ความหมายของ e - Learning
E-learning หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ e-learning เป็นการ สร้างสิ่งแวดล้อม ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนว่า เนื้อหาการเรียน ซึ่งถูกถ่ายทอดผ่านทาง มัลติมีเดียนั้นสามารถทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีกว่าการเรียนจากสื่อข้อความ เพียงอย่างเดียว นอกจากนี้การที่เนื้อหาการ เรียนอยู่ในรูปของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ (e-text) ซึ่งได้แก่ข้อความซึ่งได้รับการจัดเก็บ ประมวล นำเสนอ และเผยแพร่ทาง คอมพิวเตอร์จึงทำให้มีข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน การเข้าถึงข้อมูลที่ต้องการ ด้วยความ สะดวกและรวดเร็วความคงทนของข้อมูล รวมทั้งความสามารถในการทำข้อมูลให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
(จาก http://gold.rajabhat.edu/learn/ELEANING/information/home/home_luis.html)
ดร. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์
อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตีพิมพ์ในนิตยสาร DVM ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 JANUARY-FEBRUARY 2002 หน้า 26-28
อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ตีพิมพ์ในนิตยสาร DVM ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 JANUARY-FEBRUARY 2002 หน้า 26-28
e-learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถนที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
e-Learning หมายถึง การเรียนรู้จากการถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออุปกรณ์ที่เป็น อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ วีดิโอ ซีดีรอม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ระบบเสมือนจริง (Virtual Reality System) ทางไกลผ่านดาวเทียมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ ปัจจุบันการกล่าวถึง e-Learning มักจะหมายเฉพาะการเรียน ที่ผ่านอุปกรณ์เทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหาและเทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานส่วนต่าง ๆ โดยผู้เรียนที่เรียนจาก e-Learning ที่สามารถศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ หรือจากแผ่นซีดีรอมก็ได้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่อยู่ในสถานที่ต่าง ๆ ได้มีโอกาสเรียนรู้เท่าเทียมกัน e-Learning เป็นรูปแบบการเรียนที่เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียนในลักษณะทางไกล (Distance Learning) เป็นรูปแบบการเรียน ซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องเดินทางมาเรียนในสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกันทั้งหมด มีแบบฝึกหัด และแบบทดสอบให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบความเข้าใจได้ โดยเนื้อหา e-Learning Course ware จะมีการแบ่งได้เป็นหน่วย (Module) เพื่อศึกษาด้วยตนเอง แล้วผู้เรียนมีหน้าที่ในการอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งการสอบถามปัญหาต่าง ๆ กับเพื่อน ๆ ร่วมชั้นทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในที่นี้ หมายถึงออนไลน์ หลังจากนั้นผู้สอนอาจจะนัดหมายผู้เรียนมาพบ (ในชั้นเรียนหรือลักษณะออนไลน์ก็ได้)
(จาก http://area.obec.go.th/nakhonratchasima2/webmedia/elearn.doc)
E-Learning หมายถึง การเรียนรู้ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ e-learning เป็นการ สร้างสิ่งแวดล้อม ทางการเรียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพราะมีงานวิจัยหลายชิ้นที่สนับสนุนว่าการเรียนรู้แบบ e-learning นั้นช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ผศ.ดร.ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้ความหมายของ
E-learning ว่า
"การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมโยงระบบเป็นเครือข่ายที่สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา และทุกคน" โดยสามารถพิจารณาได้จากคุณลักษณะ ดังนี้
- เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
- เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึ่งเป็นอย่างน้อย หรือการศึกษาตามอัธยาศัย
- ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตนเอง จากทุกที่ทุกเวลาโดยอิสระ
- ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน การบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละเนื้อหา ไม่จำเป็นต้องเหมือนกับ หรือพร้อมกับผู้เรียนรายอื่น
- มีระบบปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน และสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้
- มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
- มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
- ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บริการ
(จาก http://www.krunong.com/ictlearning/mod/resource/view.php?id=155)
จากข้อความข้างต้น สรุปได้ว่า e - Learning หมายความว่า การเรียนผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งใช้การนำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ ในรูปของสื่อ มัลติมีเดีย ได้แก่ ข้อความอิเล็กทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ วิทยุ โทรทัศน์ วีดิโอ ซีดีรอม เครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต ระบบเสมือนจริง (Virtual Reality System) ทางไกลผ่านดาวเทียมและสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อื่น ๆ โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่
รูปแบบการออกแบบและพัฒนา e - Learning
รูปแบบการเรียนการสอน (Learning methods) หมายถึงรูปแบบหรือชนิดของการปฏิสัมพันธ์( Interaction)แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะหลักๆคือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะซิงโครนัส (Synchronous Learning methods)หมายถึงการนำเสนอองค์ความรู้ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เกิดขึ้น ณ เวลาพร้อมกัน หรือเกิดขึ้น ณ เวลาจริง ลักษณะการนำเสนอของ e-Learning ที่อยู่ในรูปแบบนี้ได้แก่ การใช้ระบบ Video Conference หรือระบบ Online Chat ไม่ว่าจะเป็นชนิดเสียงหรือตัวอักษร การปฏิสัมพันธ์จะเกิดขึ้น ณ เวลาเดียวกัน
2. การนำเสนอในลักษณะอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning methods)การนำเสนอในลักษณะนี้ คู่ปฏิสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาที่ตรงกัน ตัวอย่างการเรียนการสอน e-Learning ในลักษณะนี้ได้แก่ การที่ให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านทางเว็บเพจ การปฏิสัมพันธ์ อาจเกิดขึ้นโดยการใช้กระดานสนทนาอิเล็กทรอนิกส์ (Webboard) หรือการใช้ E-mail เป็นต้น
http://www.thaicai.com/articles/elearning5.html
องค์ประกอบของ e - Learning
e-Learning ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก ดังนี้
1. Learning Management System (LMS) หมายถึง ระบบการจัดการด้านการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของ e-Learning จะต้องนำพาผู้เรียนไปยังเป้าหมายที่ต้องการ จะทำหน้าที่ตั้งแต่ผู้เรียนเข้ามาเรียน โดยจัดเตรียมหลักสูตร บทเรียนทั้งหมดเอาไว้ให้พร้อมที่จะให้ผู้เรียนได้เข้ามาเรียน เมื่อผู้เรียนได้เริ่มต้นบทเรียนแล้ว ระบบเริ่มทำงาน โดยส่งบทเรียนตามคำขอของผู้เรียนด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปแสดงที่ Web Browser ของผู้เรียน จากนั้นระบบก็จะติดตามและบันทึกความก้าวหน้า รวมทั้งสร้างรายงานกิจกรรม และผลการเรียนของผู้เรียนในทุกหน่วยการเรียนอย่างละเอียดจนกระทั่งจบหลักสูตร
2. Content Management System (CMS) หมายถึง ระบบการจัดการด้านเนื้อหา ซึ่งเป็นส่วนบริการสำหรับผู้ออกแบบหรือผู้พัฒนาบทเรียน ในการสร้างสรรค์และนำเสนอเนื้อหาบทเรียน เริ่มตั้งแต่เนื้อหาส่วนของกรลงทะเบียน การรวบรวม การจัดเนื้อหา และการนำส่งเนื้อหา (Delivery) ไปยังเว็บไซต์ ของ e-Learning หรือการพิมพ์เป็นเอกสาร หรือการบันทึกลงซีดีรอม เนื้อหาบทเรียนซึ่งเป็นองค์ความรู้สำหรับผู้เรียนเหล่านี้ จะถูกจัดการนำเสนอโดยระบบ CMS โดยสามารถปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ก็ได้ในกรณีที่เห็นว่ามีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น
3. Delivery Management System (DMS) หมายถึง ระบบการจัดการด้านการ นำส่ง ซึ่งเป็นการนำส่งบทเรียนไปยังผู้เรียนได้ศึกษาตามวัตถุประสงค์ การนำส่งบทเรียนจึงรวมถึงการจัดการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือเอ็กซ์ทราเน็ต การพิมพ์เป็นเอกสารสำหรับผู้เรียน การบันทึกลงสื่ออิเล็กทรอนิกส์และการนำส่งบทเรียนในรูปแบบอื่น ๆ ไปยังผู้เรียนให้ได้ศึกษาบทเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ เช่น ส่งผ่านโทรทัศน์ตามสาย เป็นต้น
4. Test Management System (TMS) หมายถึง ระบบการจัดการด้านการทดสอบเป็นส่วนของการจัดการและการนำส่ง รวมทั้งการดำเนินการสอนให้กับผู้เรียน เพื่อทำการประเมินผลความก้าวหน้าของผู้เรียนในระบบ e-Learning โดยที่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อทดสอบทั้งหมดจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลส่วนกลางสำหรับให้ผู้เรียนต่อเชื่อมเข้าไปทำการสดสอบตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในส่วนของ LMS และ CMS ระบบ TMS จึงประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนของผู้ออกแบบและผู้พัฒนาบทเรียน สำหรับการออกแบบ แก้ไข นำกลับมาใช้ใหม่ พิมพ์และจัดการเกี่ยวกับข้อทดสอบ และ 2) ส่วนของผู้เรียนสำหรับการทำข้อทดสอบ รวมทั้งการบันทึกผลความก้าวหน้าการประเมินผล และการรายงานผลในรูปแบบต่าง ๆ
http://area.obec.go.th/nakhonratchasima2/webmedia/elearn.doc
องค์ประกอบของ e-learning คือ องค์ประกอบด้านเนื้อหาประกอบด้วยโฮมเพจ หน้าแนะนำบทเรียนหรือรายวิชา หน้าแนะนำผู้เรียนผู้สอน หน้านำเสนอเนื้อหา หน้าแบบฝึกหัด หน้ากิจกรรมเสริม
องค์ประกอบด้านบริหารจัดการ ประกอบด้วย การลงทะเบียนเรียน ระบบเข้าออกชั้นเรียน ฐานข้อมูลผู้เรียน การเตรียมเนื้อหาบทเรียน การเก็บผลคะแนน สถิติการเข้าเรียนและพฤติกรรมของผู้เรียน และระบบการสืบค้น
องค์ประกอบด้านการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารแบบต่างเวลา ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ กระดานข่าว การติดต่อสื่อสารแบบเวลาเดียวกันโดยใช้ห้องสนทนา การถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงสด
องค์ประกอบด้านการวัดผลการเรียนประกอบด้วย แบบฝึกหัด แบบทดสอบ
องค์ประกอบด้านบริหารจัดการ ประกอบด้วย การลงทะเบียนเรียน ระบบเข้าออกชั้นเรียน ฐานข้อมูลผู้เรียน การเตรียมเนื้อหาบทเรียน การเก็บผลคะแนน สถิติการเข้าเรียนและพฤติกรรมของผู้เรียน และระบบการสืบค้น
องค์ประกอบด้านการติดต่อสื่อสาร ประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารแบบต่างเวลา ไปรษณีย์อิเลคทรอนิกส์ กระดานข่าว การติดต่อสื่อสารแบบเวลาเดียวกันโดยใช้ห้องสนทนา การถ่ายทอดสัญญาณภาพและเสียงสด
องค์ประกอบด้านการวัดผลการเรียนประกอบด้วย แบบฝึกหัด แบบทดสอบ
โดย อาจารย์วรวุฒิ มั่นสุขผล หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศการศึกษา ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาศิลปากร จาก http://www.ict.mbu.ac.th/th/index.php?option=com_content&task=view&id=57&Itemid=97
ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนให้เกิด e-learning
· นโยบายด้านการศึกษาของชาติ
· วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษาทุกระดับ
· ความรู้ความสามารุด้าน IT ของครู/อาจารย์
· ความพร้อมด้านฮาร์ดแวร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์
· ความพร้อมด้านซอฟแวร์
· ความรู้ของ Multimedia ที่มีคุณภาพ
· การสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างต่อเนื่อง
http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1108457406-002.doc
บทบาทของผู้เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนา e - Learning
บทบาทของครูกับการสร้างความรู้
เมื่อไอทีมีบทบาทที่สำคัญในการเก็บข้อมูลข่าวสารได้จำนวนมาก สามารถส่งผ่านข้อมูลข่าวสารไปได้ไกล และทำให้ระยะยางไม่มี ความหมาย ขณะเดียวกันการประมวลผล การเรียกด้วยทำได้เร็ว ดังนั้นบทบาทของคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารจึงมีความสำคัญ ต่อการสร้างความรู้อย่างมาก บทบาทของการเรียนรู้ในยุคต่อไปเกี่ยวโยงกับ ระบบอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้มากขึ้น ระบบการเรียนรู้ เกี่ยวโยงกับ eLearning มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องเปลี่ยนบทบาทจากการ "สอน" มาเป็น การสร้างความรอบรู้และดูแลจัดการ กับระบอบการเรียนรู้สมัยใหม่ในรูปของ eLearning มากขึ้น
ระบบอินเทอร์เน็ตทำให้เกิดการเชื่อมโยงถึงกันได้ง่าย ระบบอินเทอร์เน็ตทำให้สร้างข้อมูลข่าวสารบนเครือข่ายได้ มีการเชื่อมโยง ถึงกันโดยเฉพาะ www หรือเครือข่ายเวิร์ลไวด์เว็บ
หากการสร้างความรู้เป็นฐานความรู้อย่างง่าย ๆ บนเครือข่าย เช่น การเก็บสะสมในรูปฐานข้อมูลเว็บ เว็บมีข้อเด่นคือการเชื่อมโยง ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ถึงกันได้ง่าย เสมือนการเชื่อมความรู้เข้าหากันตามโมเดลความรู้อยู่แล้ว การเชื่อมโยงถึงกันและสร้างเงื่อนไข สร้างรูปแบบจึงเป็นเทคนิคที่สำคัญที่ผู้สร้างเนื้อหาจะต้องให้ความสำคัญ
บทบาทผู้สอน
ในการจัดการเรียนการสอนในระบบใดก็ตาม บทบาทหน้าที่หลักของผู้สอนไม่แตกต่างกัน ตั้งแต่การออกแบบระบบการเรียนการสอน การเตรียมเนื้อหา การเลือก/ผลิตสื่อ การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน การสร้างปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอน-ผู้เรียน และระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองการวัดและประเมินผล แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ เทคนิค และวิธีดำเนินการแต่ละขั้นตอนที่จะต้องปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการเรียนการสอน ที่แตกต่างกันในแต่ละระบบบทบาทผู้เรียนในระบบ E-learning
1.วางแผนในการเรียน การทำกิจกรรม
2.สร้างแรงจูงใจภายในและหมั่นให้กำลังใจตนเอง
3.สร้างทัศนคติที่ดีในการเรียน
4.ค้นหาแบบการเรียนของตนเอง
5.ฝึกทักษะต่างๆ
6.เปิดใจให้กว้าง
บทบาทผู้สอนและผู้เรียนใน E-Learning
บทบาทของผู้สอนใน E-Learning จะเปลี่ยนไปเป็นผู้ให้คำแนะนำ (Guide) เป็นผู้ฝึก (Coach) เป็นผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) และเป็นพี่เลี้ยง (Mentor ) ต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
บทบาทของผู้เรียนจะเปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้รับ มาเป็นผู้สำรวจสารสนเทศ ผู้คิด ผู้ลงมือปฏิบัติ ในลักษณะเรียนรู้ร่วมกันกับผู้เรียนคนอื่นอย่างมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
จาก http://eclassnet.kku.ac.th/etraining/file/1204920350-e-learning3.doc