Donate

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อากาศ : คุณภาพอากาศ ปัญหา และการจัดการ

โลกที่เราอาศัยอยู่นี้มีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ มีความหนาประมาณ 1,000 กิโลเมตรแต่ชั้นบรรยากาศที่มีออกซิเจนเพียงพอสำหรับสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีความหนาเพียง 5 6 กิโลเมตรเท่านั้นบรรยากาศชั้นนี้มีแก๊สต่าง เป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่ค่อนข้างคงที่ คือ ไนโตรเจน ประมาณร้อยละ 78 ออกซิเจนประมาณร้อยละ 21 คาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ 0.03 ไอน้ำและแก๊สอื่น ในปริมาณเล็กน้อย

แหล่งที่มาของอากาศเสีย
            การคมนาคม ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้มีสารที่เกิดจากการกระบวนการ เผาไหม้ของเครื่องยนต์ปล่อยสู่บรรยากาศ ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของซัลเฟอร์ ออกไซด์ของไนโตรเจน

สารที่ก่อให้เกิดมลภาวะของอากาศ
                   1.  อนุภาคสาร อาจเป็นของแข็ง เช่น ฝุ่นละออง หรือของเหลว เช่น ละอองกรดกำมะถัน ฝุ่นละออง เขม่า ควัน เป็นมลพิษทางอากาศที่รุนแตงที่สุดในกรุงเทพมหานคร ฝุ่นและเขม่าเหล่านี้จะปลิวฟุ้งมาจากพื้นถนน และกองหินดินทรายในบริเวณที่มีการก่อสร้าง ยานพาหนะหลายประเภทก็ปล่อยควันดำออกมา โดยเฉพาะรถที่ใช้น้ำมันดีเซล โรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานผลิตไฟฟ้าที่ไม่มีการสกัดฝุ่นและเขม่าก่อนปล่อยออกสู่ภายนอก
          2.
คาร์บอนไดออกไซด์ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเพิ่มขึ้นประมาณ 0.5 % ต่อปี ีปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้มาจากสาเหตุใหญ่ 2 ประการ ประการแรกคือ การเผาผลาญสารอินทรย์และเชื้อเพลิงฟอสซิลทำให้เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำนวนมาก อีกประการหนึ่ง คือ การที่มนุษย์ทำลายป่า
          3.
คาร์บอนมอนออกไซด์ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ทั่วไปที่เกิดอย่างไม่สมบูรณ์ ทำให้มีแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ออกมา เครื่องยนต์เบนซินมีการระบายออกของแก๊สนี้มากกว่าเครื่องยนต์ดีเซล คาร์บอนมอนอกไซด์ สามารถรวมตัวกับเฮโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าออกซิเจน 200-250 เท่า ทำให้เลือดที่ถูกนำไปสู่ส่วนต่าง ของร่างกายขาดออกซิเจน ถ้าได้รับคาร์บอนมอนอกไซด์ปริมาณน้อย จะเป็นผลให้เกิดอาการหน้ามือ วิงเวียน อ่อนเพลีย ถ้าได้รับเข้าไปมากทำให้ถึงตายได้

4. ซัลเฟอร์ออกไซด์ เป็นแก๊สที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อภูเขาไฟระเบิด แต่ในปัจจุบันแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในบรรยากาศเกือบทั้งหมดเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ การเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง จากโรงงานไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง แก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์มีกลิ่นฉุนแสบจมูก และจะมีอันตรายมากขึ้นเกาะตัวกับฝุ่นละอองคือทำให้แสบตา ระคายคอ แน่นหน้าอก ความชื้นและออกซิเจนในอากาศทำให้ซัลเฟอร์ไดออกไซด์กลายเป็นละอองกรดซัลฟิวริก ซึ่งเป็นฝนกรดที่เป็นอันตรายร้ายแรงต่อเนื้อเยื่อบุผิวของร่างกาย
            5.
ออกไซด์ของไนโตรเจน ได้แก่ ไนตริกออกไซด์ ( NO ) ไนโตรเจนไดออกไซด์  ( NO ) และไนตรัสออกไซด์ ( N O ) ออกไซด์ของไนโตรเจนเกิดขึ้นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์เมื่อมีออกซิเจนมาก และการเผาไหม้เกิดอย่างสมบูรณ์ และเมื่อออกไซด์ของไนโตรเจนทำปฏิกิริยากับน้ำฝนก็กลายเป็นกรดไนตริก ซึ่งหากมีความเข้มข้นมาก คือมีค่าความเป็นกรดเบสต่ำ เรียกว่า ฝนกรด ก็จะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์และพืช ออกไซด์ของไนโตรเจนยังเกิดจากการเผาไหม้อขงถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติที่อุณหภูมิสูง ซึ่งมักจะเป็นกระบวนการในโรงงาน    อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงงานแยกหรือแปรสภาพแก๊สธรรมชาติ โรงงานแก้ว ปูนซีเมนต์ และ    โรงไฟฟ้า เป็นต้น แก๊สไตริกออกไซด์ไม่จัดเป็นแก๊สพิษ แต่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนเปลี่ยนไปเป็นไนโตรเจนไดออกไซด์ ซึ่งมีสีน้ำตาลแดง มีกลิ่นฉุน เป็นแก๊สพิษ มีอันตรายร้ายแรงต่อปอดและหลอดลม นอกจากนี้ยังทำให้พืชเติบโตช้ากว่าปกติ
            6.
สารตะกั่ว ตะกั่วเป็นโลหะหนัก มีความทนทานและสามารถอ่อนตัวได้ เมื่อได้รับความร้อนจึงทำให้เป็นรูปทรงต่าง ได้ง่าย
            7.
สารอินทรีย์ที่ระเหยง่าย เช่น ไฮโดรคาร์บอน ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารอินทรีย์คลอไรด์ เป็นต้น ส่วนใหญ่ถูกปล่อยออกมาจากเครื่องยนต์โดยเฉพาะที่เห็นเป็นควันขาวจากท่อไอเสียรถจักรยานยนต์และโรงงานอะตสาหกรรมเคมี
            8.
เขม่าและขี้เถ้า ฝุ่นละออง เขม่าและขี้เถ้าเกิดจากการเผาไหม้อย่างไม่สมบูรณ์ของสารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ เขม่าและขี้เถ้าจะแขวนลอยฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศ
          แสงอาทิตย์ที่ส่องมายังโลกประกอบด้วยรังสีอัลตราไวโอเลต( UV ) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงคลื่น คือ A B และ C รังสี UVA มีช่วงคลื่นยาว พลังงานต่ำ ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังช่วยในการสร้างวิตามินในสิ่งมีชีวิต รังสี UVC มีช่วงคลื่นสั้นที่สุด มีพลังงานสูงเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอย่างมาก ยิ่งชั้นโอโซนถูกทำลายไปมากเท่าใด รังสี UVB และ UVC ก็สามารถส่องลงมาถึงผิวโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะในเขตใกล้เส้นศูนย์สูตรจะได้รับรังสีในระยะเวลามากกว่า            รังสีอัลตราไวโอแลตช่วงคลื่นสั้น ทำให้เกิดมะเร็งในผิวหนัง ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำลาย สารพันธุกรรม โปรตีนในร่างกายรวมทั้งดวงตา และทำให้สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กตายได้ ผละกระทบที่มีต่อพืชนั้นพบว่า การเจริญเติบโตจะช้าลง ผลผลิตทางการเกษตรและป่าไม้ลดลง ทำให้เกิดการขาดแคลนอาหาร

...