปที่ 4

image007

รูปที่ 3 โครง สร้างพื้นฐานของเทอร์โมคัปเปิลแบบง่าย ๆ ที่ เหมาะสำหรับการวัดอุณหภูมิในเตาอบไฟฟ้า

image002[7]จะเห็นว่ามีวิธีติดตั้งอยู่ 3 แบบ คือ ในรูปที่ 4 ( ก ) จะโผล่ส่วนปลาย ที่เป็นรอยต่อระหว่างโลหะทั้งสองโผล่อกมาแบบนี้ จะให้ผลตอบ สนองต่ออุณหภูมิ เร็วแต่ไม่สามารถทนการกัดกร่อนจากปฏิกริยาเคมีได้.

image008

รูปที่ 4 วิธีที่ นิยมกันในการป้องกันเทอร์โมคัปเปิล ในสภาพแวดล้อมที่มีการกัดกร่อนสูงหรือ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมี (ก) ปล่อย ให้รอยต่อโผล่ออกมา (ข) และ (ค) บรรจุรอยต่ออยู่ในเปลือกหุ้ม

image002[8]วิธีที่สองแสดงในรูปที่ 4 ( ข ) คือ หุ้มรอยต่อทั้งหมดไว้ในปลอก ซึ่งป้องกันการเสียหายได้ดี แต่การตอบสนองต่ออุณหภูมิ จะช้าลง เพราะปลอกหุ้ม และ ฉนวนจะนำความร้อนได้ช้า ซึ่งแก้ไขด้วยการติดตั้ง ในรูปที่ 4 ( ค ) คือ รอยต่อถูกยึดติดกับด้าน ในของปลอกหุ้ม จึงได้ทั้งความไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ และ ป้องกันการ เสียหายได้ดี.

image002[9]โดยทั่วไปแล้ว ในปัจจุบันนี้ เปลือกหุ้มจะทำมาจากเหล็กสแตนเลส หรือ เซรามิก. อย่างไรก็ตาม ในยุคหลังๆ นี้ได้เปลี่ยนมา ใช้โลหะผสมพิเศษ เช่น นิ โครซิล ( Nickel - Chromium - Sillicon ) เพราะมีความเหมาะสมในด้าน สัมประสิทธิ์การขยาย ตัวต่ออุณหภูมิระหว่างปลอกหุ้ม และโลหะที่ใช้ทำตัวเทอร์โมคัปเปิล และ เป็นการลดค่าความเค้นอันเนื่องมาจาก ความร้อนให้ เหลือน้อยที่สุด. ดร. โนแอล เบอร์เลย์ นักวิทยาศาสตร์ชาว ออสเตรเลีย ได้ เผยแพร่พัฒนาการในการปรับปรุงโลหะผสม ที่ใช้ทำ เปลือกหุ้ม เรียกว่า นิโคลเบล ( Nicrobell ) และเป็นผู้ รับผิดชอบการพัฒนาโครงสร้างที่มีแร่เป็นฉนวน และ เปลือกหุ้ม เป็น โลหะ ( Mineral Inmulated , Meltal Sheath หรือ MIMS ) ดังแสดงในรูปที่ 5 ซึ่งได้ กลายม่เป็นโครงสร้างยอดนิยม สำหรับเทอร์โมคัปเปิลอุณหภูมิสูงทั้ง หลายในปัจจุบัน.

image009

รูปที่ 5 โครงสร้างที่มีแร่เป็น ฉนวนและเปลือกหุ้มเป็นโลหะหรือ MIMS ของ เทอร์โมคัปเปิล ซึ่งสามารถดึงลดขนาดจนมีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กลงถึง 0.5 มม.

การใช้งานเทอร์โมคัปเปิล

image002[10]image003[3]ในการวัดอุณหภูมิด้วยเทอร์โมคัปเปิล นั้น จะ ต้องควบคุมอุณหภูมิที่รอยต่อด้านหนึ่งไว้ในอุณหภูมิคงที่. ในขณะที่รอยต่อ อีกด้านหนึ่งอยู่ใน อุณหภูมิที่ต้องการวัด . ถ้าต้องการความเที่ยงตรงสูง จะต้องแช่รอยต่อด้สนหนึ่งไว้ในกระติก น้ำแข็ง ที่ 0 องศาเซลเซียส แต่ถ้าไม่ต้อง การความเที่ยงตรงมากนักก็ปล่อยรอยต่อด้านเย็นไว้ที่อุณหภูมิ ปกติก็ได้ . จากนั้นทำการวัดแรงดัน ที่ได้จากเทอร์โมคัปเปิล แล้วนำมาหาค่าอุณหภูมิที่แท้จริงจากสมการ

image002[11]Va = Vm + V r

image002[12]เมื่อ Va คือ แรงดันซีเบคที่เกิดขึ้นที่รอยต่อแอคทีฟ ( ในอุณหภูมิที่ต้องการทราบ ) Vm คือ แรงดันที่วัดได้ Vr คือ แรงดันซีเบคที่เกิดขึ้นที่รอยต่ออ้างอิง. ( ใน อุณหภูมิคงที่ ) หรือ จะกล่าวง่ายๆ คือ หาค่าแรงดัน V r จากตารางความสัมพันธ์ ระหว่างแรงดัน และ อุณหภูมิ เมื่อทราบค่าอุณหภูมิอ้างอิง ( Tr ) แล้วนำไปบวกกับแรงดันที่วัดได้ ได้ผลลัพธ์เป็นแรงดัน Va แล้วค่อยหาอุณหภูมิที่ ต้องการทราบ ( Ta ) จากตารางเดิมอีกครั้งหนึ่ง.

image002[13]หากพิจารณาจริงๆ แล้ว จุดเชื่อมต่อ สองจุดระหว่างเทอร์โมคัปเปิลกับสายต่อภายนอกที่ต่อไปยังโวลต์มิเตอร์ ก็มีคุณ สมบัติเป็นเทอร์โมคัปเปิลด้วยเหมือนกัน คือ ส่วนที่อยู่ในเส้นประในรูปที่ 6 จึงควรให้สายต่อภายนอกทั้งสองเส้นนี้ เป็นโลหะ ชนิดเดียวกัน และ ให้อุณหภูมิที่รอยต่อทั้งสองเท่ากัน. ก็จะไม่มีผล กระทบกับความถูกต้องของการวัดอุณหภูมิ.

image010

รูปที่ 6 ในทาง ปฏิบัติ รอย ต่ออ้างอิงจะถูกแยกออกเป็นรอยต่อครึ่งหนึ่งสองจุด คือ Jr1 และ Jr2 ซึ่งโลหะที่ใช้ทำเทอร์โม คัปเปิลจะเชื่อมต่อกับวงจรภายนอก

image002[14]นอกจากการวัดอุณหภูมิสูงๆ แล้ว ตัวอย่างการ ใช้งานเทอร์โมคัปเปิลที่น่าสนใจอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ใช้ วัดกำลังส่งออก อากาศของเครื่องส่งวิทยุได้ . วิธีการ คือ ใช้ตัวจ้านทานที่ไม่มี คุณสมบัติของตัวเหนี่ยวนำ ( non - inductive resistor ) ขนาดเล็กๆ ต่อเป็นโหลด ของเครื่องส่งแล้วติดตั้งเทอร์โมคัปเปิลไว้ติดกับตัวต้านทานนี้. แล้วหุ้มด้วย กล่องแก้วสุญญากาศ ดัง แสดงในรูปที่ 7 . ค่ากำลังงานที่สูงขึ้นของเครื่องส่งจะ ทำให้ อุณหภูมิ ของตัวต้านทานเพิ่มขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำลังงาน อาร์เอ็มเอส แล้วทำการปรับแรงดันที่ ได้จากเทอร์โมคัปเปิลให้อยู่ในรูปของระดับกำลังงานของคลื่นวิทยุ. หลักการวัด กำลังงาน ของคลื่นวิทยุวิธีนี้มีความเที่ยงตรงอยู่ในขั้นใช้ได้ทีเดียวง และ ใช้กันอย่างกว้างขวางก่อนที่จะค้นพบวิธีการวัดกำลังงานของ คลื่นวิทยุวิธีอื่น.

image011

รูปที่ 7 เทอร์โม คัปเปิลขนาดเล็กที่บรรจุอยู่ภายในภาชนะที่เป็นสูญญากาศ และตัวต้านทาน ที่เป็นโหลดรวมอยู่ด้วย ซึ่งใช้ในการวัดกำลังงานของความถี่วิทยุ

image002[15]สำหรับการวัดอุณหภูมิแบบทั่วไปจะใช้ วงจรอิเล็กทรอนิกส์อีกเพียงเล็กน้อยง คอยติดตามในตอนที่สองครับ เราจะสร้าง เทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิสูงๆ ถึง 900 องศาเซลเซียส โดยใช้ เทอร์โมคัปเปิล ชนิด K กัน.

เทอร์โมคัปเปิล ตอนจบ

image002[16]image003[4]ในตอนนี้จะอธิบายถึง เทอร์โมมิเตอร์ หรือ ไพรอมิเตอร์. ในทางปฏิบัติที่สามารถใช้ วัดอุณหภูมิได้สูงถึง 900 องศา เซลเซียส เหมาะมากสำหรับการใช้วัด อุณหภูมิในเตาอบขนาดเล็ก ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา เครื่องเคลือบ หรือ การปรับคุณสมบัติของโลหะด้วยความร้อน.

image012

การใช้เทอร์โมคัปเปิลชนิด K ไพโร มิเตอร์แบบง่าย ๆ เหมาะสำหรับการวัดอุณหภูมิในเตาอบได้สูงถึง 900 องศา

image002[17]จากตอนที่แล้วได้กล่าวถึงการใช้ความ ร้อนในการปรับคุณสมบัติของโลหะ ซึ่งทำมาจากเหล็กกล้า เงิน โดยการอบให้มี อุณหภูมิประมาณ 780องศาเซลเซียสและทิ้งไว้ที่อุณหภูมินี้ ประมาณ 15 นาที จึงทำให้เย็น ลงอย่างรวดเร็ว โดยการจุ่มลงในน้ำ หรือ ของเหลวชนิดอื่น. อุณหภูมิจะต้องถูกรักษาไว้ใกล้เคียงกับค่าที่ถูกต้อง. มิฉะนั้นแล้ว ชิ้นส่วนจะไม่เกิดการแข็ง อย่างสม่ำเสมอ และ จะชำรุดเสียหายเมื่อนำไปใช้งาน. ถ้าหากถูกทำให้ร้อนจนเกินไปก่อนี่จะถูก จุ่มให้เย็น. คาร์บอนบางส่วนในเนื้อเหล็กจะไหม้ สลาย ไปในทางตรงกันข้าม ถ้ากากร้อนไม่เพียงพอ " สภาวะของแข็ง " ( solid soulution ) ของเหล็กที่ มีคาร์บอนที่ถูกต้อง จะไม่ เกิดก่อนที่จะทำการจุ่ม ให้เย็น ผลึก ที่แข็งมากของมาร์เทนไซท์ก็จะไม่เกิดขึ้น.

image002[18]วิธีการเก่าแก่ในการตัดสินค่าอุณหภูมิ ที่ถูกต้องก็โดยการดูสีของเนื้อเหล็กด้วยตา ยกตัวอย่างเช่นที่อุณหภูมิ 780 องศาเซลเซียส จะอยู่ตรงกึ่ง กลางระหว่างแดงเชอรี่ และ แดงสด. ซึ่งสีนี้อาจจะง่ายสำหรับ คนที่มีประสบการณ์สูง แต่กับคนที่ไม่ ค่อยมีประสบการณ์อาจคะเน ผิดได้. ซึ่งก็มีวิธที่ดีกว่า คือ การวัดด้วยเทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิ หรือ ไพโรมิเตอร์ ( pyrometer ) ซึ่งมีอยู่หลายชนิด. บางชนิดทำงาน โดยการเปรียบเทียบกับสีที่อ้างอิง.

ไพโรมิเตอร์

image002[19]image003[5]ไพโรมิเตอร์ในทางการค้ามักมีราคาแพง และ ไม่เหมาะกับงานเล็กน้อย. แต่ก็เป็นไปได้ในการสร้างไพโรมิเตอร์อย่างง่าย โดยการใช้เทอร์โมคัปเปิล ซึ่งจะทำหน้าที่ได้เหมือนกัน แต่ด้วยราคาที่ถูกกว่ามาก.

image002[20]ไพโรมิเตอร์ขนาดเล็กที่จะอธิบายในที่ นี้ใช้เทอร์โมคัปเปิล ชนิด K เป็นโพรบ ซึ่งขึ้นอยู่ กับรอยต่อระหว่างโลหะโครเมล - อลูเมล. เทอร์โมคัป เปิลชนิดนี้เหมาะสำหรับการวัดค่าอุณหภูมิในช่วง 900 องศา เซลเซียส โดยจะให้ค่าเอาท์พุต อย่างเหมาะสม และ มีความเที่ยงตรง ตลอดจนมีราคาถูก.

image002[21].สำหรับงานที่ ไม่ต้องการความเที่ยงตรงสูงนัก การใช้เทอร์โมคัปเปิลชนิด K ก็เป็นการเพียงพอ แล้ว. แต่ถ้าหากต้องการค่า ความเที่ยงตรงสูงกว่านี้ และ มีเสถียรภาพดี กว่านี้ อาจจะต้องใช้เทอร์โมคัปเปิลชนิด N .

image002[22].นอกจากนี้ไพ โรมิเตอร์ขนาดเล็กที่อธิบายในที่นี้ไม่ได้จำเพาะเจาะจงที่จะใช้กับเทอร์โม คัปเปิลชนิด K เท่านั้น. ยังสามารถ ใช้กับชนิด N , J หรือ E ก็ได้ หรือ แม้แต่กับชนิด ที่มีราคาแพงขึ้น เช่น ชนิด R และ S.

image002[23]โดยการดัดแปลงเพียงเล็กน้อย แต่ขอเน้นว่า วงจรนี้ตั้งใจสำหรับใช้วัดแบบสมัครเล่น ไม่ได้ออกแบบาหรับการใช้กับอุตสาห กรรม ดังนั้นจึงไม่ ขอแนะนำให้ใช้กับเทอร์โมคัปเปิลแบบแพงๆ เช่น ชนิด R หรือ S .

image002[24]หลักการพื้นฐานในการออกแบบวงจรนี้ก็ เพื่อใช้วัดอุณหภูมิของชิ้นเหล็ก ที่จะทำการปรับคุณสมบัติด้วยความร้อน และยังคงเหมาะกับการวัดอุณหภูมิในเตาอบ. โดยโพรบชนิด K นั้น สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึง 1100 องศาเซลเซียส . ในขณะที่ชนิด N สามารถทนอุณหภูมิได้สูงถึงประมาณ 1250 องศาเซลเซียส . ส่วนชนิด R และ S สามารถทน อุณหภูมิได้สูงกว่าจนถึง ประมาณ 1400 องศาเซลเซียส.

image002[25]ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เทอร์โมคัป เปิลจะผลิตแรงดันเอาท์พุตดีซีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสัดส่วนกับค่าความแตกต่างของ อุณหภูมิ ที่รอยต่อการทำงาน และ รอยต่ออ้างอิง. ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่เราต้องการในการสร้างไพโรมิเตอร์นอกจากตัวเทอร์โมคัปเปิล แล้วก็คือ การวัดแรงดันดีซีขนาดเล็ก หรือ ที่ เรียกว่า ดีซี มิลลิโวลต์มิเตอร์.

image002[26]แน่นอน ทางออกอีกทางหนึ่งก็โดยการใช้ดิจิตอล มัลติมิเตอร์ ซึ่งมีอยู่หลายแบบที่ มีย่านการวัดแรงดันต่ำๆ ที่เหมาะสม. แต่มีราคาค่อนข้างแพง และ ไม่เหมาะกับการนำมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องการไพโรมิเตอร์ สำหรับการวัดอุณหภูมิเตาอบเป็นระยะเวลา นานๆ.

image002[27]วิธีการอื่นๆก็โดยการต่อเทอร์โมคัป เปิลโดยตรงเข้ากับใเตอร์แบบเข็มแกว่งขนาดเล็ก ซึ่งใช้ได้ใน บางสถานการณ์เท่านั้น แต่โดยทั่วไปแล้วผลที่ได้ไม่น่าพอใจ. เรื่องจากเอท์พุตของเทอร์โมคัปเปิลมี ค่าต่ำเกินไป ที่ค่าอุณหภูมิที่เราสนใจยกตัวอย่าง เช่น ที่ เอาต์พุตค่าสูงสุดของโพรบชนิด E จะผลิตแรงดันเพียง 59 มิลลิ โวลต์ ที่อุณหภูมิ 780 องศาเซลเซียส . ในขณะที่ชนิดที่หาได้ ง่ายกว่า คือ ชนิด K จะให้ค่าเอาต์พุตที่ต่ำ กว่า คือ 32.45 มิ ลลิโวลต์ที่อุณหภูมิ 780 องศาเซลเซียส

image002[28]ถ้าหากพิจารณาว่า มิเตอร์แบบ เข็มส่วนใหญ่แล้วจะมีค่าความไวต่อแรงดัน โดยปกติเท่ากับ 100 มิลลิ โวลต์เต็มสเกลโดย ไม่คำนึงถึงค่าความไวของกระแสจะปรากฏชัดเจนว่า การอ่านค่าแรง ดันต่ำๆ เหล่านี้ ที่ค่าความเที่ยงตรงใดๆ เป็นเรื่องที่ยากมาก.

image002[29]ทางเลือกอื่นก็โดยการใช้วงจรขยาย สัญญาณไฟตรงขนาดเล็ก ซึ่งวงจรนี้ทำหน้าที่แปลงมิเตอร์เข็มแกว่งราคาถูกแบบ มาตราฐานขนาด 0 - 1 mA .ให้เป็นดีซีมิ ลลิโวลต์มิเตอร์ ที่มีค่าแรงดันเต็มสเกลที่เหมาะสมขนาด 50 มิลลิโวลต์เพื่อให้เหมาะสมกับโพรบชนิด K .

ไพโรมิเตอร์ทำเอง

image013

วงจรสมบูรณ์ของไพโรมิเตอร์ ซึ่งเป็นวงจรที่ง่าย ๆ

image002[30]วงจรนี้ใช้ออปแอมป์เบอร์ 741 จำนวน 2 ตัว ซึ่งมีราคาถูก และ ใช้แรงดันขนาด 9 โวลต์จากแบตเตอรี่ และ ยังสามารถ ทำงานจากแหล่ง จ่ายไฟตรงขนาด 9 โวลต์. ถ้าหากต้องการใช้วัดเป็นระยะเวลานานๆ.

image002[31]ลักษณะของวงจรขยายแรงดันพื้นฐาน แสดงให้เห็นรูปที่ 1 ตัวต้านทาน R1 จะใช้สำหรับสร้างแรงดัน E1 เพื่อตอบ สนองต่อกระแสของมิเตอร์ I0 และ เนื่องจากอินพุตขั้วลบของออปแอมป์จะต่ออยู่กับด้านบนของ Rf ดังนั้น Ef จะกลายเป็นแรง ดันป้อนกลับทางลบ

image002[32]เนื่องจากออปแอมป์นั้นมีค่าอัตราขยาย เมื่อไม่มีการป้อนกลับ ( open - loopgain ) เท่ากับ A จึงทำให้แน่ใจว่า Ef จะแปรตามแรงดันของเทอร์โมคัปเปิล Ei อย่างใกล้ชิด. ซึ่งเป็นผลให้ กระแสของมิเตอร์ I0 จะแปรผันโดยตรงกับ Ei และ แปรผกผันกับ Rf

image014ดังนั้นวงจรนี้จึงเป็นวงจรแปลงแรงดัน ให้เป็นกระแสแบบเชิงเส้น ( liner voltage - to - converter ) ซึ่งอัตราส่วน จะถูกกำหนดโดยค่าของ Rf โดยการเปลี่ยนค่าของตัวต้านทานนี้ เราสามารถให้มิเตอร์มีค่าความไวใด ๆ ในรูปของอินพุต Ei เป็นมิลลิโวลต์ ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าหากมิเตอร์เป็นแบบ 0 - 1 mA โดยการใช้ R f ค่า 50 โอห์ม จะเปลี่ยนมิเตอร์เป็นขนาด 0 - 50 mV เช่นเดียวกัน ถ้าใช้ Rf ค่า 20 โอห์ม ก็จะเปลี่ยนมิเตอร์นี้เป็นขนาด 0 - 20 mV.

image014[1]การทำเช่นนี้หมายความว่า มิเตอร์ที่ กำหนดสเกลเป็น 0 - 1 mA จะให้ค่าเต็มสเกลหักเหไป เมื่อมีกระแส ผ่านอย่างแน่นอน 1 มิลลิแอมป์ โดยทั่วไปแล้วจะไม่เป็นเช่นนี้ เนื่องจาก มิเตอร์จะมีค่าความคลาดเคลื่อนระหว่าง 3% และ 5% สำหรับความต้อง การในขณะนี้ ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมาก. เนื่องจากความผิดพลาด 5% ในการวัดเอาท์พุตของเทอร์โมคัปเปิล ชนิด K ที่ ประมาณ 800 องศา เซลเซียส จะเทียบเท่ากับการผิดพลาดของอุณหภูมิ ประมาณ 50 องศาเซลเซียส

image014[2]หรือ กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราไม่สามารถ ที่จะใช้ตัวต้านทานค่า 1% สำหรับ Rf และ สมมุติว่าทุกสิ่งใช้ได้. เนื่งจากค่าความ ผิดพลาดจากความคลาดเคลื่อน ในค่าความไวของกระแสมิเตอร์ ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีการปรับแต่ง ( calibration ) ก่อน.

image014[3]เนื่องจากแรงดันเอาท์พุตจากเทอร์โมคัป เปิล ไม่ เป็นฟังก์ชั่นเชิงเส้น กับค่าอุณหภูมิ. เราไม่สามารถจะปรับแต่งมิเตอร์ใน รูปของดีซีมิลลิโวลต์ แล้วจึงใช้ วิธีการ และ ตารางจากตอนที่แล้ว ( ตารางที่ 2 ) ในการหาค่าอุณหภูมิที่ตรงกัน.

การทำงานของวงจร

image002[33]image003[6]คราวนี้มาลองดูวงจรทั้งหมดกันเลย IC1 จะเป็นวงจรขยายแรงดันให้เป็นกระแสแบบ พื้นฐาน. ดังแสดงในรูปที่ 1 โดยการ ใช้ออปแอมป์เบอร์ 741 แบบมาตราฐานราคาถก . เนื่องจากเรา ไม่ต้องการลักษณะพิเศษในรูปของค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ที่สูง หรือ ความ สามารถในการขับเอาท์พุต

image015.

รูปที่ 1 วงจรพื้น ฐานที่ใช้ในวงจรวัดของไพโรมิเตอร์เพื่อทำหน้าที่เป็นวงจรแปลงแรงดันให้เป็น กระแส

image002[34]ออปแอมป์ตัวที่สอง IC2 ใช้สำหรับแบ่งแรงดันของแหล่งจ่ายไฟขนาด 9 โวลต์ เพื่อให้ IC1 ทำงานในส่วนที่เป็นเชิงเส้น ที่สุดของเคิร์ฟการส่งผ่าน ( transfer curve ) IC2 จะถูกต่อเป็นวงจรขยายแรงดันตามที่มี อัตราขยายเท่ากับ 1 มีอินพุต ต่อ เพื่อ แบ่งแรงดัน โดย R5 และ R6 เอาต์พุตอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างแรงดันของแหล่งจ่ายไฟ และ ใช้ สำหรับต่อให้เกิดระดับแรง ดันของแหล่งจ่ายไฟ และ ใช้สำหรับต่อให้เกิดระดับแรงดันไบแอสอ้างอิงสำหรับ IC1 ตัวเก็บประจุ C2 ใช้ป้องกันสัญญาณรบ กวนใดๆ ที่จะเข้าไปยัง IC1 โดยผ่านจุดระดับแรงดันอ้างอิง ดังนี้

image002[35]เทอร์โมคัปเปิลจะถูกต่อเข้ากับอินพุต ของ IC1 โดยผ่านเนตเวอร์กแบบง่ายๆที่ประกอบ ด้วย R1 , R2 และ C1 หน้าที่ของ R1 ก็เพื่อที่จะกลบผลของความต้านทาน ระหว่างสาย และ ขั้ว ต่อในเทอร์โมคัปเปิล. ในขณะที่ C1 ใช้ป้องกันอินพุตของ IC1 จากการลอยอยู่ ขณะที่สายโพรบอาจจะไม่ได้ต่อไว้.

image002[36]โปเทนชิโอมิเตอร์ VR1 ใช้เพื่อลบล้างระดับแรงดันออฟเซ็ตของ อินพุตของ IC1 ซึ่งอาจจะสูงถึง + 15 มิลลิโวลต์ ซึ่ง ค่อนข้างต่ำแต่ ก็มากเพียงพอในที่นี้.

image002[37]ส่วนสุดท้าย VR 2 R 3 R 4 ทั้งหมดนี้ทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานป้อนกลับแระแสเพื่อแทนที่ R f ในรูป ที่ 1 แนวคิดใน ที่นี้ก็เพื่อจัดหาตัวต้านทานที่เป็นผล ซึ่งค่าของมันจะเปลี่ยนแปลงได้ในย่าน แคบๆ เพื่อทำหน้าที่ในการปรับชดเชยสำหรับค่า ความผิดพลาดจากควาคลาดเคลื่อนของการ เคลื่อนที่ของมิเตอร์ และ เป็น การปรับแต่งตัวไพโรมิเตอร์.

image002[38]ค่าของตัวต้านทานป้อนกลับที่แสดงไน วงจรจะสามารถเปลี่ยนแปลงได้จาก 45 ถึง 55 โอห์ม ( ประมาณ บวกลบ 10% จากค่า 50 โอห์ม ) ซึ่งเป็นการ เพียงพอที่จะยอมให้วงจรถูกตั้งค่าความเที่ยงตรงไว้ที่ 50 มิลลิ โวลต์ เต็ม สเกลหักเหเสมือนกับ การเคลื่อนที่จาก 0 - 1

image002[39]วงจรนี้ตั้งใจสำหรับให้ใช้กับเทอร์โม คัปเปิลชนิด K หรือ ชนิดใดๆ ก็ได้ ซึ่งสามารถอ่านค่าได้อย่างเที่ยงตรงจากมิเตอร์ ขนาด 0 - 50 mV ซึ่งรวมไปถึงชนิด J หรือ ชนิด E ( วัดได้สูง ประมาณ 750 องศาเซลเซียส)

image002[40]สำหรับเทอร์โมคัปเปิลที่มีค่าเอาต์พุ ตต่ำกว่า เช่น ชนิด R และ S คุณจะต้องดัดแปลงค่าของ R 3 และ R 4 ใหม่เพื่อ ให้วงจรมีค่า เต็มสเกลหักเหเท่ากับ 20 mV เป็นต้น. โดยค่าของ R 3 เท่า กับ 150 โอห์ม และ R 4 เท่ากับ 27 โอห์ม จะ สามารถมีคุณสมบัติตามนี้ โดยจะให้ผ่านการปรับจากประมาณ 18.6 ถึง 21.25 โอห์ม ( ประมาณ + 6 % จากค่า 20 โอห์ม )

การสร้าง

image016

ภาพแสดงภายในของกล่อง โดยแผ่นวงจรพิมพ์ติดตั้งไว้ในแนวตั้ง ระหว่างมิเตอร์และแบตเตอรี่ 9 โวลต์

image002[41]วงจรสร้างขึ้นบนแผ่นวงจรพิมพ์ขนาดเล็ก ดังแสดงในรูป ขนาด 62 X 31 มม. ซึ่งได้ออกแบบมาสำหรับติดตั้งอยู่ภายใน กล่องพลาสติกขนาดเล็ก.

image017

image002[42]มิเตอรที่ใช้ในวงจรต้นแบบนี้ เป็นแบบสี่ เหลี่ยมขนาดเล็ก ชนิด 0 - 1 mA ขนาด 57 X 52 มม. เพื่อให้ดูง่ายขึ้น และเที่ยง ตรงอาจใช้มิเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ แต่ราคาก็จะสูงกว่านี้.

image002[43]เราใช้ปลั๊ก และ ซ็อกเก็ต 2 ขาที่มี ขั้ว ซึ่ง ที่ตัวปลั๊กมีขากลมๆ 2 ขา ที่มีความโตไม่เท่ากัน. เพื่อต่อเข้ากับตัวเทอร์โมคัปเปิล เข้ากับวงจรที่ใช้วัด. สวิตซ์โยกขนาดเล็กใช้ทำหน้าที่เปิด - ปิด ไฟเข้าเครื่อง.

image002[44]ในการประกอบวงจรวัด ควรจะทำตาม ขั้นตอนโดยใช้ไดอะแกรมเดินสาย และ รูปภาพประกอบ. ในการประกอบอุปกรณ์ ลงบนแผ่นวงจร พิมพ์ ให้ลงตัวต้านทาน และ สายต่อลงไปก่อนแล้วจึงลงตัวเก็บประจุไอซี และ โปแทนชิ โอมิเตอร์ในขั้นตอนสุด ท้าย โดยต้องระวังการลงขาของไอซี และ ตัวเก็บประจุ แบอิเล็กทรอนิกส์ ให้ถูกต้อง. และ ดูว่าได้ติดตั้งโปแทนชิโอมิเตอร์สอง ตัวไว้ในตำแหน่งที่ถูกต้องของมัน.

image018

กาติดตั้งอุปกรณ์และการเดินสายไปยังแผ่นวงจร

image002[45]เมื่อทุกอย่างเสร็จสมบูรณ์ ก็พร้อมที่จะ เริ่มต้นการปรับแต่ง . ในขั้นแรกก็โดยการปรับมิเตอร์อย่างระมัดระวังให้เข็มชี้ ที่ ศูนษ์ ในขณะยังไม่เปิดไฟเข้า เครื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับค่าศูนษ์บนสเกล.

image019

การปรับแต่ง

image002[46]image003[7]คราวนี้ต่อแบตเตอรี่ และ เปิด สวิตซ์ ป้อนไฟเข้าเครื่อง. ในตอนแรกที่ยังไม่ได้ต่อโพรบเข้ากับวงจร สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็คือ การกระดิกของเข็มเพียงเล็กน้อย ออกจากตำเหน่งสเกลที่เป็นศูนษ์ในทิศทางตรงกันข้าม. โดยการปรับเท นชิโอมิเตอร์ VR1 สามารถที่จะลบล้างค่าออฟเซ็ตนี้ และ ทำ ให้เข็มกลับไปที่ตำแหน่งศูนษ์อีกครั้งหนึ่ง. ลองทดสอบโดยการเปิด และ ปิด สวิตซ์สักสอง สามครั้ง. เพื่อให้แน่ใจว่าเข็มของมิเตอร์ไม่เคลื่อนที่อีกต่อไป VR1 จะถูกปรับไว้ที่ตำแหน่งที่ ถูกต้องแล้ว และ เป็นการพร้อมที่จะทำการปรับแต่งต่อไป.

image002[47]การปรับแต่งสามารถทำได้ 2 วิธีด้วย กัน คือ โดย การปรับแต่งวงจรวัดนี้ให้เป็นดีซีมิลลิโวลต์มิเตอร์ หรือ โดยการปรับ แต่งไฟโรมิเตอร์นี้ที่ค่า อุณหภูมิที่ทราบค่า โดยการเทียบกับกับเครื่องอื่นที่ได้รับการปรับแต่งมาแล้ว. การปรับแต่งโดยวิธีแรกดู เหมือนจะเป็น วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคนทั่วไป.

image002[48]วิธีการปรับแต่งนี้มีอยู่หลายวิธีที่ เป็นไปได้ ถ้ากากมี ดิจิตอลโวลต์มิเตอร์ หรือมัลติมิเตอร์. วิธีที่ง่ายที่าดก็โดยการปรับแต่ง โดยเทียบกับ ดิจิตอลมิดตอร์โดยใช้แหล่งจ่ายไฟกระแสตรงที่ปรับค่าได้ หรือ ใช้ แบตเตอรี่ และ วงจรแบ่งแรงดัน เพื่อผลิตแรง ดัน ทดสอบที่เหมาะสมขนาด 50 มิลลิโวลต์.

image002[49]วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการปรับ แต่งวงจรวัดที่ตำแหน่งเต็มสเกล. สำหรับความเที่ยงตรงสูงสุด แต่ถ้าหากคุณไม่มีดิจิตอล มิเตอร์ใด ๆ เลย หรือ เม้แต่มิเตอร์ แบบเข็มที่ดีหน่อยในการปรับเทียบขอแนะนำให้ใช้วงจรทดสอบแบบง่ายๆ ดังแสดงในรูป ที่ 2.

image020

รูปที่ 2 เป็นวงจร ทดสอบแบบง่าย ๆ สำหรับการปรับแต่งวงจรวัดของไพโรมิเตอร์

image002[50]โดยการใช้ถ่านแบบกระดุมใหม่ๆ ที่ใช้ในกล้องถ่ายรูป ก็สามารถที่จะผลิตแรงดันขนาด 50.5 mV เพื่อ ต่อเข้ากับอินพุต ของวงจรวัดของไพโรมิเตอร์ ( แทนที่ เทอร์โมคัปเปิล ) ดังนั้นเมื่อนำไปต่อแล้ว มันควรจะอ่านค่าสูงกว่าค่าเต็มสเกลบน หน้า ปัดมิเตอร์. ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นให้ ปรับโปเทนชิโอมิเตอร์ VR2 จนกระทั่งเข็มมิเตอร์ชี้เต็มสเกลเลยไป เล็กน้อย.

image002[51]หลังจากที่เสร็จสิ้นการปรับแต่งวงจร วัด ก็ พร้อมที่จะเสียบเทอร์โมคัปเปิลเข้ากับวงจร. จะต้องแน่ใจว่าขาต่อของมันต่อเข้า กับปลั๊กโดยมีขั้วที่ถูกต้อง โดยดูที่เครื่องหมาย + และ - ที่ทำไว้บนสาย .

image002[52]ก่อนที่จะนำไพโรมิเตอร์นี้ไปใช้ มีวิธีการหลาย อย่างที่จะขอแนะนำ เกี่ยวกับการใช้. อย่างแรกได้แก่ เทอร์โมคัปเปิลที่มี เปลือกหุ้ม จะใช้ระยะเวลาคงที่ทางความร้อนระยะหนึ่ง. ประมาณหลาย นาทีก่อนที่เทอร์โมคัปเปิลเองจะมีค่าอุณหภูมิเท่ากับ อุณหภูมิที่ เปลือกหุ้ม.

image002[53]ดังนั้น ถ้าหากใช้ไพโร มิเตอร์นี้ในการวัดอุณหภูมิของเตาอบขนาดเล็ก. วิธีที่ดีที่ สุดก็โดยการปล่อยให้เทอร์โมคัปเปิลถูก ทำให้ร้อนโดยเตาอบด้วยตัวเองอย่างช้าๆ และ ปล่อย ทิ้งไว้ในเตาตลอดในระหว่างที่คุณต้องการวัด. และ เพื่อให้การวัดมีความ เที่ยงตรงมากขึ้น. จะทำให้โพรบนี้สัมปัสกับช่วงเวลาการรับความร้อน และ การเย็นตัวลง หลายๆ ครั้ง เพื่อเป็นการยืดอายุงาน.

image002[54]ข้อแนะนำอื่นก็คือ การจำเทคนิค ที่ถูกต้องในการวัดค่าอุณหภูมิ โดยการใช้เทอร์โมคัปเปิล ดังที่ได้ กล่าวมาแล้วในตอน ที่แล้วว่า แรงดันเอาต์พุตของเทอร์โม คับเปิลที่วัดได้โดยมิเตอร์จริงๆ แล้วเป็นค่าความแตกต่างระหว่างแรงดันซี เบคที่เกอดขึ้น จากรอยต่อการทำงาน และ รอยต่ออ้างอิง.

image002[55]สำหรับการวัดค่าอุณหภูมิที่เที่ยงตรง. สิ่งที่จำเป็น ต้องทำได้แก่ การวัด 2 สิ่ง คือ อย่างแรกเป็นการอ่านค่าจากไพโรมิเตอร์ และ อย่างที่สอง อ่านค่าอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม ( ที่ตัวโพรบ และ วงจรวัดทำงานอยู่ ) โดยการใช้ เทอร์โมมิเตอร์ แบบ ธรรมดา.

image002[56]และ จากตารางที่ 2 ในตอนนี้ แล้ว หรือ จากตารางสมมูลย์ สำหรับเทอร์โมคัปเปิลที่กำกับมา. ลองหาค่าแรงดันของรอย ต่ออ้างอิง ซึ่ง สอดคล้องกับค่าอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม ซึ่งจะทำให้หาค่าแรงดันที่รอยต่อทำงาน จริงๆ ออกมาได้ โดยสมการ ง่ายๆ คือ Va = Vm + Vr

image002[57]เมื่อ Va เป็นแรงดันจริงๆ Vm เป็นแรงดันที่วัดได้โดยมิเตอร์ และ Vr เป็นอุณหภูมิของรอยต่อที่อ้างอิงดัง ที่หาได้จาก ตาราง. ขั้นสุดท้ายก็โดยการกลับ ไปยังตารางที่ 2 จาก ค่าที่ถูกต้องของ Va เราจะสามารถหาค่าอุณหภูมิจริงๆ ที่โพรบกำลัง วัดอยู่ได้.

image002[58]นอกจากนี้ ถ้าหากต้องการ ตรวจสอบการปรับแต่งค่าอุณหภูมิ ของไพโรมิเตอร์ก็สามารถทำได้โดยการใช้ สารที่เราทราบ ค่าจุดหลอมเหลวแน่นอน. ยกตัวอย่าง เช่น อลูมิเนียมบริสุทธิ์ มี จุดหลอมเหลวอยู่ที่ 658 องศาเซลเซียส ในขณะที่ สังกะสีมีจุด หลอมเหลวอยู่ที่ 419 องศาเซลเซียส . แต่เพื่อความเที่ยงตรง จำเป็นต้องตรวจสอบอุณหภูมิในช่วงการ หลอมเหลว และ การแข็ง ตัวในสองทิศทาง คือ จากของแข็ง เริ่มหลอมเหลวเป็นของเหลว และ จากของเหลว เริ่มเย็นตัวลงเป็นของแข็ง. แล้วจึงนำค่า ทั้งสองนี้ มาหาค่าเฉลี่ย.

image002[59]จากที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คงทำให้คุณผู้ อ่านรู้จักถึงการทำงานของเทอร์โมคัปเปิลบ้าง. ตลอดจนชนิดต่างๆ ของเทอร์โม คัปเปิลที่มีขายกันอยู่ในขณะนี้. รวมถึงวงจรที่ใช้วัดค่าอุณหภูมิแบบ ง่ายๆ ซึ่ง ก็คงจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านบ้างไม่มากก็น้อย.

...