การป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหว โดย นาวาอากาศเอก กมล วัชรเสถียร
แผ่นดินไหวเป็นเหตุการณ์ธรรมชาติที่ไม่อาจควบคุมได้ อันตรายสำคัญจากแผ่นดินไหวได้แก่ อาคารพังทลายทับผู้ที่อยู่อาศัย และสัญจรไปมา มาตรการป้องกันอันตรายที่ใช้อยู่ทั่วไป ได้แก่ การจัดทำแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหว จัดแบ่งพื้นที่ออกตามระดับความเสี่ยง และกำหนดมาตรฐานการออกแบบก่อสร้างอาคารในแต่ละพื้นที่ ให้มีระดับความต้านทานแผ่นดินไหวที่เหมาะสม
ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีงานวิจัยในประเทศไทยที่นำข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีอยู่ทั้งใน ประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงมาประมวลและวิเคราะห์ สร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย โดยจัดพื้นที่ตามระดับอัตราเร่งสูงสุดของแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้จะใกล้เคียงกับกฎหมายควบคุมอาคาร (Uniform Building Code หรือ UBC) ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา การจัดพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๕ ระดับจากระดับ ๐ ถึงระดับ ๔ โดยระดับ ๐ หมายถึง พื้นที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว และระดับ ๔ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด กล่าวคือมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยทั่วไปจะยอมให้อาคารมีการโยกไหวรุนแรงจนตัวอาคารแตกร้าวเสียหายได้ แต่จะต้องไม่พังทลายลงมา การออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานการสั่นสะเทือน จากแผ่นดินไหวเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ในสภาวะ ที่มีการเปลี่ยนรูปร่างเกินพิกัดยืดหยุ่น (Elastic Limit) หลักการออกแบบตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปจึงปรับให้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้ออกแบบให้โครงสร้างสามารถรับแรงในแนวราบได้ในระดับที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องพิจารณารูปร่างสัดส่วน โครงสร้างให้มีความสมมาตร สามารถโยกไหวได้โดยไม่บิดตัว นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงการจัดรายละเอียด เช่น การเสริมเหล็กให้โครงสร้างสามารถดูดซับพลังงานได้ดี
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ กรมโยธาธิการได้ออกกฎหมายควบคุมอาคารในเขตเสี่ยงภัย กำหนดให้อาคารในเขตเสี่ยงภัยต้องมีการออกแบบสำหรับต้านทานแผ่นดินไหวได้ อย่างเหมาะสม โดยบังคับใช้ในเขตแผ่นดินไหวในภาคเหนือและภาคตะวันตกรวม ๑๐ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน ตาก และกาญจนบุรี กฎหมายนี้บังคับใช้กับอาคารสาธารณะที่มีประชาชนเข้าไปใช้สอยเป็นจำนวนมาก เช่น โรงแรม หอประชุม โรงมหรสพ โรงพยาบาล และศูนย์การค้า รวมทั้งอาคารที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น อาคารเก็บวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ สำหรับอาคารอื่นๆจ ะบังคับใช้เฉพาะอาคารที่ สูงเกิน ๑๕ เมตร
ข้อควรปฏิบัติของประชาชน
ใน พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้มีงานวิจัยในประเทศไทยที่นำข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่มีอยู่ทั้งใน ประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงมาประมวลและวิเคราะห์ สร้างเป็นแผนที่ความเสี่ยงภัยแผ่นดินไหวของประเทศไทย โดยจัดพื้นที่ตามระดับอัตราเร่งสูงสุดของแผ่นดินไหวที่อาจเกิดขึ้น โดยหลักเกณฑ์ที่ใช้จะใกล้เคียงกับกฎหมายควบคุมอาคาร (Uniform Building Code หรือ UBC) ที่ใช้ในสหรัฐอเมริกา การจัดพื้นที่ได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๕ ระดับจากระดับ ๐ ถึงระดับ ๔ โดยระดับ ๐ หมายถึง พื้นที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว และระดับ ๔ เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงสุด กล่าวคือมีแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ในการออกแบบอาคารต้านแผ่นดินไหว โดยทั่วไปจะยอมให้อาคารมีการโยกไหวรุนแรงจนตัวอาคารแตกร้าวเสียหายได้ แต่จะต้องไม่พังทลายลงมา การออกแบบโครงสร้างอาคารให้ต้านทานการสั่นสะเทือน จากแผ่นดินไหวเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องคำนึงถึงพฤติกรรมทางพลศาสตร์ในสภาวะ ที่มีการเปลี่ยนรูปร่างเกินพิกัดยืดหยุ่น (Elastic Limit) หลักการออกแบบตามมาตรฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปจึงปรับให้ง่ายขึ้น โดยกำหนดให้ออกแบบให้โครงสร้างสามารถรับแรงในแนวราบได้ในระดับที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องพิจารณารูปร่างสัดส่วน โครงสร้างให้มีความสมมาตร สามารถโยกไหวได้โดยไม่บิดตัว นอกจากนี้ จะต้องคำนึงถึงการจัดรายละเอียด เช่น การเสริมเหล็กให้โครงสร้างสามารถดูดซับพลังงานได้ดี
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ กรมโยธาธิการได้ออกกฎหมายควบคุมอาคารในเขตเสี่ยงภัย กำหนดให้อาคารในเขตเสี่ยงภัยต้องมีการออกแบบสำหรับต้านทานแผ่นดินไหวได้ อย่างเหมาะสม โดยบังคับใช้ในเขตแผ่นดินไหวในภาคเหนือและภาคตะวันตกรวม ๑๐ จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน ตาก และกาญจนบุรี กฎหมายนี้บังคับใช้กับอาคารสาธารณะที่มีประชาชนเข้าไปใช้สอยเป็นจำนวนมาก เช่น โรงแรม หอประชุม โรงมหรสพ โรงพยาบาล และศูนย์การค้า รวมทั้งอาคารที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น อาคารเก็บวัตถุระเบิด วัตถุไวไฟ วัตถุมีพิษ สำหรับอาคารอื่นๆจ ะบังคับใช้เฉพาะอาคารที่ สูงเกิน ๑๕ เมตร
ข้อควรปฏิบัติของประชาชน
นอกจากการป้องกันการพังทลายของอาคารแล้ว มาตรการเตรียมพร้อมและการเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉินหลังเกิดเหตุ ก็มีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้บ้าง กรมอุตุนิยมวิทยาได้จัดทำคำแนะนำการป้องกันอันตรายจากแผ่นดินไหวไว้ดังนี้ (ดูเรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับแผ่นดินไหว)
การเตรียมพร้อม
๑. ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคนทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน
๒. ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
๓. ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
๔. อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน
๕. ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง
๖. ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน อย่างไร
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
๑. อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า-ออกจากบ้าน
๒. ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่างและประตูที่จะออกข้างนอก
๓. ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา
๔. อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ใน บริเวณนั้น
๕. ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง
๖. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
๗. หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง
๑. ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป
๒. ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ
๓. ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
๔. ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออกจากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
๕. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว
๖. อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่
๗. สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษ แก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทง
ดูเพิ่มเติมเรื่อง การตรวจอากาศ เล่ม ๒ และปรากฏการณ์ของอากาศ เล่ม ๔
การเตรียมพร้อม
๑. ควรมีไฟฉาย ถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และแจ้งให้ทุกคนทราบว่าเก็บไว้ที่ไหน
๒. ควรศึกษาการปฐมพยาบาลขั้นต้น เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน
๓. ควรทราบตำแหน่งวาล์วปิดถังแก๊ส ปิดน้ำ และตำแหน่งสะพานไฟฟ้าสำหรับตัดกระแสไฟฟ้า และทุกคนในบ้านควรจะทราบวิธีการปิดวาล์วถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
๔. อย่าวางของหนักไว้บนชั้นหรือหิ้งสูงๆ เพราะเมื่อมีการสั่นไหว สิ่งของอาจตกลงมาเป็นอันตรายต่อคนในบ้าน
๕. ผูกเครื่องใช้ให้แน่นกับพื้น และยึดเครื่องประดับบ้านหนักๆ เช่น ตู้ถ้วยชาม ไว้กับผนัง
๖. ควรวางแผนการในกรณีที่ทุกคนอาจต้องพลัดพรากจากกัน ว่าจะกลับมารวมกันที่ไหน อย่างไร
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว
๑. อยู่อย่างสงบ ควบคุมสติ อย่าตื่นตกใจ ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้อยู่ในบ้าน ถ้าอยู่นอกบ้านก็ให้อยู่นอกบ้าน ส่วนใหญ่คนที่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้า-ออกจากบ้าน
๒. ถ้าอยู่ในบ้านก็ให้ยืนอยู่ในส่วนของ บ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง และควรอยู่ห่างจากหน้าต่างและประตูที่จะออกข้างนอก
๓. ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้อยู่ห่างจากเสาไฟฟ้าหรือสิ่งห้อยแขวนต่างๆ ที่อาจตกลงมา
๔. อย่าใช้เทียนไข ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่ใน บริเวณนั้น
๕. ถ้ากำลังอยู่ในรถยนต์ ให้หยุดรถ และอยู่ในรถต่อไปจนกว่าการสั่นสะเทือนจะหยุดลง
๖. ห้ามใช้ลิฟต์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว
๗. หากอยู่ใกล้ชายทะเล ให้อยู่ห่างจาก ฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง
เมื่ออาการสั่นไหวสงบลง
๑. ควรตรวจดูตัวเองและคนใกล้เคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ถ้ามีการบาดเจ็บ ให้ทำการปฐมพยาบาลก่อน หากว่าบาดเจ็บมาก ให้นำส่งสถานพยาบาลต่อไป
๒. ควรรีบออกจากตึกที่เสียหาย เพื่อความปลอดภัยจากอาคารถล่มทับ
๓. ควรตรวจท่อน้ำ แก๊ส และสายไฟฟ้า หากพบส่วนที่เสียหาย ปิดวาล์วน้ำหรือถังแก๊ส และยกสะพานไฟฟ้า
๔. ตรวจแก๊สรั่วโดยการดมกลิ่น ถ้าได้กลิ่นแก๊ส ให้เปิดหน้าต่างและประตูทุกบาน รีบออกจากบ้าน และแจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
๕. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ถ้าไม่จำเป็น เพราะอาจจะใช้ส่งข่าว
๖. อย่ากดน้ำล้างโถส้วมจนกว่าจะตรวจสอบว่า มีสิ่งตกค้างอยู่ในท่อระบายหรือไม่
๗. สวมรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันเศษ แก้วและสิ่งหักพังทิ่มแทง
ดูเพิ่มเติมเรื่อง การตรวจอากาศ เล่ม ๒ และปรากฏการณ์ของอากาศ เล่ม ๔