Donate

วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning)

          หมายถึง การเรียน รู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบคลุมวิธีการ เรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ อาทิ
       - การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning)
       - การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning)
      - ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms)
      - ความร่วมมือดิจิทัล (digital collaboration) เป็นต้น
            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-เลิร์นนิ่ง (e-learning) หมายถึง การเรียน รู้บนฐานเทคโนโลยี (Technology-based learning) ซึ่งครอบ คลุมวิธีการเรียนรู้ หลากหลายรูปแบบ อาทิ - การเรียนรู้บนคอมพิวเตอร์ (computer-based learning) - การเรียนรู้บนเว็บ (web-based learning) - ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classrooms) - ความร่วมมือดิจิทัล (digital collaboration) เป็นต้น ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท อาทิ อินเทอร์เน็ต (internet) อินทราเน็ต (intranet) เอ็กซ์ทราเน็ต (extranet) การถ่าย ทอดผ่าน ดาวเทียม (satellite broadcast) แถบบันทึกเสียงและ วิดีทัศน์ (audio/video tape) โทรทัศน์ที่สามารถโต้ตอบกันได้ (interactive TV) และซีดีรอม (CD- ROM) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความ สำคัญ มากขึ้นเป็น ลำดับ
            ในประเทศที่พัฒนาแล้ว อี-เลิร์นนิ่งแพร่ขยายเข้าไปถึงการศึกษาในระบบ การพัฒนาบุคลากรใน องค์การธุรกิจ รวมถึงการเรียนรู้ส่วนบุคคล แต่ สำหรับ ประเทศไทย การเรียนรู้ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์นับว่าเป็นเรื่องใหม่มาก และยังไม่มี การนำไปใช้ประโยชน์มากนัก อย่างไรก็ตาม ในภาวะที่โลก กำลังเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากแรงขับเคลื่อนจากกระแสโลกาภิวัตน์ การ เปิด เสรีทาง เศรษฐกิจ และการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย จึงมีความ จำเป็นต้องเร่งเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเปลี่ยน แปลงใน อนาคต อี-เลิร์นนิ่งจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีความเหมาะสมสำหรับ การ พัฒนา ทรัพยากรบุคคลของประเทศเพื่อการแข่งขันในโลกยุคใหม่ เนื่อง ด้วย เหตุผลที่จะ กล่าวต่อไป
            การขยายโอกาสทางการศึกษา การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์มีต้นทุนในการ จัดการศึกษาที่ต่ำกว่าการ ศึกษาในชั้นเรียน ถึงแม้ว่าเงินทุนในช่วงแรก หรือต้นทุน คงที่ (fixed cost) ของการเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะค่อนข้างสูง แต่อี-เลิร์นนิ่งจะสามารถตอบสนองต่อผู้เรียนได้มากกว่าการจัดการ ศึกษาในห้องเรียน โดย ที่ผู้จัดการศึกษามีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นหน่วยสุดท้าย (marginal cost) เกือบเป็นศูนย์ แม้ว่าจะมีการจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนจำนวนมากขึ้นก็ ตาม ทั้งนี้หากเปรียบเทียบ ต้นทุนทั้งหมด (total cost) การจัดการเรียนรู้ ผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์จะมีต้นทุนที่ ต่ำกว่าการเรียนรู้ในชั้นเรียนถึงร้อยละ 40 นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถ เรียนรู้ ได้ ทุกที่ ทุกเวลาและทุกคน (anywhere anytime anyone) และไม่ว่า จะทำการ ศึกษา ณ สถานที่ใด การเรียนรู้ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะยังคงมีเนื้อหา เหมือนกัน และมีคุณภาพที่เท่าเทียมกัน และยังสามารถวัดผลของการ เรียนรู้ได้ดี กว่า
การ เรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้โอกาสในการศึกษาของประชาชน เพิ่มสูงขึ้น ส่ง ผลทำให้ประชาชนมีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อการ พัฒนาประเทศ ไปสู่เศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรู้และเทคโนโลยีเข้มข้นมากขึ้น
            การเรียนรู้ไม่จำเป็น ต้องเรียง ตามลำดับหรือเป็นโปรแกรมแบบเส้นตรง แต่ผู้เรียน สามารถ ข้ามขั้นตอนที่ตนเองคิดว่าไม่จำเป็น หรือเรียงลำดับการเรียนรู้ ของตนเอง ได้ตามใจปรารถนา
การเรียนรู้ตามศักยภาพและ ความสนใจของผู้เรียน ทำให้ ประชาชนใน ประเทศเกิดการพัฒนาความเชี่ยวชาญ เฉพาะทางและมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความจำเป็นใน การแข่งขันในเศรษฐกิจบน ฐานความ รู้ (knowledge-based economy) ในอนาคต
การที่สื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดย เฉพาะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งที่รวมความรู้ จำนวน มหาศาล ผู้เรียนจึงมีช่องทางและวิธีการเรียนรู้ให้เลือกอย่างหลากหลาย
            ผู้เรียน สามารถเลือกสื่อการเรียน การสอนได้ตามความถนัดและความสนใจ ทั้ง ในรูปแบบ ของตัวอักษร รูปภาพ ภาพสร้างสรรค์จำลอง (animations) สถานการณ์ จำลอง (simulations) เสียงและภาพเคลื่อนไหว (audio and video sequences) กลุ่ม อภิปราย (peer and expert discussion groups) และการปรึกษาออนไลน์ (online mentoring) ด้วยเหตุนี้ การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทำให้ ประสิทธิภาพการเรียนรู้ ของผู้เรียนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 มากกว่าการเรียนรู้โดย การฟัง การบรรยายในห้องเรียน หรือจากการ อ่านหนังสือ และทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ได้รวดเร็วขึ้นถึงร้อยละ 60 ของการเรียน รู้แบบดั้งเดิม
            ทั้งนี้ ประสิทธิภาพและความรวด เร็วของการเรียนรู้มีความสำคัญมาก สำหรับการแข่งขัน ในระบบเศรษฐกิจโลกในอนาคต เพราะจะทำให้คน องค์การ และ ประเทศ สามารถ ปรับตัวและตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และ ทำให้เกิดความ รวดเร็วในการช่วงชิงความได้เปรียบทางเศรษฐกิจ รวมทั้งทำให้เกิดการพัฒนา ทักษะของแรงงานได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เปลี่ยน แปลงอย่าง รวดเร็ว การสร้างความสามารถในการหาความรู้ด้วยตนเอง
            อี-เลิร์นนิ่งไม่ได้เป็นเพียงการ เรียนโดยการรับความรู้หรือเรียนรู้อะไรเท่านั้น แต่เป็นการเรียน "วิธี การเรียนรู้" หรือเรียนอย่างไร ผู้เรียน ในระบบการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะเป็น คนที่มี ความสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากอี-เลิร์นนิ่งไม่มีผู้ สอนที่คอย ป้อนความรู้ให้เหมือนกับการศึกษาในห้องเรียน ดังนั้น ผู้เรียนจึงได้รับ การฝึกฝน ทักษะในการค้นหาข้อมูล การเรียนรู้วิธีการเข้าถึงแหล่งความรู้ การเลือก วิธีการ เรียนรู้ และวิธีการประมวลความรู้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ การที่ คนมีความ สามารถในการ เรียนรู้ จะทำให้เกิดการพัฒนาอาชีพและการพัฒนา คุณภาพชีวิตของตน เอง ซึ่ง หากประเทศชาติมีประชาชนที่มีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตน เอง เป็นส่วน ใหญ่ จะทำให้เกิดผลดีต่อประเทศในแง่ของการสร้างองค์ความรู้ ของคน ไทย และ การพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาความสามารถใน การคิด
            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้เรียน สามารถพัฒนาทางความคิดมากกว่าการฟังการบรรยายใน ห้องเรียน เนื่องจากเป็น การสื่อสารแบบสองทางและมีรูปแบบของการเรียนรู้ที่ หลากหลาย การศึกษาทาง ไกล (distance learning) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์จะ กระตุ้นและเอื้อให้เกิดการ วิพากษ์อย่างมีเหตุผล (critical reasoning) มากกว่าการศึกษาในห้อง เรียนแบบ เดิม เพราะมีการปฏิสัมพันธ์ทางความคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง นอก จากนี้ การ ศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่านักศึกษาทางไกลระบบออนไลน์ (online students) ได้มีการ ติดต่อกับผู้เรียนคนอื่นๆ ในชั้นเรียนมากกว่าเรียนรู้ด้วยความ สนุกมากกว่า ให้เวลา ในการทำงานในชั้นเรียนมากกว่า มีความเข้าใจสื่อการสอนและ การปฏิบัติมากกว่า ผู้เรียนที่ได้รับการสอนในชั้นเรียนแบบเดิมโดยเฉลี่ยร้อยละ 20 อี-เลิร์ นนิ่งทำให้ เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้เรียนจะมีการปฏิสัมพันธ์กับข้อมูล และความรู้ จำนวน มาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการต่อยอดความรู้ หรือทำให้เกิดความคิด ใหม่ๆ และ การสร้างนวัตกรรมอันเป็นปัจจัยในการแข่งขันที่สำคัญมากที่สุดใน การ แข่งขันใน เศรษฐกิจยุคใหม่
            การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นช่องทางในการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ที่รัฐบาลและองค์การต่างๆไม่ ควรมอง ข้าม เนื่องจากประสิทธิภาพ ในการพัฒนาการเรียนรู้ และความเหมาะสม กับ โลกยุคใหม่ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาอี-เลิร์นนิ่งในประเทศไทยยังมีข้อจำกัดมาก ไม่ ว่าจะเป็น ความไม่พร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ความไม่ เพียงพอ ของฮาร์ดแวร์ (hardware) การขาดแคลนซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพและ ขาด เนื้อหาที่ หลากหลาย และความไม่พร้อมของบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และผู้ เรียน รวมทั้งบริบทแวดล้อมอื่นๆที่ไม่เอื้ออำนวย เช่น กฎหมาย และวัฒนธรรม การ เรียนรู้ในสังคม เป็นต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเริ่มต้นการพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่วันนี้ โดยใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมแล้ว คงไม่สาย เกินไปที่ คนไทยจะได้รับการพัฒนาทันกับพัฒนาการของโลก ในอนาคต

...